ลมในเมือง

01/02/2023

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทําไมฟ้าหลังฝนจึงแจ่มใส? หลายครั้งที่สถานการณ์ค่าฝุ่นควันตลอดจนอุณหภูมิภายในเมืองลดลงนั้นเกิดขึ้นหลังจากฝนตก ซึ่งฝนกลับไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่ช่วยบรรเทาสถานการณ์มลภาวะทางอากาศ แต่ยังมี“ลม” ที่ไหลเวียนระหว่างกระบวนการเกิดฝนพัดพามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กรวมถึงสร้างความรู้สึกเย็นภายในเมือง โดยทั่วไปแล้ว ลม เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศจากที่มีความกดอากาศสูงไปยังที่มีความกดอากาศต่ําในทิศทางราบ แต่จะเคลื่อนที่เร็ว หรือช้า หรือในลักษณะใดนั้น นอกจากสภาพความกดอากาศ และอุณหภูมิสะสมโดยรอบแล้ว ยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเมืองในแต่ละพื้นที่อีกด้วย องค์ประกอบต่างๆ ในเมืองไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ อาคาร หรือแม้แต่แนวถนนที่ตัดผ่านล้วนส่งผลต่อลักษณะ และทิศทางการเคลื่อนที่ของลมทั้งสิ้น โครงสร้างเมืองกับการเคลื่อนที่ของลม ความสูง-ทิศทาง-ที่ว่าง-ช่องเปิด เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของลมสัมพันธ์กับของลักษณะโครงข่ายถนนและรูปแบบการวางตัวกลุ่มอาคารภายในเมืองโดยตรง สําหรับกรุงเทพฯ เมืองที่มีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็น ซุปเปอร์บล็อก (Super Block) โครงข่ายซอยลึกและเมืองยังมีการเติบโตแบบริ้วตามแนวถนน ทําให้เกิดลักษณะอาคารสูงล้อมถนนหรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์หุบเขาเมือง (Urban Canyon) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสัดส่วนความสูงอาคารต่อความกว้างของถนน (H/W ratio) และสัดส่วนมวลอาคาร (L/H ratio) โดยหากคิดคํานวณแล้วหากมีค่าสัดส่วนสูงเกินกว่า 2 และ 5 ตามลําดับ ประกอบกับมีแนวถนนที่ขวางทิศทางลมประจํา จะยิ่งส่งเสริมให้ลมมีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแบบกระแสหมุนวน (skimming flow) ไปจนถึงสภาวะอับลม ซึ่งทําให้มลภาวะทางอากาศและความร้อนที่สะสมโดยรอบนั้นถูกขังและหมุนเวียนในชั้นบรรยากาศระหว่างอาคารเป็นระยะเวลานานกว่าบริเวณที่มีพื้นที่โล่งว่างหรือมีสัดส่วนความสูงอาคารต่อความกว้างถนนต่ํา (Chan, So, & Samad, 2001) อาจเป็นสาเหตุให้เมื่อเราเดินหรือทํากิจกรรมในบริเวณริมถนนหรือพื้นที่ปลูกสร้างหนาแน่นในเมืองซึ่งมีสภาวะหุบเขาเมือง จะรู้สึกร้อนและหายใจไม่สะดวกแม้มีลมพัดผ่านตลอดเวลา […]

พระโขนง-บางนา ฝนตกนิดเดียว น้ำก็ท่วมรอระบาย

28/06/2022

นับตั้งแต่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมาประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ แต่เมื่อฝนเริ่มตก น้ำก็เริ่มท่วม เป็นผลกระทบลูกโซ่ที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ในมหานครแห่งนี้ จากผลสำรวจเสียงสะท้อน 10 ปัญหาเรื้อรังที่คนเมืองต้องการให้ผู้ว่าฯ เร่งแก้ไข โดยบริษัท เรียล สมาร์ท บริษัทดิจิทัลเอเยนซี ซึ่งให้บริการ Social Listening พบว่า “ปัญหาน้ำท่วมขัง” ถูกพูดถึงเป็นอันดับที่ 2 หรือคิดเป็นร้อยละ 10.94 ที่คนเมืองพูดถึงในโลกออนไลน์ ระดับความสูง – ต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่เท่ากัน พระโขนง – บางนาเป็นหนึ่งในพื้นที่เปราะบางเสี่ยงน้ำท่วม เนื่องจากบริเวณกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย (Mean Sea Level: MSL) เพียง 0 – 0.5 เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่สูงนักหากเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นในกรุงเทพฯ พื้นที่แอ่งกระทะหรือบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น บริเวณรอบสถานีปุณณวิถี และซอยสุขุมวิท 101/1 นับเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วมขัง เอ่อล้น รอระบายภายในย่าน ซึ่งนอกจากระดับความสูงต่ำของระดับพื้นดินแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติชั้นดินอีกด้วย โดยชั้นดินของกรุงเทพฯ เป็นดินเหนียวอ่อนซึ่งมีคุณสมบัติทึบน้ำ […]

พระโขนง-บางนา สมรภูมิการสัญจร

22/06/2022

หลายคนคงเคยหรือยังประสบกับปัญหาการเดินทางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทั้งการจราจรติดขัด ระบบขนส่งมวลชนที่มีจำกัดและล่าช้า ฯลฯ ซึ่งหากคำนวณแล้ว คนกรุงเทพฯ ต้องเสียโอกาสทางเวลาจากการจราจรที่ติดขัด บนท้องถนน จากการสำรวจของ Uber และ Boston Consulting Group (BCG) พ.ศ. 2561 พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่บนท้องถนนนานถึง 96 นาทีต่อวัน หรือ 584 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็น 24 วันต่อปี ย่านพระโขนง – บางนา อีกหนึ่งพื้นที่ในสมรภูมิการสัญจรของมหานครกรุงเทพ ที่มีปริมาณการสัญจรคับคั่ง มีปริมาณรถยนต์ที่สัญจรผ่านถึง 7 แสนคันต่อวัน และจากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ยังพบว่า ปัญหาที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับต้น ๆ ประการหนึ่งของชาวย่านคือ “รถติด” โดยเฉพาะบริเวณทางแยกเชื่อมต่อทางด่วน ซอยหลักและพื้นที่โรงเรียน ซึ่งเป็นผลจากสาเหตุสองส่วนสำคัญ คือ สัณฐานเมืองในลักษณะก้างปลา และข้อจำกัดของระบบขนส่งมวลชนรองในย่านที่จะรับส่งผู้โดยสารจากขนส่งมวลหลักชนเข้า-ออกพื้นที่ย่าน ย่านซอยลึกและตันติด 1 ใน 10 อันดับของกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนถนนที่เป็นซอยตันกว่า 50% […]

อนาคตงานและการอยู่อาศัยของมหานครแห่งโอกาส(?)

02/12/2021

“ภายใต้กระบวนการเป็นเมือง กิจกรรมในการดำเนินวิถีชีวิตล้วนแต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เมือง” จากการศึกษาวิจัยคนเมือง 4.0 ที่กล่าวถึงมิติด้านต่างๆ ของวิถีคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน การอยู่อาศัย การเดินทาง ตลอดจนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตโดยวิเคราะห์ร่วมกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับต่างๆ ชี้ชัดว่ารูปแบบการใช้ชีวิตมนุษย์และความต้องการจะเปลี่ยนไป และเมืองก็จำต้องปรับเปลี่ยนตามด้วยเช่นกัน จากการบรรยายสาธารณะ Urban Design Delivery อาหารสมองสถาปนิกผังเมือง ในหัวข้อ แนวโน้มอนาคตของการทำงานและที่อยู่อาศัย และ แนะนำการทำแผนที่เชิงระบบ (System mapping) ของ อาจารย์ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ และ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ The Urbanis ขอมาเล่าสาระสำคัญของเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้เกิดสังคมไร้พรมแดนที่หลายๆ สิ่งขับเคลื่อนผ่านโลกออนไลน์ ทั้งยังมีวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่เป็นตัวเร่ง ทำให้ใครหลายคนได้สัมผัสกับวิถีการทำงานและการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ เมืองของเรานั้นจะมีแนวโน้วเปลี่ยนแปลงที่แปรผันเป็นไปตามวิถีชีวิตรูปแบบใหม่อย่างไรบ้าง? อนาคตงาน(บริการ)ในเมือง การทำงาน ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบวิถีชีวิตเมือง เป็นกิจกรรมซึ่งมีความสำคัญและมีการดำเนินการบนพื้นที่เมืองในสัดส่วนค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐานของกลุ่มประชากรจากพื้นที่เมืองชนบทหรือเมืองขนาดเล็กสู่เมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า นำไปสู่การแปรสภาพของเมืองให้เติบโตขยายตามสัดส่วนประชากรที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าคนเมืองส่วนใหญ่ทำงานบริการ และยังมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเชิงพื้นที่จากออฟไลน์สู่ออนไลน์มากยิ่งขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของเซคเตอร์ย่อยของงานบริการอย่างกลุ่มประเภทกลุ่มบริการความรู้ (white collar) […]

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจสัณฐานเมือง โดย รศ.ดร.อภิรดี เกษมศุข

16/11/2021

หากสามารถตั้งเป้าประสงค์ในการพัฒนาเมืองได้ ในฐานะของนักออกแบบจึงมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา “เมืองที่อยู่ดี” แต่ในการสร้างเมืองที่อยู่ดีได้ในโลกความเป็นจริงนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามักคิดมุ่งไปสู่ขั้นตอนของการออกแบบกายภาพเป็นหลัก ซึ่งแท้จริงอาจเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนหนึ่งในการแสดงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมือง หากแต่พิจารณาย้อนกลับมาสู่ขั้นตอนแรกเริ่มของการลงมือปฏิบัติ นั่นคือขั้นตอนของการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล จะพบว่าการศึกษาสัณฐานเป็นอีกขั้นตอนตั้งต้นที่น่าสนใจสำหรับการทำความเข้าใจพื้นที่เมือง ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดโจทย์และแนวทางการพัฒนาในงานออกแบบต่อไป The Urbanis ชวนศึกษา ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจสัณฐานเมือง (Morphology for Urban Architecture) เรียบเรียงจากการบรรยายสาธารณะ โดย รศ.ดร.อภิรดี เกษมศุข ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สัณฐานคืออะไรและส่งผลต่อเมืองอย่างไร? สัณฐาน หมายถึง มิติหรือไดเมนชั่นที่แสดงขนาดและสัดส่วนในเชิงกายภาพ อีกทั้งยังขยายความถึงโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ ซึ่งในการศึกษา พบว่ามีแนวคิดทฤษฎีจำนวนมากที่เกี่ยวกับการศึกษาสัณฐานที่มีแนวคิดแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย โดยมีเป้าประสงค์ร่วมถึงการทำความเข้าใจมิติที่ซับซ้อนของเมือง อันนำไปสู่ลักษณะการออกแบบที่แตกต่างกันตามกรอบแนวคิดที่ผลัดเปลี่ยนไป เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานการผลิตเชิงเกษตรสู่ฐานการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ทำให้การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เป็นโรงงานขยับที่ตั้งใกล้ขอบเขตของเมืองมากยิ่งขึ้น ประชากรชนบทใหม่ย้ายเข้ามาจำนวนมาก เกิดเป็นที่พักอาศัยแออัด ส่งผลให้เมืองแบกรับความหนาแน่นที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดข้อจำกัดส่งผลต่อคุณภาพชีวิตลดลง จึงนำมาสู่การก่อตั้งกลุ่ม CIAM (Congres International Architecture Modern) นำโดย เลอ กอร์บูซิเย (Le Corbusier) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจในเชิงผังเมือง 2 ประเด็นด้วยกัน คือ 1) หลักการกำหนดสีลงบนพื้นที่ต่างๆ […]

ทฤษฎีพื้นฐานที่นักออกแบบ (เมือง) ควรรู้ เพื่อทำความเข้าใจย่านและเมือง (understanding urbanism)

10/11/2021

โครงการบรรยายสาธารณะ Urban Design Delivery อาหารสมองสถาปนิกผังเมือง ในหัวข้อ  ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจย่านและเมือง (understanding urbanism) ของ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาเล่าสาระสำคัญของการเข้าใจย่านและเมือง ผ่านตัวอย่างพื้นที่พระโขนง-บางนา แล้วในฐานะนักออกแบบ(เมือง) เราจะทำความเข้าใจย่านและเมืองได้อย่างไรบ้าง ย่านและเมืองคืออะไร? ย่าน อาจจำกัดความถึง ขอบเขต ท้องถิ่น ชุมชน ละแวกย่าน ตลอดจนวิถีชีวิตและผู้คน ดังที่เราให้จะสรรหาคำจำกัดความ เมือง ในมุมมองด้านสังคมวิทยา การปกครอง กล่าวได้ว่า เมือง เป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งซึ่งแยกตัวเองออกจากชนบท ในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับชนบทด้วยเช่นกัน อีกทั้งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่ดึงดูดทรัพยากรและกระจายสู่พื้นที่โดยรอบ  แต่นอกเหนือไปจากนั้น ไม่ว่าจะย่าน หรือเมือง ในการศึกษาพื้นที่ใดๆ จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับคำสำคัญ 3 คำ คือ 1. ความสัมพันธ์ (ของผู้คนในพื้นที่) 2. ความหมาย (ที่ผู้คนมีต่อพื้นที่) 3. ระบบ (วิถีชีวิตคนในพื้นที่) ที่เชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ช่วยเติมเต็มความเข้าใจไม่ใช่เพียงว่าย่านคืออะไร […]

สมดุลระหว่างการใช้พื้นที่สาธารณะ กับ มาตรการปิดเมือง ถอดบทเรียนกับ ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์

02/11/2021

เรียงเรียงจากการบรรยายสาธารณะ พื้นที่สาธารณะเมืองยุคโควิด โดย อ.ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เรียบเรียงโดย ชนม์ชนิกานต์ ศศิชานนท์  พื้นที่สาธารณะ เป็นองค์ประกอบที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง ผ่านกิจกรรมและวิถีชีวิตอันเป็นภาพจำที่คุ้นชิน หากการเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 ส่งผลให้เมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากการประเมินสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบยาวนานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป และส่งผลให้เกิดลักษณะของการเปิด-ปิด กิจกรรมเมืองตามระลอกการระบาด โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการติดเชื้อสูง สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลางค่อนมาก ส่งผลต่อการกำหนดมาตรการทางภาครัฐเพื่อควบคุมสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศเช่นกัน อย่างไรก็ตามมาตรการปิดเมืองหรือควบคุมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ การปิดห้างร้าน พื้นที่สาธารณะ ตลอดจนการกำหนดช่วงเวลาฉุกเฉิน ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม กายภาพและการดำเนินชีวิตในเมืองเช่นกัน  การเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้ผู้คนเริ่มสนใจศึกษาและคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังโควิด จนเกิดปรากฏการณ์สำคัญหลายด้านทั้งในเชิงองค์ความรู้และเชิงข้อเสนอแนะ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัวหลังอุปสรรคอย่างรวดเร็ว หรือ Resilience ที่ถูกเน้นย้ำความสำคัญมากยิ่งขึ้น หรือปรากฏการณ์การใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูล (Datafication) เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และสามารถวางแผนรองรับได้อย่างเหมาะสม  จากการศึกษาข้อมูลสถิติเปรียบเทียบด้านการเคลื่อนที่ของกลุ่มคนสู่จุดหมายปลายทางประเภทต่าง ๆ ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศไทย […]