ทางเท้าสุขุมวิทเป็นอย่างไร: เสียงของผู้ใช้งานทางเท้าสุขุมวิท

13/03/2024

เมืองเดินได้ทำให้เศรษฐกิจดี? งานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพัฒนาเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เดินดี” โดยนอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างการมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว เมืองที่เอื้อให้ผู้คนเดินเท้าในชีวิตประจำวันยังส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรายย่อย จากการเพิ่มโอกาสในการแวะจับจ่ายใช้สอยของผู้คน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่น้อยลง ถนนสุขุมวิท เป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสายหลักของประเทศไทย อย่างไรตาม ถึงแม้ว่าบริเวณแกนถนนสุขุมวิทจะเป็นที่ตั้งของแหล่งงาน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรม รวมถึงมีโครงการพัฒนาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทางเดินเท้าริมถนนที่มีปริมาณการใช้งานต่อวันของผู้คนที่สูงนั้น ยังมีสภาพแวดล้อมที่่ไม่น่าเดินและไม่ส่งเสริมให้เกิดการเดิน หากถนนสุขุมวิทที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของคนเมือง และมีศักยภาพในการพัฒนา สามารถเดินได้และเดินดีตลอดทั้งเส้น จะเป็นอย่างไร  กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนสุขุมวิทซอย 1 ถึงซอย 107 (นานา-แบริ่ง) ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่ 893 คน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ และความต้องการในการพัฒนา เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาให้ย่านของถนนสุขุมวิทน่าอยู่ และออกแบบทางเท้าให้เดินได้-เดินดี พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของย่านให้ดีมากยิ่งขึ้น ถนนสุขุมวิท พื้นที่ของกลุ่มคนที่หลากหลาย จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ใช้งานทางเท้าถนนสุขุมวิท พบว่า มีคนทุกเพศทุกวัยเข้าใช้งานพื้นที่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 33-34 ปี ผู้ที่ให้ความคิดเห็นที่มีอายุมากที่สุดอยู่ที่ 75 ปี และน้อยที่สุดอายุ 13 ปี ส่วนมากเป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 26 – […]

กรุงเทพฯ เมืองร่วม “คิด”

22/02/2022

จะดีแค่ไหน หากเมืองสามารถรวมทุกเสียงจากทุกมุมเมืองมาต่อยอดการพัฒนาได้? เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า การที่จะทำให้พลเมืองรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ปัจจัยหลักมากจากการที่พลเมืองมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาต่างๆ เมื่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนเปิดพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิดเห็น ตลอดจนรับฟังและเคารพเสียงของเรา แน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการและปัญหาของเมืองและคนเมืองอย่างแท้จริง รวมไปถึงสร้างความสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเมืองอีกด้วย วันนี้เราเลยหยิบยกกลไกและเครื่องมือในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของพลเมือง มาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าหลายๆเมืองทั่วโลกมีการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านเสียงและการมีส่วนร่วมของประชาชน กลไกและเครื่องมือในการรับฟังเสียงพลเมือง 1. แพลตฟอร์มกลางในการสื่อสารของทุกภาคส่วน  เมื่อพูดถึงกลไกหรือเครื่องมือในการรับฟังเสียงของประชาชน รวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองที่หลายเมืองทั่วโลกใช้ในช่วงเริ่มแรกนั้นคงจะหรือไม่พ้นการใช้แพลตฟอร์มหรือช่องทางในการรับความคิดเห็นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยจะขอยกตัวอย่าง 2 แพลตฟอร์มที่เป็นนิยมในการรวบรวมความคิดเห็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ (1) การลงคะแนนเสียงออนไลน์ (I-voting) คือเครื่องมือในการโหวตและแสดงความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนา เช่น โครงการ Shezidao ของไทเป ที่รัฐได้ทดลองให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียงต่อโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และ (2) การจัดทำงบประมาณอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) คือเครื่องมือที่นอกจากจะให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและลงคะแนนเสียงต่อการพัฒนาของเมืองแล้ว ยังสามารถมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้งบประมาณของเมืองอีกด้วย ที่จะช่วยสร้างความเป็นธรรมและความชอบธรรมต่อการเสนองบประมาณของท้องถิ่น นอกจากนี้ ในยุคดิจิทัลยังจะเห็นได้ว่าผู้นำของหลายๆประเทศ เริ่มเป็นพื้นที่ออนไลน์ให้ประชาชนได้เข้ามาพูดคุย หรืออัพเดตความเคลื่อนไหวของการดำเนินงานผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้นำและประชาชนนั้นใกล้มากยิ่งขึ้น 2. การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (focus group) การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการสนทนากลุ่มนั้น […]

ส่องนโยบายเมืองน่าอยู่ของโลก

10/02/2022

หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่ากรุงเทพฯ ได้รับเลือกให้เป็น “เมืองน่าเที่ยว” อันดับ 1 ของโลกหลายปีซ้อน หากแต่ในแง่ของ “ความน่าอยู่” จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 98 จาก 140 เมืองทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์ทั้งการเป็นเมืองน่าอยู่และน่าท่องเที่ยว บทความนี้จึงจะชวนผู้อ่านมาส่องนโยบาย วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของเมืองที่ติดอันดับต้นๆของเมืองน่าอยู่ และกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร และทำไมเมืองเหล่านั้นถึงมีบทบาทเป็นเมืองน่าอยู่ของโลกได้ ต้องมีอะไรบ้าง ถึงจะเป็นเมืองน่าอยู่ของโลก? การวัดระดับความเป็นเมืองน่าอยู่นั้น มีดัชนีชี้วัดการพัฒนาจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยดัชนีชี้วัดอันดับเมืองน่าอยู่ของโลก (Global Liveability Ranking) ของ EIU เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ได้มาตรฐานและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ที่ได้มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเมืองกว่า 140 เมือง ผ่านตัวชี้วัดมากกว่า 30 ตัวชี้วัด ครอบคลุม 5 หมวดหลัก ได้แก่ (1) ความมั่นคง 25% (2) สาธารณสุข 20% […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

Trash from Home: เมื่อการอยู่บ้านผลิตขยะพลาสติกมากขึ้น

19/04/2020

ปัจจุบันดิจิทัลภิวัตน์ (Digitalization) ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนในทุกๆมิติ และนำมาซึ่งไลฟ์สไตล์ใหม่ๆโดยเฉพาะกับคนเมือง หนึ่งในนั้นคือการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ซึ่งธุรกิจนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในพื้นที่เมืองใหญ่ทั่วโลก ที่ช่วยให้คนเมืองที่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ หรือกลุ่มคนที่ไม่ต้องการออกไปเผชิญความร้อน ฝุ่น ควัน และการจราจรที่ติดขัดนอกบ้าน ได้อิ่มอร่อยกับอาหารร้านโปรดง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว From food delivery to trash delivery หลายคนคงเคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชัน แต่รู้หรือไม่ว่าใน 1 มื้อ เราสามารถสร้างขยะพลาสติกได้อย่างต่ำถึง 4 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก กล่องพลาสติกใส่อาหาร ชุดช้อนส้อมพลาสติก หากมีเครื่องดื่มด้วยก็จะมีแก้ว ฝาครอบ และหลอดพลาสติก ซึ่งทั้งหมดถูกรวมมาในถุงพลาสติกอีกทีหนึ่ง The New York Times ได้รายงานถึงวิกฤตของปัญหาขยะพลาสติกในประเทศจีนที่เกิดจากการสั่งอาหารออนไลน์ที่มากขึ้นของประชาชน มีสถิติว่าการสั่งซื้ออาหารออนไลน์นั้นก่อให้เกิดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ประมาณ 1.6 ล้านตัน ในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อน ที่ช่องทางการสั่งอาหารในรูปแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยม โดยปริมาณพลาสติกทั้งหมด ประกอบด้วย พลาสติกจากกล่องใส่อาหาร 1.2 ล้านตัน ตะเกียบ 175,000 ล้านตัน […]