10 data insight เชียงใหม่ เมืองขับได้ขี่ดี vs เมืองเดินได้เดินดี

03/05/2021

วิเคราะห์ข้อมูลโดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ช่วงเข้าใกล้หน้าหนาวทีไร เชียงใหม่คงเป็นตัวเลือกแรกของใครหลายๆ คน แต่นอกจากความสวยงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เผยโฉมให้นักท่องเที่ยวได้เห็นแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีประเด็นหลากหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเมืองที่ถูกซุกซ่อนอยู่ The Urbanis ชวนอ่านเมืองผ่านข้อมูล Data Insight “10 ข้อเท็จจริงของเชียงใหม่: จากเมืองขับได้ขับดี สู่เมืองเดินได้เดินดี” ที่ผ่านการวิเคราะห์ โดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ฝ่าย Urban Intelligence เพื่อทำความเข้าใจเมืองเชียงใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง มาชวนทุกคนได้อ่านเมืองเชียงใหม่ไปพร้อมๆ กัน ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านเดินได้เดินดี เพื่อยกระดับสุขภาวะคนเมือง นำร่องในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใจบ้านสตูดิโอ บริษัท ระฟ้า จำกัด กลุ่มเขียวสวยหอม เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ […]

ประท้วง-ช่วงชิง-เกทับ คุยกับธนาวิ โชติประดิษฐ เรื่องพื้นที่การชุมนุมและการเมือง

19/10/2020

การเมืองของมวลชนดูคุกรุ่น ร้อนแรงขึ้นทุกขณะ ประเด็นรุดหน้าไปอย่างที่หากมองย้อนอาจจะไม่มีใครคาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ยามบ่ายของวันหนึ่ง ในวันที่สนามหลวงยังไม่มีอีกชื่อว่าสนามราษฎร เรามีนัดกับธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกเรื่อง ‘พลังทางการเมืองของศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎร’ เพื่อพูดคุยในเรื่องพื้นที่ของเมืองกับการชุมนุม การช่วงชิงอำนาจในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ไปจนถึงหมุดคณะราษฎร  (1) ประท้วง Q: สังเกตว่าช่วงที่ผ่านมาการชุมนุมเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นและมักเข้ามาเสนอข้อเรียกร้องในเมือง ทำไมเป็นเช่นนั้น มีปัญหาที่ชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วทำไมเขาต้องมาเรียกร้องในเมืองแบบนี้ใช่ไหม ถ้าพูดอย่างนี้ก็เหมือนกับว่าไม่มีการเรียกร้องหรือชุมนุมในพื้นที่ที่เป็นปัญหาเลย แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ  อย่างไรก็ดี ถึงจุดหนึ่งก็จะต้องมีการชุมนุมในเมืองด้วย อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คิดว่ามันไม่ได้มีประเด็นซับซ้อนมากไปกว่าเรื่องที่ว่าการชุมนุมเรียกร้องอะไรบางอย่าง นั้นจำเป็นต้องเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง คือต้องให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีประเด็นนี้อยู่ เป็นปัญหาที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยากจะส่งเสียง  พื้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับในเชิงกายภาพก็จริง แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ที่บรรจุคน มันมีบทบาทอย่างอื่นด้วย พื้นที่การชุมนุมจะต้องเป็นที่ๆ คนเห็นได้ในวงกว้าง ในหลายกรณี พื้นที่ที่คนไปชุมนุมอาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพื้นที่ที่เป็นต้นตอของปัญหาเลยก็ได้ แต่มันก็จะมีความสำคัญในแบบอื่น เช่น มันเป็นพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาล หรือว่าอยู่หน้าโรงงานอะไรสักอย่างที่เขาจะไปประท้วง ซึ่งพื้นที่พวกนี้มันอยู่ในเมือง คนก็ไม่ได้ไปประท้วงเรื่องป่ารอยต่อในป่าใช่ไหม Q: ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะสะท้อนว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่มาจากเมืองด้วยไหม มันก็ขึ้นอยู่ว่าเรื่องนั้นคนที่ต้องจัดการมันอยู่ที่ไหน หน่วยงานที่ต้องจัดการอยู่ที่ไหน เรื่องมันใหญ่ขนาดไหน ถ้าคุณต้องการที่จะประท้วงโรงงานก. ที่อยู่ในอำเภอข. คุณก็อาจจะไปประท้วงหน้าโรงงานนั้น มันก็อาจไม่จำเป็นต้องไปประท้วงที่กรุงเทพฯ ก็ได้ แต่ถ้าหน่วยงานที่คุณต้องสื่อสารเรื่องนี้ด้วยมันอยู่ในเมือง […]

ทำไมเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี

14/10/2020

เมืองคือพื้นที่แห่งโอกาสที่คนจำนวนมากเข้ามาแสวงหาโชค กระโจนเข้ามาแหวกว่ายในสายพานการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองและคนที่อยู่ด้านหลังให้ดีขึ้น และเมื่อคนหนาแน่นก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย โครงสร้างของเมือง ผังเมืองจึงส่งผลอีกหลากมิติต่อเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต ผศ.ดร นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้ร่วมสะท้อนมุมมองในงาน BOT SYMPOSIUM 2020 ในหัวข้อใหญ่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง – Restructuring the Thai Economy ในงานวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา โดยผศ.ดร. นิรมล เสนอว่าการเดินดีในเมืองนอกจากจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แล้วยังกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไหลเวียนด้วย ยิ่งกับชุมชนและย่านโดยรอบ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แถมยังทำให้ “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” เพราะเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี “งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่ายิ่งเคลื่อนที่ช้า ยิ่งมีโอกาสในการบริโภคมาก ลองหลับตาจินตนาการถึงความเร็วของการเดินของคนด้วยความเร็ว 3-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือการเดินกับเมืองที่คนเคลื่อนที่ 80-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือรถยนต์ โอกาสในการที่จะแวะพัก ความสะดวกที่จะหยุดจับจ่ายใช้สอยมันแตกต่างกันมาก เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่าเมืองทั่วโลกลงทุน (invest, reinvest) กับทางเท้า เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง หรือว่าเป็นเมืองแบบนี้ที่ต่อแรก (first mile) […]

ออกแบบคอนโด เทรนด์ที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้สูงอายุในอนาคตอย่างไรให้ปัง

14/09/2020

เด็กในวันนี้เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า คนเกินวัยรุ่นก็ย่อมกลายเป็นคนวัยเก๋าเข้าสักวัน ทั้งปัจจัยเรื่องความเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่มีครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น การเป็นคนโสดของคนเมือง และคู่รัก LGBTQ+ นอกจากนี้ราคาที่ดินยังพุ่งสูงขึ้น รวมถึงความต้องการเข้าถึงแหล่งงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้หลายคนตัดสินใจอาศัยอยู่ในคอนโดจนถึงวัยทำงานตอนปลาย และก้าวเข้าสู่วัยชรา แม้ว่าหลายคนจะติดภาพวัยเกษียณใช้เวลาในบ้าน แต่การอาศัยในแนวตั้งก็มีผลดีไม่น้อยสำหรับผู้สูงอายุ ไล่เรียงมาตั้งแต่ความสะดวกในการทำความสะอาด ไม่จำเป็นต้องทำงานบ้านนอกจากห้องของตัวเอง, ลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บ เนื่องจากห้องนอนส่วนใหญ่ มีลักษณะราบระนาบเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องขึ้นลงบันได แถมยังมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยสอดส่องมีนิติบุคคลคอยอำนวยความสะดวก หากเกิดความชำรุดของอุปกรณ์ภายในห้อง โดยไม่ต้องออกแรงซ่อมเอง รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งฟิตเนส สระว่ายน้ำ ร้านสะดวกซื้อ และร้านซักรีดที่เข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันมีคอนโดจำนวนหนึ่งที่หันมาเจาะตลาดผู้สูงอายุ หลังจากเห็นเทรนด์โครงสร้างประชากรที่ประเทศไทยจะขยับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือมีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศในปีพ.ศ.2564 และตัวเลขจะขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเดอ ซองเต้ ประชาอุทิศ-พระราม 3, สวางคนิเวศ จ.สมุทรปราการ, ซีเนียร์ คอมเพล็กซ์ จ.สมุทรปราการ, วิลลา มีสุข เรสซิเดนท์เซส จ.เชียงใหม่ และกมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จ.ภูเก็ต ฯลฯ เรียกได้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวตั้งของผู้สูงอายุถือเป็นโอกาสสำหรับนักพัฒนาในอนาคต The Urbanis […]

คุยกับศศิน เฉลิมลาภ: จากเมืองถึงป่า จากป่าถึงเมือง

09/09/2020

ในช่วงให้หลังมาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ผู้คนตื่นตัว ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภัยพิบัติและผลกระทบที่เห็นเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งล้วนสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนทั่วโลก มาวันนี้หลากหลายองค์กรทำงานเพื่อรณรงค์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทั้งการรณรงค์เรื่องการกำจัดขยะให้ถูกต้อง การหันมาใส่เสื้อผ้าแบบยั่งยืนที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ ยังมีอีกองค์กรที่ทำงานเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ด้วยหัวใจมาอย่างยาวนาน อย่างมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เพิ่งครบรอบการก่อตั้งมูลนิธิสืบฯ 30 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา The Urbanis พูดคุยกับศศิน เฉลิมลาภ  ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียรคนปัจจุบันถึงเรื่องป่ากับเมือง และความท้าท้ายของมูลนิธิในการทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำไมถึงสนใจเรื่องป่า ทั้งที่ตัวเองก็ใช้ชีวิตในเมือง ก็เพราะมันไม่มีป่าไง เราเรียนหนังสือในเมือง เด็กๆ ผมเกิดกลางทุ่งนา มีแม่น้ำ มีทุ่ง แล้วก็ไม่เคยเห็นป่า ป่าเป็นเรื่องไกลๆ เรื่องลึกลับ เรื่องบนภูเขา ผมอยู่บนที่ราบภาคกลางแล้วก็รู้สึกว่ามันต้องมีหุบเขา มันต้องมีทะเล มันถึงจะเป็นที่ไกลๆ บ้าน ที่ๆ เราไม่รู้ ไอ้ความไม่รู้เนี่ยแหละถึงทำให้เราอยากเรียนรู้ อยากสัมผัส พอไปเรียนรู้ถึงรู้ว่ามันสำคัญนี่นา ก็ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกอยากเรียนรู้แบบนี้เริ่มต้นเมื่อไหร่ มันบอกไม่ถูกว่าเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มเมื่อวันที่เราเริ่มมีความรู้ อย่างเช่นก่อนอายุ 20 ที่มันเริ่มมีกระแสสิ่งแวดล้อมเข้ามา มีการเรียนรู้ว่าป่ามันมีคุณค่ายังไง มีรุ่นพี่ๆ เขาประท้วงเขื่อนน้ำโจนก็จะมีข้อมูลมา […]

ต่อจิกซอว์หาคำตอบเรื่องสถาปนิก เมือง และการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม กับคุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์

08/09/2020

บางช่วงบางตอนของชีวิตคนเราคงคล้ายกับบทละครที่โลดแล่น หลายคนพยายามหาคำตอบบางอย่างในชีวิต เหมือนอย่างคุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง โดยเกริ่นไว้ตอนเริ่มต้นของบทสนทนาว่า “สารภาพว่าตอนเรียนจบไม่ได้รู้เรื่องที่ตอนนี้รู้ ก็ค่อยๆ ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ ผมก็ลองผิดมากกว่าลองถูก” “สารภาพว่าตอนเรียนจบไม่ได้รู้เรื่องที่ตอนนี้รู้ ก็ค่อยๆ ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ ผมก็ลองผิดมากกว่าลองถูก” คุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผ่านทั้งบทบาทการเป็นบัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกไฟแรงในช่วงเริ่มต้นของวัยทำงาน การไปเรียนต่อการวางผังเมืองเชิงนิเวศ (urban ecological planning) ที่ประเทศนอร์เวย์ และกลับมาหยิบจับงานอีกหลากหลายด้านกระทั่งมีบทบาทในการผลักดันพรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจแห่งชาติในปีพ.ศ. 2562 จนมาถึงปัจจุบันในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำงานหลากหลายวงการที่ผ่านมาเป็นดั่งเส้นทางที่ช่วยให้เขาต่อจิ๊กซอว์ค้นหาคำตอบว่าการทำงานสถาปนิกจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร? องค์ที่ 1 สถาปนิก เมือง และการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม ความสามารถในการออกแบบ + PERSPECTIVE + ลูกค้าดีมีวิสัยทัศน์ = การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือสมการที่คุณณัฐพงษ์เชื่อมั่นในตอนแรกว่าจะเป็นคำตอบของสิ่งที่เขาตามหา “เริ่มต้นชีวิตด้วยสถาปนิก ผมเหมือนกับทุกคนเลยผมก็เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมก็คือใช้ความรู้ที่เราเรียนมา ตอนจบผมก็พุ่งเข้าไปสู่บริษัทใหญ่อยากทำโปรเจกต์ใหญ่ ตอนผมจบมีโครงการ Bangkok Terminal Project (1997) ตรงหมอชิตเก่า ตอนนั้นเศรษฐกิจมันบูมมาก ผมได้ทำทุกอย่างที่อยากทำในขณะที่เพิ่งจบปริญญาตรี […]

5 เคล็ดลับการประกอบธุรกิจด้วยหัวใจของสถาปนิกผังเมือง

27/08/2020

จะมีสักกี่คนที่กล้าตัดสินใจเปิดบริษัทของตัวเองทั้งที่อายุยังน้อย ไม่ได้มีความพร้อมมากนัก และประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นคือคุณพงษ์พิพัฒน์ ช้างพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เออร์เบิ้น สเปซ จำกัดที่กล้าแผ้วถางทางสถาปนิกผังเมืองด้วยตัวเอง คุณพงษ์พิพัฒน์ ช้างพันธ์ บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำงานผังเมืองของตัวเอง โดยเล่าให้ฟังว่าแรงบันดาลใจแรกๆ ที่ทำให้สนใจเกี่ยวกับสถาปนิกเกิดจากความชื่นชอบแปลนเมือง ผังหมู่บ้านที่ปรากฏอยู่ในหน้าปกหนังสือเรียนภาษาไทย หลังจากนั้นความชอบก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนตัดสินเลือกเรียนปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้าเรียนในปีพ.ศ. 2540 ช่วงเวลานั้นคณะสถาปัตยกรรมยังเป็นคณะยอดนิยมที่ติด 1 ใน 5 อันดับ สายงานอสังหาริมทรัพย์รุ่งเรือง หลังจบการศึกษาในปีพ.ศ.2545 เพียงไม่นานจึงเริ่มศึกษาต่อปริญญาโทเกี่ยวกับการวางผังเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากมาย หนึ่งในอาจารย์ที่เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิต คือคุณกำธร กุลชล ผู้เขียนหนังสือ “การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร” เมื่อได้ทำงานสักพัก ด้วยความที่โตมากับยุคเพลง Alternative สร้างความรู้สึกของการเป็นผู้ประกอบการ ในช่วงอายุ 28 ปีจึงเริ่มต้นเปิดบริษัทของตัวเองเริ่มแรกในชื่อ ออกแบบท้องถิ่น จนเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท เออร์เบิ้น สเปซ จำกัดในปัจจุบัน เส้นทางการเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้วยตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านทั้งความสมหวังและผิดหวัง และนี่คือ 5 เคล็ดลับการประกอบธุรกิจ 1.ไขว้คว้าทุกโอกาส ในช่วงแรกคุณพงษ์พิพัฒน์ยังไม่ได้มีงานเข้ามามากนักจึงเข้าร่วมการแข่งขันโครงการประกวดแนวคิด […]

ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา

25/08/2020

ผมสีดอกเดา ชุดดำ และปากแดง เอกลักษณ์ของวีรพร นิติประภา นักเขียนหญิงดับเบิ้ลซีไรต์ จากนิยาย ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ ในปีพ.ศ. 2558 และเรื่อง ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ในปีพ.ศ. 2561 ในผลงานเรื่องหลังเธอบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลบนแผ่นดินสยามที่ต้องดิ้นรน ขยับขยายสถานะผ่านความไม่แน่นอนทั้งทางการเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งกว่าจะทำคลอดผลงานชิ้นนี้ เธอเดินย่ำพื้นที่ชุมชนย่านเก่าที่มีประวัติอันยาวนานจนผูกพันและนำไปสู่บทบาทการเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลปวัฒนธรรมให้กับเทศกาลศิลป์ในซอยครั้งที่ 6 ‘กะดีจีน-คลองสาน ย่านรมณีย์ วิถีเจ้าพระยาในพยับแสง-สี-ศิลป์’ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ช่วยอนุรักษ์และคืนชีวิตชีวาแก่ชุมชน แสงแดดเริ่มแยงตา เวลาเริ่มสาย เธอใช้เวลาวันอังคารวันหนึ่งในการบอกเล่า“ความงดงามของย่านกะดีจีนคลองสาน” ที่เคยพานพบ ในห้องเรียนวิชาสตูดิโอวางผังชุมชน (NEIGHBORHOOD PLANNING STUDIO) ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนี่คือ ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา เมืองฉากหลังของนิยายสำคัญกับเนื้อเรื่องอย่างไร “เวลาเราเขียนนิยายเราไม่ได้ทำอะไร เราแค่ visualize คอนเซปต์ขึ้นมา เพราฉะนั้นพี่ถึงบอกว่าเราต้องมาเดินตามย่าน ตอนที่ทำเรื่องไส้เดือนตาบอดในเขาวงกตก็ต้องไปที่แม่น้ำนครชัยศรี ตอนที่มาย่าน มาเพื่อที่เราจะ shape ตัวละครมากกว่า ถ้าคุณไม่ไปเดินคุณจะนึกไม่ออกเลยว่าเขาอยู่กันยังไง ห้าโมงเย็นบานเฟี้ยมไล่ปิด อันนี้คือซีนที่อยู่ในหนังสือ เรามีความรู้สึกว่าทุกอย่างมันสงบลง สี่ห้าโมงเย็นร้านใครร้านมันปิด ละแวกก็จะเงียบ ก็จะมีเด็กวิ่งเล่นนิดหน่อย เราก็ต้องจินตนาการเอา […]

ACROS Fukuoka เมื่อเมืองกับป่าเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่เรื่องใหม่

19/08/2020

ด้วยเทรนด์รักโลกในปัจจุบันทำให้ตึกรามบ้านช่องนำเอาการปลูกป่าแนวตั้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ อาคารหลายแห่งเริ่มแซมไปด้วยสีเขียวครึ้มของต้นไม้ใบหญ้า ทั้งจากทางระเบียงตึกหรือบนดาดฟ้า แต่ใครจะรู้ว่า ACROS Fukuoka หรือที่ชาวเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น รู้จักกันในชื่อ Step Garden จะนำสมัยมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1995 ACROS Fukuoka (Asian Cross-Road Over the Sea – Fukuoka) เป็นอาคาร 14 ชั้นที่สามารถมองได้ทั้งสองด้าน ด้านแรกคล้ายจะเป็นอาคารปกติธรรมดา แต่เมื่อหันมองอีกด้านกลับเป็นตึกขั้นบันไดขนาดใหญ่ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ภายใต้แนวคิด “ตึกกลางเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยอาคารสุดโดดเด่นนี้ถูกออกแบบโดย Emilio Ambasz & Associates ภายในประกอบด้วยร้านค้าชั้นนำและร้านขายสินค้าทำมือ งานศิลปะไอเดียเก๋ ร้านอาหาร และคาเฟ่ ที่สำคัญคือยังเป็นแหล่งรวมกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าเป็นแกลลอรี่, Fukuoka Symphony Hall, สถานที่จัดประชุม International Conference Hall, Cultural Information Center และยังเป็นสถานที่จัดแสดงดนตรีจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนิทรรศการ งานอีเวนท์อยู่เป็นประจำ ตามนโยบายในการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนด้านศิลปะ วัฒนธรรมของเอเชียสู่สากล […]

โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]

1 2