public transportation



มารู้จัก Interaction Design และทำไม Google Maps ถึงรับมือรถเมล์ไทยไม่ได้

25/11/2020

เมื่อพูดถึง Interaction Design หรือ การออกแบบที่เน้นปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ออกแบบและผู้ใช้งาน ฟังดูกว้าง และจับจุดได้ยากหากเราไม่ใช่นักออกแบบเสียเอง จริงๆ แล้ว Interaction Design ก็คลุมความหมายที่กว้างจริงๆ แต่ถ้ายกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชันต่างๆ หลายคนคงร้องอ๋อ ด้วยความหมายที่กว้างทำให้ศาสตร์ของ Interaction Design เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการออกแบบอื่นๆ อย่างที่ Einar Sneve Martinussen ผู้เชี่ยวชาญด้าน Interaction Design จาก Oslo School of Architecture and Design บอกกับเรา อย่างไรก็ตาม Einar ชี้ให้เราเห็นว่าหัวใจหลักของ Interaction Design ที่กลายเป็นความแตกต่างจากการออกแบบโดยทั่วไป คือการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานว่าผู้ใช้งานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และวัตถุหรือผลงานการออกแบบนั้นจะโต้ตอบอย่างไร การสื่อสารไปมาระหว่างกันและกัน ดังนั้นคงจะไม่ผิดนักหากเมื่อเรามองในภาพกว้าง Interaction Design และ Urban Design หรือ การออกแบบเมือง จึงหนีกันไม่พ้น และต้องการการพัฒนาไปควบคู่กัน เพราะหากเราต้องการการออกแบบที่มุ่งตอบสนองผู้ใช้ในระดับเมือง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้คนที่พร้อมใช้งาน […]

โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]

FOOD DELIVERY : รัก Food เท่าฟ้า

16/06/2020

ธุรกิจ Delivery ในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2532 โดยบริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป และหลังจากนั้นก็มีการเปิดตัวการให้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์และเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2540 และ 2550 ตามลำดับ โดยภาพจำในอดีตของการส่งสินค้าเดลิเวอรี่นั้นก็มักจะเป็นอาหารประเภทพิซซ่าหรือไก่ทอดเจ้าดังที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งทางโฆษณาโทรทัศน์ แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมากขึ้น ทำให้ธุรกิจประเภท Delivery นี้สามารถเข้าถึงร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจำกัดด้านขนาดของร้านค้าอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะมีร้านขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือแม้แต่ไม่มีหน้าร้านสำหรับนั่งทานอาหาร คุณก็ยังคงสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้คนส่วนใหญ่จำต้องทำงานแบบ work from home ร้านอาหารก็งดการนั่งรับประทานที่ร้าน และท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวของเดือนเมษายนทำให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Food Delivery กลายมาเป็นทางเลือกที่สำคัญและอาจจะจำเป็นอย่างมากสำหรับใครหลาย ๆ คน  วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับ คุณธนกฤต, คุณวีระ, คุณอมรพล และคุณพิยดา กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถรับส่งอาหารในกรุงเทพมหานครกันว่า ในแต่ละวันที่ต้อง Work from everywhere นั้นการทำงานและวิถีชีวิตของแต่ละคนเป็นเปลี่ยนไปแค่ไหนและเป็นอย่างไรกันบ้าง (ในบทสัมภาษณ์นี้ทางผู้สัมภาษณ์ขออนุญาตใช้นามสมมติเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์) ทำ Food  Delivery มานานหรือยัง ? ธนกฤต : “เพิ่งเริ่มทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ ปกติทำตัดต่อกับโปรดิวเซอร์ที่โปรดักชั่น เฮ้าส์ […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน คุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ในวันที่ถนนของเมืองเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์

15/05/2020

ถ้าย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่ Covid-19 จะเข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ลองหลับตาแล้วนึกถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพมหานครดูหน่อยสิว่า คุณนึกถึงอะไรบ้าง? การจราจรแออัดแบบติดท็อป 10 ของโลก, รถไฟฟ้าแพง, รถเมล์ไม่เคยพอ, มอเตอร์ไซค์ย้อนศรเรื่องปกติ หรือบางทีก็วิ่งบนทางที่คนควรจะได้เดิน, จากบ้านไปที่ทำงานต้องขึ้นวิน โหนรถเมล์ ลงเรือ แล้วต่อแท็กซี่ และยังมีอีกมากมายที่เอ่ยได้ไม่รู้จบสำหรับปัญหาการเดินทางในเมือง ซึ่งดูสวนทางกับป้ายใต้ราง BTS ที่เงยหน้ามองอยู่ทุกวัน ในประโยคที่ว่า ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ภาพของการเดินทางในเมืองแบบสภาวะปกติ เชื่อว่าทุกคนน่าจะจดจำปัญหาที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาด การเดินทางในเมืองและวิถีชีวิตที่จำต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตหนักหน่วง เราอาจจะนึกไม่ออกว่าอนาคตจะเปลี่ยนโฉมออกมาหน้าตาแบบไหน ในวันที่ต้องอยู่บ้านและเดินทางไปไหนก็ลำบาก จึงอยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ชื่อว่า ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเรื่องของ ‘การเดินทางในเมือง’ กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง: เส้นเลือดฝอยของคนเมือง,มอเตอร์ไซค์รุ่งโรจน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดคือบางส่วนในหัวข้อที่อาจารย์ใช้ในงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า มอเตอร์ไซค์ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญสำหรับการเดินทางในเมือง และอาจารย์ยังบอกอีกว่า […]