อย่าให้วิกฤตมันเสียเปล่า : ถอดบทเรียนเหตุระเบิดโรงงานพลาสติก กับการจัดการพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตเมือง

05/08/2021

วิกฤตโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย คนกรุงเทพฯ กลับได้เจอวิกฤตซ้อนวิกฤต หลังเกิดเหตุระเบิดขนาดใหญ่ที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 สร้างความเสียหายให้กับโรงงานและอาคารที่พักอาศัยโดยรอบมหาศาล ความรุนแรงของเพลิงไหม้ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์กินเวลายาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง ผู้คนมากมายในย่านต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ต้องลำบากกับการอพยพออกจากที่พัก และมีผู้เสียชีวิต 1 รายระหว่างควบคุมเพลิง กระแสของความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ได้รับผลกระทบเกิดขึ้นควบคู่กับความไม่พึงพอใจในการบริหารสถานการณ์ของภาครัฐ แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันคือข้อกังขาในผังเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับคำถามที่ว่าทำไมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีอันตรายถึงตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนและเขตที่พักอาศัยได้? ความขัดแย้งกันของการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมนี้เกิดจากอะไร? และยังมีความเสี่ยงอะไรจากภาคอุตสาหกรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ของเมืองอีกหรือไม่?  เพื่อไม่ให้วิกฤตสูญเปล่า ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) และ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันจัดเวทีเสวนา มุมมองทางผังเมืองกรณีระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร โดยได้เกียรติจากคณาจารย์ประจำภาคผังเมืองฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและหาทางออกร่วมกัน ประกอบด้วย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย และ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย และ อาจารย์ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ เมื่อค่ำวันที่ […]

เมืองกับศักยภาพการเป็นโรงพยาบาลสนามในภาวะฉุกเฉิน ย้อนมองไทย สหรัฐฯ และอินเดีย

30/06/2021

ภาพปกบทความ โดย สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กึ่งสาธารณะของเมืองในมุมมองที่แตกต่างจากภาวะปกติ ดังเห็นว่าพื้นที่บางประเภท เช่น หอประชุม สนามกีฬาในร่ม อาคารเรียน ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับความต้องการของเมืองในยามคับขัน เช่น ถูกปรับเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเเบ่งเบาภาระของสถานพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ติดเชื้อ ไทยกับปรากฏการณ์เตียงผู้ป่วย ห้อง ICU ที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซีไทย (28 เมษายน 2564) พูดถึงประเด็นน่ากังวลเรื่องการจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด-19 และจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยไอซียูห้องความดันลบเริ่มจะเต็มกำลังการรองรับของระบบสาธารณสุข ภายหลังเกิดการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานยอดผู้ป่วยสูงขึ้นสู่ระดับ 2,000 คนต่อวัน โดยระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 25644 ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นจาก 418 ราย เป็น 695 ทำให้สถานการณ์เตียงสำหรับผู้ป่วยอาการหนักหรือไอซียู เกิดสภาวะที่เรียกว่า “เตียงตึง” โดยกรมการแพทย์ให้ข้อมูลว่า มีผู้ป่วยครองเตียงไปแล้ว 70-80% ทั่วประเทศ ไม่เพียงเตียงผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วยไอซียูที่ไม่เพียงพอ แต่เครื่องช่วยหายใจและระบบความดันลบก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากมีผู้ป่วยหนักย่อมแสดงว่าความต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจก็มีมากขึ้น ขณะนี้เครื่องช่วยหายใจที่ต้องมีระบบออกซิเจนเริ่มมีไม่เพียงพอ อีกทั้งการที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นยังทำให้พื้นที่โรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเพียงพอ สถานการณ์ไทยเทียบกับอินเดียแล้วหรือไม่? สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]

สวนสาธารณะที่ไม่สาธารณะ กับ ความต้องการพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด

21/06/2021

ภาพปก Tree photo created by tirachard – www.freepik.com การระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอกที่ผ่านมา กระทบโดยตรงต่อผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่งในสวนสาธารณะ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีคำสั่งปิดใช้งานสวนสาธารณะ นับรวมเป็นเวลาหลายเดือนที่พื้นที่สำหรับเสริมสร้างสุขภาวะ ถูกลบไปจากวิถีชีวิตประจำวันคนเมือง คำถามคือในภาวะล็อคดาวน์และกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น มิใช่พื้นที่สีเขียวหรอกหรือที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตเมืองให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โดยไม่กระทบร่างกายและจิตใจมากเกินไป กรุงเทพฯ เขียวน้อยลงได้อีกในภาวะโรคระบาด แม้ในภาวะปกติ พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯเดิมก็มีให้ใช้ประโยชน์ไม่มากอยู่แล้วเมื่อเทียบสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในมหานครทั่วโลก ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม ระบุว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่นับรวมจากพื้นที่สวน 7 ประเภททั้งสิ้น 40 ตารางกิโลเมตร (40 ล้านตารางเมตร) ทำให้ประชากร 5,487,876 คนในกรุงเทพฯ (อ้างอิงข้อมูลกระทรวงมหาดไทย และยังไม่รวมประชากรแฝงอีกจำนวนมาก) เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้เฉลี่ยประมาณ 7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ 9 ตารางเมตรต่อคน อ่านต่อ กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน เมื่อย้อนอ่าน ประกาศกรุงเทพมหานครสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ซึ่งรวมไปถึง สนามกีฬาทุกประเภท สวนสาธารณะ ลานสาธารณะ […]

รู้จัก Gay Village และพลวัตเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

14/06/2021

เรียบเรียง : สรวิชญ์ ธรรมระติวงศ์, หฤษฎ์ ทะวะบุตร ภาพปก : ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่หลายเมืองให้ความสนใจและกำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลไกการบริหารจัดการ ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ หากประกอบที่สำคัญไม่แพ้กันคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็น Smart People และสภาพที่แวดล้อมที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้คนที่หลากหลายอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข บทความชิ้นนี้ตั้งใจบอกเล่าเกี่ยวกับย่านและเมืองของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในเมืองบนโลกปัจจุบัน ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนิยมอยู่อาศัยและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว เพราะเป็นย่านในเมืองหรือเมืองที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพวกเขาในสภาพสังคมปัจจุบันที่หลายๆ ประเทศ อาจจะยังไม่เปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศมากนัก Gay Village กำเนิดย่านของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พื้นที่เมืองอันเป็นย่านของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “Gay Village” พบได้ทั่วไปในมหานครทั่วโลก มีลักษณะสำคัญคือเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (LGBTQ+ Urban Space) และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่าง คลับ บาร์ ซาวน่า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ในช่วงแรก Gay Village […]

ย้อนมองย่านปทุมวัน: ประวัติศาสตร์และอนาคตที่วาดฝันของเมืองมหาวิทยาลัยแห่งสยาม

02/06/2021

ภาพโดย สำนักกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพูดถึงเขตปทุมวัน ภาพที่ปรากฏขึ้นในมุมมองของชาวเมืองหลวงคงไม่พ้นแหล่งห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ย่านแห่ง Lifestyle แหล่งกินเที่ยวแบบชิค ๆ และศูนย์กลางรถไฟฟ้าอันสะดวกสบาย แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือพื้นที่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ที่เฉพาะอาคารเรียนและวิทยาเขตต่าง ๆ ก็ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1 ใน 5 ของเขต และคิดเป็นมากกว่า 50% ของพื้นที่ในแขวงวังใหม่และปทุมวัน เหล่านี้เมื่อรวมเข้ากับพื้นที่ของหอพัก ร้านค้า และพื้นที่ต่าง ๆ ที่คอยรองรับกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาแล้ว พื้นที่เขตปทุมวัน โดยเฉพาะในสองแขวงดังกล่าว อาจเรียกได้ว่าเป็น College Town หรือ College Neighbourhood ที่สำคัญที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ก่อนจะเป็นศูนย์กลางเมือง การเกิดขึ้นของ “เมืองมหาวิทยาลัย” ในพื้นที่นี้มีมาก่อนหน้าการเกิดศูนย์กลางความเจริญใหม่ เพราะตั้งแต่ พ.ศ.2439 ก็เริ่มมีการใช้วังใหม่เป็นพื้นที่ของสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โรงเรียนการแผนที่ โรงเรียนสำหรับกระทรวงเกษตราธิการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน และมาจนถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาคารเรียนแห่งอื่นนอกจากตัววังก็ได้ก่อสร้างและใช้งานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา เป็นเวลานานก่อนการเกิดศูนย์กลางเศรษฐกิจนอกกำแพงพระนคร กระทั่งปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ยังคงเป็นสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่วังใหม่-ปทุมวัน เหล่านี้แสดงว่าโครงสร้างของย่านนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยผูกพันกับสถานศึกษาแต่แรกเริ่ม  พัฒนาการและปัญหาหลังยุคแห่งนคราภิวัฒน์ จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของการสถาปนาเป็นพื้นที่ของสถาบันการศึกษา […]

รั้วรอบ ขอบชิด ปิดประตู : เพียงกรุงเทพฯ “สลายรั้ว” เราจะเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น

27/05/2021

ภาพปกโดย photo created by mrsiraphol – www.freepik.com บางครั้งการเดินเท้าไปตามถนนใหญ่อาจทำให้เราต้องเจอกับความวุ่นวายและมลพิษมากไปสักหน่อย การได้เดินลัดผ่านสวนหรือพื้นที่สงบ ๆ กว้าง ๆ บ้างก็คงให้บรรยากาศที่ดีกับการเดินในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย ความคิดนี้จะไม่เกินความจริงเลย หากเรากำลังเดินอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี แต่พอเราอยู่ในกรุงเทพฯ มองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกและรั้วทึบ ๆ กับถนนใหญ่มหึมาที่มาพร้อมกับทางเดินเท้าขนาดพอดีตัว 3 เหตุผล ทำไมกรุงเทพฯ เป็น “เมืองแห่งรั้ว” เราคงรู้กันดีว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้นแสนจะห่างไกลเกินเอื้อมถึง ไม่ได้อยู่ให้เราเดินผ่านได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งถึงแม้พื้นที่สาธารณะจะอยู่แค่เอื้อม เราก็อาจจะยังต้องติดอยู่กับถนนกับทางเดินเล็ก ๆ ของเราไปอีกไกล ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะรั้วโลหะเจ้ากรรมที่ยั่วให้เราได้เห็นสวน เห็นสนามหญ้า หรือเห็นลานกว้างอยู่ข้างตัว แต่ก็ขวางเราไว้ไม่ให้ไปถึง  ตั้งแต่สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงที่ทำการหน่วยงานราชการ ทุก ๆ พื้นที่เหล่านี้ล้วนแต่มีรั้วรอบขอบชิด เข้าได้แค่จุดนี้ ออกได้แค่ทางนี้ ถ้าโชคไม่ดีมาวันที่เขาปิดประตูลงกลอน เราก็อาจจะต้องเดินอ้อมไปเป็นกิโลเมตร ความเป็นเมืองแห่งรั้วของกรุงเทพฯ นี้มีเหตุมาจาก 3 เรื่องหลัก ๆ คือสัณฐานของเมือง การกระจายความเป็นเจ้าของที่ดิน และมุมมองต่อพื้นที่สาธารณะ […]