จัดการเมืองอย่างไรก่อนเตียงโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ชวนมองฉากทัศน์เมืองในอนาคตหากมีโควิดระลอก 4 กับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์

05/05/2021

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทย ได้ส่งผลให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในพื้นที่ทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมีผู้ติดเชื้อรวมทะลุกว่า 1 แสนคน แน่นอนว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อเมืองโดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนเมือง การประกอบอาชีพ กิจการร้านค้าต่าง ๆ มากมายทั่วประเทศ ในหลายพื้นที่ที่เป็น “คลัสเตอร์” การแพร่ระบาด เมื่อมีผู้ติดเชื้อมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลอาจมีเตียงไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 คนหรือมากกว่านั้น จึงนำมาสู่การตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่กล่าวได้ว่า อาจเป็นความหวังในการจัดการกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตเมือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนมองฉากทัศน์การจัดการเมืองในภาวะโรคระบาด โดยย้ำว่าต้องมองถึงการระบาดระลอกที่ 4 ตั้งแต่ยังมีการระบาดระลอกที่ 3 ก่อนที่เตียงผู้ป่วยจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และสัปเหร่อไม่พอจะทำศพ! หมายเหตุ : สัมภาษณ์เมื่อปลายเดือนเมษายน 2564 ปัจจัยและสาเหตุกับจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วในประเทศไทย   จากที่ติดตามดูสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ในครั้งนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน […]

เป็นคนแรกที่ถูกลืมและเป็นคนสุดท้ายที่ถูกนึกถึง: ทางเท้าสำหรับทุกคนผ่านมุมมอง กฤษนะ ละไล

21/04/2021

“คนพิการมักเป็นกลุ่มแรกที่ถูกลืม และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ถูกนึกถึงในการพัฒนาทางเท้า”   ส่วนหนึ่งจากบทสนทนาของ กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล (Friendly Design for All Foundation) ผู้ที่บอกว่าตนเองเป็น “คนสำคัญที่มักถูกลืมในการพัฒนาทางเท้า” เราได้แลกเปลี่ยนมุมมองว่าด้วยเรื่องทางเท้า และโครงการฟื้นฟูทางเท้าย่านรัตนโกสินทร์ 33 เส้นทาง ผ่านบทความสัมภาษณ์ฉบับนี้ สภาพแวดล้อมพิการ: ภาพสะท้อนความลำบากของคนสำคัญที่มักถูกลืม อดีตนั้นเราอาจยังไม่มีความรู้สึกกับปัญหาสภาพแวดล้อมทางเท้า หรือให้ความสนใจมากขนาดนี้ จนกระทั่งเราได้มานั่งบนเก้าอี้วีลแชร์ ได้ทราบปัญหา ได้สัมผัสกับความยากลำบาก ได้ประสบกับบทโหดของชีวิตในการออกเดินทางผจญภัยนอกบ้าน ซึ่งสภาพแวดล้อมไม่เป็นมิตรกับเราเลย โดยเฉพาะทางเท้าหรือฟุตพาทอย่างที่เราเห็น คนปกติเดินยังไม่ Friendly คนนั่งวีลแชร์ไม่ต้องนึกถึงเลย คือ มันไม่ได้ไปใช้แน่นอน ยิ่งตัวเองเป็นแบบนี้ ยิ่งทำให้เราเห็นและรู้ถึงปัญหาเพราะปัญหาเหล่านี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเมือง ไม่ใช่แค่ทางเท้าแต่มันทุกอย่างเลย ตึกอาคาร สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวทุกอย่างมันมีอุปสรรคสำหรับชาววีลแชร์มาก รวมถึงทางเท้าเป็นปัญหาใหญ่ ที่กล่าวได้ว่าเป็น “สภาพแวดล้อมที่พิการ“ การดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมพิการ ลดทอนความภูมิใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์  เมื่อหลาย 10 ปีก่อน พอเราประสบปัญหากับตัวเอง เราพบว่า การเดินทางไปไหนมาไหนช่างลำบากเหลือเกิน ขึ้นรถสาธารณะต้องมีคนยกคนแบก ขึ้นเครื่องบินต้องมีคนอุ้มขึ้น เรากลายเป็นตัวประหลาด กลายเป็นภาระของคนที่ไปด้วย […]

ทางเท้าแบบไหนถูกใจหลวงพี่ สนทนากับ พระมหาใจ เขมจิตฺโต ว่าด้วยเสียงสะท้อนจากผู้สัมผัสเมืองด้วยเท้าเปล่า

09/04/2021

เรื่อง : นรวิชญ์ นิธิปัญญา, อวิกา สุปินะ ภาพ : ชยากรณ์ กำโชค ก่อนฟ้าสว่างบนถนนจักรพงษ์ หน้าวัดชนะสงคราม เป็นเวลาและจุดนัดพบของเรากับ พระมหาใจ เขมจิตฺโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ซึ่งกรุณาให้เราเดินติดตามขณะบิณฑบาต พร้อมกับคณะภิกษุ-สามเณร ไปตามเส้นทางย่านถนนข้าวสารและตลาดบางลำพู ภาพที่เรามองเห็น คือ ภิกษุ-สามเณรทุกรูปเดินเรียงแถวอุ้มบาตรด้วยอาการสำรวม และเดินด้วยเท้าเปล่า หากจะอนุมานว่าสงฆ์คือคนเมืองที่ใกล้ชิดกับทางเท้าและเมืองมากที่สุด คงไม่ผิดนัก นี่เป็นที่มาของบนสนทนาว่าด้วยทางเท้าและเมือง และโครงการฟื้นฟูทางเท้าย่านรัตนโกสินทร์ 33 เส้นทาง กับพระมหาใจ ในฐานะ “ผู้สัมผัสเมืองด้วยเท้าเปล่า” การบิณฑบาตกับทางเดินเท้าที่เปลี่ยนไป           ตอนเช้านี่เดินลำบากมาก ทั้งพระสงฆ์ สามเณร ต้องเดินหลบร้านที่ตั้งอยู่บนทางเท้า ซึ่งเป็นร้านที่ตั้งอยู่มานานแล้ว   พระภิกษุสงฆ์ และสามเณร ต้องคอยเดินหลบสิ่งกีดขวาง หรือบางครั้งต้องเดินหลบลงถนน หนักไปกว่านั้น คือ พระอาจารย์ไม่สามารถเดินทางเท้ารอบวัดได้แล้ว เพราะว่าด้วยผังเมืองทำให้วัดชนะสงครามแทบไม่มีทางเท้า เพราะทางเท้ากลายเป็นร้านค้ามากมาย พอมีโควิด-19 ร้านค้าทยอยลดลง แต่ยังคงมีอุปกรณ์ของร้านค้าหลงเหลืออยู่ ถึงแม้จะแยกจากทางเท้าชัดเจน แต่พระก็ไม่สามารถเดินได้อยู่ดี เพราะพื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ต้องห้ามในการเดินบิณฑบาต กล่าวได้ว่า “พระห้ามเดินในพื้นที่อโคจร” […]

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม: เราต้องทำการเดินให้เป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวัน

23/03/2021

“เราต้อง normalize การเดิน ปัจจุบันการเดินกลายเป็นเรื่องพิสดาร กลายเป็นว่าต้องไม่มีรถแล้วสิถึงต้องเดิน นี่ทำให้การเดินกลายเป็นทางเลี่ยง ทั้งที่การเดินเป็นวิถีชีวิต ในชีวิตปกติเราเดินอยู่แล้ว ”   คือบทสนทนาส่วนหนึ่งของ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) สสส. ที่เราได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนพูดคุยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการเดินกับภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารคนสำคัญของ สสส. และ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องเข้าปีที่ 8 แล้ว บทสนทนาของเราและ “คุณหมอไพโรจน์” เกิดขึ้นภายหลัง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS และหัวหน้าโครงการ GoodWalk นำเสนอความคืบหน้าโครงการซึ่งปัจจุบันได้ขยายผลการดำเนินงานทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมผู้อำนวยการ UddC-CEUS ยกให้ สสส. เป็น Change Agent ที่สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการร่วมมือในโครงการเมืองจำนวนมากทั่วประเทศ การเดินมีความสำคัญอย่างไร? การเดินสร้างเมืองสุขภาวะได้อย่างไร? ทำไมถึงต้อง […]

สะพานเขียวเหนี่ยวทรัพย์: เมื่อการฟื้นฟูเมืองคือโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของเมือง

17/03/2021

ทอดยาวลอยฟ้าทาพื้นสีเขียวจากสี่แยกสารสิน ถ.วิทยุ ถึงปากซอยโรงงานยาสูบ คือ “สะพานเขียว” เชื่อมสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ ตลอดระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ขนาบด้วยบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนของชาวชุมชนร่วมฤดีและชุมชนโปโล ชุมชนเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง โครงสร้างลอยฟ้าแห่่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สัญจรด้วยการเดินเท้า เป็นสถานที่ออกกำลังกายและทางปั่นจักรยาน ล่าสุดยังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศช่วงยามเย็น แสงอาทิตย์ กลุ่มอาคารสูงใจกลางเมือง ฯลฯ หลายคนบอกว่าสะพานเขียวมี “ฟิลเตอร์ญี่ปุ่น” อย่างที่เคยเห็นในสื่อภาพยนตร์และการ์ตูน ปรากฏการณ์ “สะพานเขียวฟีเวอร์” เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 นี่เอง ย้อนไปเมื่อกลางปี 2562 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีวิชาชีพสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และจัดกระบวนการร่วมหารือกับชาวชุมชนเพื่อเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว ให้แข็งแรง ปลอดภัย ร่มรื่น เชื่อมกับชุมชนอย่างไร้รอยต่อ และทำให้สะพานเขียวสร้างโอกาสให้กับเมืองยิ่งขึ้นไปอีก หากความเปลี่ยนแปลงใดๆ นำมาซึ่ง “การปรับตัว” คงพอจะกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว จะไม่มีผลต่อชาวชุมชนเลย คงเป็นไปไม่ได้ คำถามของเราคือชาวชุมชนมีแผนการปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากอดีตในความเงียบเหงา สู่ ปัจจุบันแห่งการเปลี่ยนแปลง […]