บทบาทหน้าที่ของสถาปนิกผังเมือง และจรรยาบรรณวิชาชีพที่ต้องรู้

25/11/2021

เมืองมีองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการคนดูแล บ้านเรือนและอาคารต้องการสถาปนิกเข้ามาดูแล พื้นที่ภายในอาคารต้องการผู้ออกแบบภายในเข้ามาดูแล ส่วนพื้นที่สีเขียว พื้นที่ธรรมชาติ ต้องการภูมิสถาปนิกเข้ามาดูแล ดังนั้น พื้นที่ระหว่างอาคาร ตลอดจนภาพรวมของเมือง ภูมิทัศน์และโครงสร้างของเมืองที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงต้องการสถาปนิกผังเมืองเข้ามาดูแลเฉกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สังคมจะได้ประโยชน์มากที่สุดหากทุกสาขาสถาปัตยกรรมทำงานไปพร้อมกันอย่างมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน จึงกล่าวได้ว่า อีกสิ่งสำคัญของภาระหน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบคือการเข้าไปผลักดันวิชาชีพให้เกิดความชัดเจนขึ้นในอนาคตเพื่อรับใช้สังคมอย่างมีมาตรฐาน The Urbanis สรุปสาระสำคัญว่าด้วยหน้าที่ของสถาปนิกผังเมืองและจรรยาบรรณที่ต้องรู้ ตลอดจนบทบาทของสภาสถาปนิกและสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) จากการบรรยายสาธารณะ “สถาปัตยกรรมผังเมืองคืออะไร วิชาชีพสถาปนิกผังเมือง จรรยาบรรณ” โดย รศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ รองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อุปนายกสภาสถาปนิกคนที่หนึ่ง, ผศ.ดร. ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และ อาจารย์ธนิชา นิยมวัน อาจารย์พิเศษภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา การมีสิทธิมีเสียงในสภาสถาปนิก คือ อนาคตของวิชาชีพที่แท้จริง  รศ.ดร.ไขศรี […]

Livable+Economy ฟื้นฟูย่านผ่านกระบวนการชุมชน โดย กลุ่มปั้นเมืองและกลุ่มคนรักตลาดน้อย

23/11/2021

นอกจากการออกแบบเพื่อพัฒนาเมือง บทบาทสำคัญอีกหนึ่งประการของสถาปนิกผังเมือง คือการทำหน้าที่เสมือนกระบวนกร (Facilitator) หรือคนกลางที่เชื่อมทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน คนในย่าน หน่วยงานภาครัฐ หรือคนภายนอกย่านอีกมากมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาย่าน กลุ่มปั้นเมืองและกลุ่มคนรักตลาดน้อย นำโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ (โจ) และ ปณัฐพรรณ ลัดดากลม (เตย) สองสถาปนิกผังเมืองผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและฟื้นฟูย่านในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จากย่านชุมชนเก่าแก่ที่น้อยคนรู้จักไปสู่ย่านสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก้าวแรกของชุมชนกับการฟื้นฟูย่านและเมือง หากกล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำงานของทีมปั้นเมือง เราพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นมากกว่าในอดีต กล่าวคือ ประชาชน ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนไปจนกระทั่งการตัดสินใจ ต่างจากในอดีตที่ชุมชนแค่รับรู้ รับทราบข่าวสารเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอะไรมากนักต่อการพัฒนาในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนที่ผ่านมา ย่านนั้นเปรียบเสมือนเป็นที่อยู่ ที่ทำกินและอาจมากกว่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาย่านโดยหน่วยงานท้องถิ่น มักจะเป็นการพัฒนาแบบบนลงล่าง (Top-Down) ผู้ที่ได้รับประโยชน์ อาจจะเป็นกลุ่มเจ้าของที่ดิน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือภาครัฐที่ออกนโยบาย ส่งผลให้การพัฒนาอาจไม่ได้เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง ดังนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาพูดคุยในฐานะที่เท่าเทียมกันมากขึ้น โดยมีสถาปนิกผังเมืองเข้าไปจัดการและทำงานร่วมกันกับผู้คนในย่าน ทั้งในระดับครัวเรือน ละแวกบ้าน ชุมชน ไปตลอดจนชุมชนใกล้เคียงโดยรอบ เพื่อพัฒนาย่านให้เกิดความน่าอยู่ […]

สถาปนิกและนักผังเมืองบนเส้นทางจักรวาลหมาล่าเนื้อ กับ ปรีดา หุตะจูฑะ

08/11/2021

สถาปนิก(นัก)ผังเมือง ในจักรวาล…หมาล่าเนื้อ คือชื่อหัวข้อบรรยายของ ปรีดา หุตะจูฑะ แห่งแพลนเนอร์26 ในโครงการบรรยายสาธารณะ “โลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง” ปีที่ 5 ที่ชวนให้ผู้ติดตามจำนวนไม่น้อยตั้งคำถามว่า อะไรคือ “หมาล่าเนื้อ” แล้ววลีดังกล่าวเกี่ยวข้องอะไรกับวิชาชีพสถาปนิกและนักผังเมือง The Urbanis ได้หาคำตอบและสาระสำคัญจากการบรรยายสาธารณะของปรีดามาฝาก เริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตหลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ประสบการณ์และงานที่ภาคภูมิใจ ตลอดจนสิ่งที่อยากฝากว่าที่สถาปนิกผังเมืองในอนาคตในโลกแห่ง “หมาล่าเนื้อ”  อุปมาบริษัทที่ปรึกษาดั่ง “หมาล่าเนื้อ” ปรีดา หุตะจูฑะ หรือ ดื้อ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการสถาปนิก เขาคือกรรมการผู้จัดการ บริษัท แพลนเนอร์26 จำกัด ได้บอกเล่าถึง ศาสตราจารย์ วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ (2546) ที่เคยอุปมาอุปมัยการทำงานในบริษัทที่ปรึกษาว่า การหางานนั้นเหมือนกับหมาล่าเนื้อ กล่าวคือ ต้องขวนขวายหางานเข้าบริษัทเพื่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง ประหนึ่ง “หมาล่าเนื้อ ที่หาเนื้อมาเพื่อกิน กินหมดก็ต้องหาใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง ผู้บรรยายอธิบายความหมายของคำว่า บริษัทที่ปรึกษา หมายถึง นิติบุคคลที่ประกอบกิจการหรือให้บริการในการเป็นที่ปรึกษา และได้ขึ้นทะเบียนการเป็นที่ปรึกษากับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ […]

อย่าให้วิกฤตมันเสียเปล่า : ถอดบทเรียนเหตุระเบิดโรงงานพลาสติก กับการจัดการพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตเมือง

05/08/2021

วิกฤตโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย คนกรุงเทพฯ กลับได้เจอวิกฤตซ้อนวิกฤต หลังเกิดเหตุระเบิดขนาดใหญ่ที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 สร้างความเสียหายให้กับโรงงานและอาคารที่พักอาศัยโดยรอบมหาศาล ความรุนแรงของเพลิงไหม้ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์กินเวลายาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง ผู้คนมากมายในย่านต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ต้องลำบากกับการอพยพออกจากที่พัก และมีผู้เสียชีวิต 1 รายระหว่างควบคุมเพลิง กระแสของความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ได้รับผลกระทบเกิดขึ้นควบคู่กับความไม่พึงพอใจในการบริหารสถานการณ์ของภาครัฐ แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันคือข้อกังขาในผังเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับคำถามที่ว่าทำไมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีอันตรายถึงตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนและเขตที่พักอาศัยได้? ความขัดแย้งกันของการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมนี้เกิดจากอะไร? และยังมีความเสี่ยงอะไรจากภาคอุตสาหกรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ของเมืองอีกหรือไม่?  เพื่อไม่ให้วิกฤตสูญเปล่า ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) และ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันจัดเวทีเสวนา มุมมองทางผังเมืองกรณีระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร โดยได้เกียรติจากคณาจารย์ประจำภาคผังเมืองฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและหาทางออกร่วมกัน ประกอบด้วย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย และ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย และ อาจารย์ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ เมื่อค่ำวันที่ […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

Marketplace is coming (back) to town โอกาสของธุรกิจรายย่อย ตู้กับข้าวของชาวเมือง

27/04/2020

ใครจะนึกว่าวันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ได้พลิกวิกฤติของผู้เล่นรายย่อยในละแวกบ้าน สู่โอกาสในการทำมาหากิน จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเมืองที่หันกลับมาพึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยในละแวกมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยจากแผงลอยหน้าหมู่บ้าน ตลาดสดท้ายซอย และร้านรถเข็นเจ้าเก่า ได้กลับมาเป็นคำตอบให้กับคนเมืองอีกครั้ง แน่นอนว่าธุรกิจรายย่อย หรือเหล่าพ่อค้าแม่ขายจาก Informal Sector นั้นได้รับความสนใจอย่างมากต่อเหล่าผู้ถูกกักตัว ซึ่งได้ยึดร้านรวงเหล่านั้นเป็นเหมือนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต โอกาสของเหล่าธุรกิจรายย่อย นั้นมาพร้อมกับความท้าทายในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ในขณะเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และการประนีประนอมที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสในการทำมาหากินของเหล่า Informal Sector ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเหล่าคนเมือง  วันนี้ เราจะชวนคุณไปชมกรณีศึกษาจากทั่วโลก ก่อนจะมาร่วมหาคำตอบของการออกแบบและปรับตัวทางกายภาพของเหล่า Informal Sector ผ่านพื้นฐานทางกายภาพของการออกแบบ จุด เส้น ระนาบ จุดศูนย์กลาง สู่ละแวกบ้าน ภาพด้านบนแสดงรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองก่อนสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบรวมศูนย์ คนเดินทางเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง ภาพที่ 2 แสดงข้อเสนอของรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบกระจายตัวไปตามละแวกบ้าน คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง แต่เลือกที่จะไปจับจ่ายที่ตลาดขนาดเล็กในละแวกบ้านแทน […]

แสงสว่าง ส่องวิถีชีวิตชุมชนคลองไผ่สิงโต และสะพานเขียว

24/01/2020

บุษยา พุทธอินทร์   แสงไฟที่ส่องสว่างในซอยละแวกบ้านคุณ อาจเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจ และรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องเดินกลับบ้านในยามค่ำคืน แสงไฟในเมืองและชุมชน แสงไฟมีผลต่อ อารมณ์ ความรู้สึก ความกลัว และการรับรู้ของคน แต่น่าสนใจว่า เคยมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไฟถนนและการเกิดอาชญากรรมในลอนดอน ปี 2554 พบว่า อันที่จริงแล้วแสงไฟไม่ได้ลดอาชญากรรมโดยตรง  แล้วเหตุใดเราถึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีแสงไฟสลัวๆ ในยามค่ำคืน แม้ว่าแสงไฟบนทางเท้าจะไม่ใช่อุปกรณ์ที่สามารถลดอาชญากรรมได้โดยตรง แต่แสงไฟที่ส่องสว่างบนพื้นที่สาธารณะ ตามตรอก ซอย มีส่วนช่วยในการมองเห็น รับรู้เส้นทาง สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงเวลากลางคืน  อีกทั้งยังนำมาซึ่งกิจกรรม ความหลากหลายของผู้คน ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี และเกิดพลวัตการใช้งานพื้นที่ที่ยาวนานมากขึ้น กล่าวคือ ผู้คนที่สัญจรเท้าผ่านไปผ่านมานั้นทำให้เมืองมีชีวิตชีวา ระแวดระวังเป็นหูเป็นตาให้กัน หรือที่เรียกว่า “สายตาเฝ้าระวัง” (eyes on street) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอาชญากรรม (Jacobs, 1961) สร้างกลไกความปลอดภัยให้แก่ชุมชน หรือพื้นที่ ส่องสว่าง สร้างชีวิตชีวาให้สะพานเขียวและชุมชนคลองไผ่สิงโต แสงสว่างมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะละแวก ชุมชน พื้นที่เปลี่ยวบริเวณใต้สะพานที่มืด บนสะพานที่ไม่มีทางหนี และพื้นที่มุมอับลับตา มีลักษณะคล้ายคลึงพื้นที่อย่าง “ชุมชนคลองไผ่สิงโต และสะพานเขียว” […]

1 2