09/01/2023
Public Realm
สภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา
นวพร เต็งประเสริฐ
เมื่อการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ภายในห้องเรียนเพียงเท่านั้น ยังแผ่ขยายออกไปในพื้นที่นอกห้องเรียน เพราะการเรียนรู้ในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
สภาพแวดล้อมเมืองเพื่อการเรียนรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบในปัจจุบัน คือ สภาพแวดล้อมเมืองในระบบการศึกษา และสภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา โดยบทความนี้จะพาทุกคนไปดูสภาพแวดล้อมของเมืองนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
สถานการณ์ของเมืองไทยเป็นอย่างไร ?
ประเทศไทยนั้น มีสถานที่ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพต่อการพัฒนาเป็น สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยอันเป็นรากฐานของการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุด ร้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ โบราณสถาน พื้นที่ นันทนาการ ตลอดจนอุทยาน ทั้งอุทยานทางธรรมชาติ และอุทยาน ประวัติศาสตร์ รวมกว่า 14,000 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 16 กิโลเมตร
สถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ชุมชน หรือเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่ที่มักตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ ด้วยปัจจัยของการเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แหล่งงาน ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนสาธารณูปการอื่น ๆ ที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาและการ เรียนรู้ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ของประเทศไทยในมิติด้านสถานศึกษาแล้ว สามารถอธิบายสถานการณ์ของสถานศึกษาแต่ละระดับได้ ดังนี้
ห้องสมุด
มีจำนวนรวมกว่า 1,500 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 12 กิโลเมตร มีค่าเฉลี่ยในระดับประเทศอยู่ที่ ประชากร 44,108 คน ต่อห้องสมุด 1 แห่ง โดยกรุงเทพมหานครเป็นเขตการปกครองที่มีจำนวน ห้องสมุดมากที่สุดจำนวน 236 แห่ง และมีอัตราส่วนจำนวนประชากรต่อ ห้องสมุดอยู่ที่ 24,094 คน ต่อห้องสมุด 1 แห่ง ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่น้อย เป็นลำดับที่ 5 ของประเทศ รองจากจังหวัดพังงา สิงห์บุรี ภูเก็ต และน่าน ตามลำดับ ในขณะที่ จังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดที่มีจำนวนห้องสมุดน้อย ที่สุดในประเทศเพียง 2 แห่ง และมีอัตราส่วนจำนวนประชากรต่อห้องสมุดมากที่สุดในประเทศ คือ ประชากร 339,400 คน ต่อห้องสมุด 1 แห่ง
ร้านหนังสือ
มีจำนวนรวมกว่า 6,800 แห่ง สามารถเข้า ถึงได้ในระยะเฉลี่ย 15 กิโลเมตร มีค่าเฉลี่ยในระดับประเทศอยู่ที่ ประชากร 32,597 คน ต่อร้าน หนังสือ 1 แห่ง โดยกรุงเทพมหานครเป็นเขตการปกครองที่มีจำนวนร้าน หนังสือมากที่สุดจำนวน 2,413 แห่ง และมีอัตราส่วนจำนวนประชากรต่อ ร้านหนังสือน้อยที่สุดในประเทศ ด้วยจำนวนประชากร 2,357 คน ต่อร้าน หนังสือ 1 แห่ง ในขณะที่จังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนจำนวน ประชากรต่อร้านหนังสือมากที่สุดในประเทศ คือ ประชากร 678,838 คนต่อร้านหนังสือ 1 แห่ง
พิพิธภัณฑ์
มีจำนวนรวมกว่า 700 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 26 กิโลเมตร มีค่าเฉลี่ยในระดับประเทศอยู่ที่ ประชากร 183,325 คน ต่อพิพิธภัณฑ์ 1 แห่ง โดยสุโขทัยเป็นจังหวัดที่มีจำนวนพิพิธภัณฑ์มากที่สุดจำนวน 108 แห่ง และมีอัตราส่วนจำนวนประชากรต่อพิพิธภัณฑ์น้อยที่สุดในประเทศ ที่จำนวนประชากร 5,581 คน ต่อพิพิธภัณฑ์ 1 แห่ง
แหล่งเรียนรู้ โบราณสถาน และอุทยาน
มีจำนวนรวมกว่า 1,800 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 14 กิโลเมตร มีค่าเฉลี่ยในระดับประเทศอยู่ที่ประชากร 65,083 คนต่อโบราณสถานและอุทยาน 1 แห่ง โดยสุโขทัยเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วน จำนวนประชากรต่อโบราณสถานและอุทยานน้อยที่สุดในประเทศอยู่ที่ประชากร 4,746 คน ต่อโบราณสถานและอุทยาน 1 แห่ง อีกทั้งยังมีจำนวนโบราณสถานและอุทยานรวมกันมากถึง 127 แห่ง ซึ่งมากเป็น อันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดเชียงรายซึ่งมีจำนวนโบราณสถาน และอุทยานรวมกัน 169 แห่ง ในขณะที่ จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดที่มี อัตราส่วนจำนวนประชากรต่อโบราณสถานและอุทยานมากที่สุดในประเทศอยู่ที่ ประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ต่อโบราณสถานและอุทยาน 1 แห่ง
พื้นที่นันทนาการ
มีจำนวนรวมกว่า 3,200 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 12 กิโลเมตร มีค่าเฉลี่ยในระดับประเทศอยู่ที่ ประชากร 28,372 คน ต่อพื้นที่ นันทนาการ 1 แห่ง โดยภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนจำนวนประชากร ต่อพื้นที่นันทนาการน้อยที่สุดในประเทศอยู่ที่ คือ ประชากร 6,719 คน ต่อพื้นที่นันทนาการ 1 แห่ง รองลงมา คือ กรุงเทพมหานคร ที่อัตราส่วน ประชากร 10,339 คน ต่อพื้นที่นันทนาการ 1 แห่ง และยังเป็นเขตการ ปกครองที่มีจำนวนพื้นที่นันทนาการมากที่สุดในประเทศ คือ 550 แห่ง ในขณะที่ ปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนจำนวนประชากรต่อพื้นที่นันทนาการมากที่สุดในประเทศ คือ ประชากร 226,330 คน ต่อพื้นที่นันทนาการ 1 แห่ง
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเมืองไทยนั้นยังมีการกระจายตัวในแต่ละเมืองไม่มากนัก ทำให้ในหลาย ๆ จังหวัดยังขาดพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่จะส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน เช่น ห้องสมุดในจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดที่มีจำนวนห้องสมุดน้อย ที่สุดในประเทศเพียง 2 แห่ง หรือจังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดที่มี อัตราส่วนจำนวนประชากรต่อโบราณสถานและอุทยานมากที่สุดในประเทศอยู่ที่ ประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ต่อโบราณสถานและอุทยาน 1 แห่ง เป็นต้น หากเราสามารถขยายขอบเขตและเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาอาจมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดเมืองแห่งการเรียนรู้ได้จริง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ในการสนับสนุบของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)