อ่านเชียงใหม่ผ่านสถาปัตยกรรมเมือง ประวัติศาสตร์และพัฒนาการบนทางสาธารณะ

04/07/2023

การทำความเข้าใจเมืองหนึ่งเมืองใด อาจเป็นเรื่องยากต่อการศึกษาได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากเมืองมีลักษณะเฉพาะที่มีความสลับซับซ้อน มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวและไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับมนุษย์ จึงมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการผ่านการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้ในแต่ละช่วงระยะเวลาแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างยาวนาน บทความนี้จะชวนผู้อ่านไปสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมือง ตลอดสองฝั่งถนนสายวัฒนธรรมของเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองเชียงใหม่ผ่านสถาปัตยกรรม เมืองเก่า นิยามและความหมายในบริบทประเทศไทย เมืองประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปเป็นคำที่ถูกกล่าวถึงไม่มากนัก แต่หากกล่าวถึง “เมืองเก่า” ในบริบทของประเทศไทย อาจเป็นคำที่ผู้อ่านคุ้นเคย ทั้งในแง่การตีความหมายและถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในบริบทการอนุรักษ์เมือง “เมืองเก่า” อ้างอิง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 หมายถึง “เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่ง สืบต่อมาแต่กาลก่อน มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะจำเพาะของสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีรูปแบบผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะเป็นรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาในยุคต่าง ๆ เมืองหรือบริเวณของเมืองที่เคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่ง และยังคงมีลักษณะเด่นประกอบด้วยโบราณสถาน เมืองหรือบริเวณของเมืองซึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือโดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่งสถาปัตยกรรมหรือคุณค่าในทางศิลปะ โบราณคดี หรือประวัติศาสตร์” คำว่า “เมืองเก่า” อาจให้นิยามและความหมายของเมืองประวัติศาสตร์ได้อย่างครอบคลุม ทั้งในแง่ลักษณะทางกายภาพ สุนทรียศาสตร์ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน เมืองเชียงใหม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองเก่า ตามประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เมื่อวันที่ 13 […]

มองเมืองจากทางเดินเท้า: กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ

26/06/2023

หากกล่าวถึงกรุงเทพมหานคร เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกถึงมหานครที่มีกิจกรรมอันหลากหลาย ทว่าคับคั่งไปด้วยความแออัดของผู้คน แม้จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะครอบคลุมในหลายพื้นที่ของเมือง แต่ก็มีปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากการใช้พาหนะส่วนตัว จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเช่นปัจจุบัน ในอีกแง่มุมหนึ่งกรุงเทพมหานครกลับเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเดินเท้าด้วยองค์ประกอบและสาธารณูปโภค-สาธารณูปการต่าง ๆ ภายในเมือง เช่น การกระจุกตัวของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงร้านค้ารายทาง การมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่เข้าถึงได้ การที่มีไฟส่องสว่างที่สร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน หรือการมีต้นไม้คอยให้ร่มเงาตลอดทางเดินในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครไม่นิยมที่จะสัญจรด้วยการเดินเท้า สืบเนื่องจากหลายปัจจัย อาทิสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง เช่น ความปลอดภัยบนทางเท้า สภาพทางเท้าที่ชำรุดทรุดโทรม ทางเท้าที่แคบเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง-หาบเร่แผงลอยที่ไม่เป็นระเบียบ หรือกระทั่งผิวทางที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้พิการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงลักษณะทางเท้าที่เหมาะสมควรมีลักษณะอย่างไร? ทำไมเราจึงให้นิยามทางเท้าของกรุงเทพฯ ว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ” เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาของทางเท้า กรณีศึกษาในต่างประเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเมืองที่ดีได้ในอนาคต กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ หากนิยามทางเดินเท้ากรุงเทพฯ ด้วย 3 คำสั้นๆ คงหนีไม่พ้นคำว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน ไม่สำคัญ” “วุ่นวาย” สภาพปัญหาบนทางเท้าในกรุงเทพมหานครมีความวุ่นวาย จากการที่ กรุงเทพฯ […]

สำรวจภูมิทัศน์ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย

20/06/2023

ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่นานาอารยประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศหลังอุตสาหกรรม เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และการเผชิญหน้ากับการแข่งขันทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานต้นทุนต่ำ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกอาศัย “ความคิดสร้างสรรค์” เข้าไปมีส่วนช่วยในจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ตัวอย่างเช่นนโยบาย “Cool Britannia” ของสหราชอาณาจักร ในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่าง วง Spice Girls, ซีรีย์ Doctor Who หรือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อย่าง Habitat และนโยบาย “CreaTech” ของอังกฤษในการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อีกกรณีศึกษา ได้แก่ นโยบาย “Cool Japan” ของญี่ปุ่น และ “Creative Korea” ของเกาหลีใต้ ที่ประสบความสำคัญอย่างมากในกลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิงและการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้กับประเทศอย่างมหาศาล เป็นที่น่าสนใจว่านอกเหนือจากการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ แล้ว แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาเมือง ? ที่มาภาพ: Creative Economy – British […]

เมืองกับสุขภาพจิต: สำรวจ 5 พื้นที่ลดความเครียดในเมือง

19/06/2023

เมืองและปัญหาสุขภาพจิตดูเป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันในหลายมิติ ปัจจุบันผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองต้องดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของความเครียดจากผู้คนรอบข้างได้อยู่เสมอ หนึ่งในสาเหตุสำคัญเกิดจากปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ ปัญหาการจราจรติดขัด ความแออัดของเมือง สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ฯลฯ จนส่งกระทบให้เกิดความเครียดสะสม The Urbanis จะนำพาทุกท่านติดตามสถานการณ์ผ่านบทความและมองหาแนวทางการพัฒนาเมือง เพื่อช่วยลดความเครียดจากการดำเนินชีวิตและเพิ่มความน่าอยู่ของเมืองไปด้วยกัน เมืองกับสุขภาพจิต จากบทความ ‘เรื่องร้ายของคนเมือง’ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิรมล กุลศรี ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง อธิบายว่า “ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมดึงดูดให้คนกระจุกตัวในเมือง ความหนาแน่นแออัดจึงเริ่มขึ้น จากเดิมสังคมชนบทมักจะมีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน แต่พอมาเป็นสังคมเมืองที่มีความปัจเจก การวางเฉย ระยะห่างและยังเต็มไปด้วยสิ่งเร้าทำให้เราเกิดโรค โดยเฉพาะโรคทางจิต” ชี้ให้เห็นว่าสภาพปัญหาและรูปแบบทางสังคม ถือเป็นสิ่งเร้าของสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานองค์การอนามัยโลกในปี 2014 อภิปรายถึงบริบททางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองการปกครองว่า “ประวัติศาสตร์ของประเทศ-สถานการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและสังคมที่อยู่ในสังคม เป็นสิ่งกำหนดคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นประเทศที่มีเสรีภาพทางการเมืองต่ำ มีสภาพแวดล้อมทางการเมืองไม่มั่นคง และมีระบบบริการและระบบกำกับดูแลที่ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนและส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตใจ” เห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ไม่อาจมองข้ามได้และมีความซับซ้อนของปัญหา (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2014, หน้า 30) นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังชี้เห็นว่า การเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพื้นที่กลางแจ้งเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพจิต […]

Kamo River, the Life and Culture of Kyoto: คาโมะ แม่น้ำแห่งชีวิตและวัฒนธรรมของเมืองเกียวโต

11/06/2023

นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หรือในชื่อเรียกเดิมว่า ‘เฮอันเกียว’ (Heian-kyo) อันหมายถึง ‘นครหลวงแห่งสันติและความสงบสุข’ เป็นอดีตเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 749 ปัจจุบันมีอายุกว่า 1,273 ปี ตั้งอยู่ในจังหวัดเกียวโต ศูนย์กลางของเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบและการวางผังเมืองมีลักษณะผังแบบตาตาราง (Grid system) โดยมีถนนวิ่งตัดกันในแนวเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ตัดกันเป็นมุมฉาก ที่ได้รับอิทธิพลของการวางผังเมืองจากเมืองฉางอาน ประเทศจีน (Chang’an, China) เช่นเดียวกับเมืองประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นอย่าง เมืองฟูจิวาระ (Fujiwara-kyo ในปี 694) และเมืองเฮโจ (Heijo-kyo ในปี 710) ในจังหวัดนารา สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองตั้งอยู่แอ่งเกียวโต ที่มีภูเขาอยู่รายล้อม และแม่น้ำที่ขนาบข้างทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกทั้งสองฝั่ง หนึ่งในนั้นคือ “แม่น้ำคาโมะ” แม่น้ำแห่งชีวิตและวัฒนธรรมของเมืองเกียวโต แม่น้ำคาโมะ (Kamo River) หรือคาโมะคาวะ (Kamogawa – 鴨川) เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงเมืองเกียวโตมาอย่างยาวนาน  ชื่อของแม่น้ำคาโมะมีที่มาจากอักษรคันจิสองตัว คือ คาโมะ (鴨) ที่แปลตรงตัวว่า […]