ไมล์สโตนความสำเร็จในการพัฒนาย่านกะดีจีน-คลองสาน ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

06/10/2020

จากสะพานด้วนมาจนถึงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ใช้เวลาเดินทางกว่า 30 ปี สถาปัตยกรรมทิ้งร้างจึงแล้วเสร็จเป็นสะพานข้ามแม่น้ำให้ผู้คนเดินได้ในวันนี้  “ในการก่อสร้างเราก็ดูกันอยู่ทุกวัน มันอยู่ตรงนี้ มันเป็นความหวังของชาวบ้าน” ศาสตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต  เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พูดถึงการเกิดขึ้นของสวนลอยฟ้า  วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทางฝั่งธนบุรี เป็นโบราณสถานที่ใครผ่านไปปากคลองตลาดหรือข้ามสะพานพุทธจะต้องมองเห็น พระบรมธาตุมหาเจดีย์สีขาวเด่นเคียงคู่ริมน้ำเจ้าพระยา นอกจากเป็นมรดกทางโบราณสถานแล้ว ยังเป็นแกนหลักสำคัญในการเชื่อมหน่วยงานราชการ เชื่อมชุมชน เชื่อมศาสนสถานในละแวก เชื่อมโรงเรียนและจากอีกหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้เกิดความยั่งยืนในย่านกะดีจีน-คลองสานเสมอมา  หลักวิธีคิดเช่นนี้ทำให้ ในปี 2556 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากโครงการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย และแปซิพิค (ยูเนสโก)  มาในปี 2563 สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาที่ทอดเชื่อมระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ก็กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่วัด ศาสนสถาน ชุมชน ราชการ โรงเรียน หน่วยงานจากรัฐและเอกชนทุกฝ่ายต่างได้มีส่วนร่วมทำให้สวนลอยฟ้าเสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่ตั้งใจออกแบบวางแผน จนเกิดเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ข้ามสวนลอยฟ้ามาฝั่งธนบุรี เมื่อลงจากสะพาน สิ่งแรกที่จะแวะพักหลบร้อนคงหนีไม่พ้นวัดประยุรฯ ได้ทีจึงอยากพาทุกคนไปฟังทัศนะของพระพรหมบัณฑิต ต่อภาพของกะดีจีน-คลองสาน ในสายตาของพระนักพัฒนา ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างจากครั้งเก่าก่อนมาจนถึงตอนนี้  จากสะพานด้วนสู่สวนลอยฟ้า ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ชาวบ้านเขานำเสนอว่าอยากจะให้ปรับปรุงสะพานด้วน มันเป็นอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวอยู่ประจานเรา เห็นอยู่ทุกวันๆ มาตั้ง 30 ปี ชาวบ้านเขาไม่ได้คิดอะไรไกล คิดแค่ว่าทำยังไงที่จะปรับเปลี่ยนตรงนี้ให้มันเป็นทัศนียภาพที่ดี ทางวัดมองเห็นว่า ถ้ามีสะพานนี้เป็นจุดดึงดูด สามารถพัฒนาอย่างที่ออกแบบมา คนที่เดินข้ามสะพานเขาก็ต้องมาเจอวัดประยุรฯ […]

บางประทุน(นิยม) ในวันที่ชีวิตริมคลองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

24/07/2020

ภาพ : พูลสวัสดิ์ สุตตะมา จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เสียงคำรามของเครื่องยนต์ดังลั่นลอยมาให้ได้ยิน ไม่กี่อึดใจเรือหางยาวก็แล่นฝ่าน้ำเข้ามาเทียบท่า  เท้าเหยียบซีเมนต์ก่อนจะก้าวข้ามไปบนพื้นเรือ  “บางประทุนเปลี่ยนไปมาก” คำทักทายแรกที่ได้ยิน “ทางที่ดีใช่ไหมพี่” ผมเอ่ยถาม  …! รับรู้ความหมายได้จากรอยยิ้มอ่อนพร้อมอาการส่ายหน้าน้อยๆ ของเขา เรือแล่นไปข้างหน้า ผมเหลือบมองสายน้ำทั้งสองฝั่ง สีของน้ำที่เปลี่ยนไป ขยะเกลื่อนลอยปะปน ผิดกับเมื่อครั้งที่ผมเคยมาเยือนคลองนี้เพื่อสำรวจความอุดมสมบูรณ์ ระยะเวลาแค่ปีเดียวเหมือนจะไม่นานแต่นั่นมากพอจะทำให้บางประทุนเปลี่ยนไปมากตามคำเขาว่า เขาในวันนี้ไม่ต่างจากวันที่เจอกันครั้งแรก รูปร่างกำยำท้วมสูง ทะมัดทะแมง มองดูก็รู้ว่าเป็นลูกชาวสวนที่ใช้แรงเป็นกิจวัตรประจำวัน เขาที่ว่าผู้ใหญ่ในชุมชนเรียก ไอ้ ส่วนเด็กๆ เรียก ครู เป็นคนในชุมชนบางประทุนที่คอยเป็นกระบอกเสียงของคนริมคลอง บอกเล่าความสำคัญของชีวิตริมสายน้ำ เก็บรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ปลูกฝังรากฐานให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิต พยายามรักษาบางประทุนให้คงอยู่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาของความศิวิไลซ์ เคลื่อนเรือไปไม่ถึงนาที เสียงเครื่องยนต์สงบลง จอดเทียบท่าให้ก้าวขึ้นฝั่งอีกครั้ง เขาเปิดประตูนำเข้าไปในบ้านไม้สองชั้นอายุมาก ที่ก่อนหน้านี้เคยตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บวัตถุมีคุณทางจิตใจของชาวชุมชน จำพวกภาพถ่ายในครั้งอดีต อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เมื่อวันใดวันหนึ่งที่ความเจริญจะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มากกว่าที่เคยเป็น แต่ความตั้งใจนั้นต้องถูกพับเก็บ เเพราะที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของโฉนดเป็นคนนอกชุมชน เมื่อไหร่เจ้าของที่ดินเรียกคืน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะสูญเปล่า บ้านหลังนี้ไร้สมบัติประเภท เงิน ทอง แต่มรดกอย่างหนึ่งซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ พื้นที่สวน ว่ากันว่านี่คือ สวนซึ่งดูจะสมบูรณ์มากที่สุดในย่านบางประทุน แต่อย่างที่บอกไป สวนแห่งนี้เจ้าของโฉนดไม่ใช่คนในชุมชนบางประทุนอีกแล้ว  “สวัสดีลุง” ผู้นำทางเอ่ยทักทายเจ้าของสวนที่กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการพรวนดิน  […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน คุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ในวันที่ถนนของเมืองเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์

15/05/2020

ถ้าย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่ Covid-19 จะเข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ลองหลับตาแล้วนึกถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพมหานครดูหน่อยสิว่า คุณนึกถึงอะไรบ้าง? การจราจรแออัดแบบติดท็อป 10 ของโลก, รถไฟฟ้าแพง, รถเมล์ไม่เคยพอ, มอเตอร์ไซค์ย้อนศรเรื่องปกติ หรือบางทีก็วิ่งบนทางที่คนควรจะได้เดิน, จากบ้านไปที่ทำงานต้องขึ้นวิน โหนรถเมล์ ลงเรือ แล้วต่อแท็กซี่ และยังมีอีกมากมายที่เอ่ยได้ไม่รู้จบสำหรับปัญหาการเดินทางในเมือง ซึ่งดูสวนทางกับป้ายใต้ราง BTS ที่เงยหน้ามองอยู่ทุกวัน ในประโยคที่ว่า ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ภาพของการเดินทางในเมืองแบบสภาวะปกติ เชื่อว่าทุกคนน่าจะจดจำปัญหาที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาด การเดินทางในเมืองและวิถีชีวิตที่จำต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตหนักหน่วง เราอาจจะนึกไม่ออกว่าอนาคตจะเปลี่ยนโฉมออกมาหน้าตาแบบไหน ในวันที่ต้องอยู่บ้านและเดินทางไปไหนก็ลำบาก จึงอยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ชื่อว่า ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเรื่องของ ‘การเดินทางในเมือง’ กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง: เส้นเลือดฝอยของคนเมือง,มอเตอร์ไซค์รุ่งโรจน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดคือบางส่วนในหัวข้อที่อาจารย์ใช้ในงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า มอเตอร์ไซค์ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญสำหรับการเดินทางในเมือง และอาจารย์ยังบอกอีกว่า […]

ว่าด้วยการซื้อของในเมืองเบื้องต้น คุยกับ อ.ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ในช่วงที่การเดินทางเป็นเรื่องลำบาก

13/05/2020

ลองนึกถึงสินค้าชิ้นล่าสุดที่คุณเพิ่งซื้อ คุณซื้อจากที่ไหน แล้วถ้าหากเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ของชิ้นที่ว่า เดิมทีคุณจะซื้อจากที่ไหน คำตอบสำหรับภาพการซื้อของในเมืองมีได้หลากหลาย ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากมายมหาศาล ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมหึมา หรือใช้นิ้วสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลื่อนให้ไถกันไม่หยุด รวมถึง ตลาดนัด และอื่นๆ  แต่การมาของโควิด-19 โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ถูกทั้งโลกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนภาพการซื้อของในเมืองไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนไม่สามารถไปกินข้าวที่ร้านประจำได้ ถูกงดช็อปปิ้งในห้าง อยู่บ้านมากขึ้นกักตัวพร้อมกักตุนอาหาร และอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อของต้องเปลี่ยนไป  ในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือ โครงการย่อยที่ 5 ซึ่งพูดถึงเรื่อง ‘อนาคตของการซื้อของในเมือง’ การมาเยือนของโควิด-19 ส่งผลให้อนาคตการซื้อของของคนเมืองในงานวิจัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สมมติฐานถึงอนาคตทั้งใกล้ไกลจะเบนเข็มไปในทิศทางไหน ทุกๆ อย่างกำลังเปลี่ยน เปลี่ยนไปจากความคุ้นชิน เปลี่ยนไปในทิศทางบังคับที่ทุกคนต้องปรับตัวตาม และยังไม่รู้เลยว่า คลื่นลมของการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จะสงบลงได้ในวันไหน การพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ เมืองควรมีร้านสะดวกซื้อเพราะอะไร เมืองเกิดจากตลาดแล้วก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ร้านค้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองมาตั้งแต่ต้น การค้าในเมืองในยุค 1.0 […]

Big Data ที่ดี คือทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาภัยพิบัติ คุยกับ ผศ. ดร. ทวิดา กมลเวชช ในวันที่ไวรัสป่วนเมือง

23/04/2020

จนถึงตอนนี้การระบาดของไวรัสโควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วเกือบสองแสนชีวิต ภัยพิบัติครั้งนี้ส่งผลกระทบให้โลกทั้งโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นภัยพิบัติหน้าใหม่ที่ทั้งโลกกำลังหาวิธีการรับมือ เป็นภัยพิบัติที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  สำหรับประเทศไทย ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดชนิดนี้กำลังเข้าสู่จำนวนครึ่งร้อย หากเทียบตัวเลขกับนานาประเทศแล้ว ประเทศไทยมีตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมรับมือที่ดี  แต่ทว่าเสียงบ่นระงมถึงมาตรการต่างๆ ที่รัฐยื่นมาช่วยเหลือเยียวยาประชาชนนั้นดูจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ทำได้ไม่ทั่วถึง ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการสื่อสารสั่งการ หรือกระทั่งการปิดเมืองที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ตลอดจนการวิ่งไล่ตามหลังปัญหาเสมอมาของการจัดการแบบประเทศไทย การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสถานการณ์ร้อนๆ ที่ยังหาบทสรุปไม่ได้ จึงมีเรื่องให้ต้องเปลี่ยนแปลงกันวันต่อวัน  ส่วนวันนี้คุยกับ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ  ทบทวนว่าที่ผานมาเราพลาดอะไรกันไป แล้วต่อไปเราจะแก้ไขอะไรได้บ้าง  นัดพบครั้งนี้ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันเพราะเราต่างต้อง social distancing และ physical distancing หยุดเชื้อ เพื่อชาติ…   งานภัยพิบัติในประเทศไทยไม่เคยได้รับความสำคัญในลำดับแรกๆ เพราะอะไร หนึ่ง เราโฟกัสกับการพัฒนาเรื่องอื่นอยู่ อย่างที่สองเราเจอภัยแรงๆ ที่ทำให้เสียหายน้อยครั้ง มันเลยเกิดอาการที่ไม่ได้ใส่ใจกับปัญหามากหนัก จนมาถึงสาเหตุที่ 3 ระดับความรู้ในเรื่องนี้ของประเทศมันไปให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์มากกว่าสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ใช่ความผิด การเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติในแบบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ในแบบคำอธิบายทางวิศวกรรม ทางกายภาพหรือทางเครื่องไม้เครื่องมือนั้นง่ายกว่าอยู่แล้ว เพราะจับต้องได้มากกว่า  ส่วนเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ว่าผลของมันคืออะไร คำว่าผลของมันคืออะไร ลองนึกถึงว่า ถ้าอยากให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นก็ทำได้ด้วย […]