ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน

03/02/2023

หลายๆ คนคงรู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน กันอยู่แล้ว ในฐานะย่านที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาอย่างยาวนาน วันนี้ The Urbanis จะพาทุกคนไปรู้จักย่านนี้ให้มากขึ้นผ่านมุมมองการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้ จากเหล่าผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนพื้นที่ริมน้ำที่เป็นย่านที่มีศักยภาพและรายล้อมไปด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่สามารถมีองค์ความรู้ชุมชนเป็นของตนเอง จากการศึกษาของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง พบว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน มีสาธารณูปโภคเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ครอบคลุมพื้นที่มากถึงประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ย่าน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่: รู้จักเมือง รู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน) สะท้อนให้เห็นถึง ศักยภาพของย่านกะดีจีน-คลองสาน ในการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ จากการมีแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาของเมือง มากไปกว่านั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้เองก็นำองค์ความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดและพัฒนาศักยภาพของตนเอง พร้อมกับนำความรู้มาพัฒนาชุมชน ก่อนอื่นขอแนะนำ 3 ผู้นำชุมชนและ 1 ลูกบ้าน ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน ผ่านองค์ความรู้และการประสานงานความร่วมมือ คุณปิ่น หรือ ปิ่นทอง วงษ์สกุล ประธานชุมชนกุฎีจีน ที่ทำหน้าที่นี้มากว่าเกือบ 10 ปี พี่ปิ่นเล่าว่าบทบาทหลักๆ ที่ตนรับผิดชอบคือคอยสอดส่องดูแลและแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับคนในชุมชน รวมถึงคอยประสานงานกับลูกบ้าน ภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนที่เข้ามาในพื้นที่ด้วยเช่นกัน “การทำงานทุกขั้นตอนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือหรือจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะในสิทธิที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน”  เช่นเดียวกับ เฮียเซี๊ยะ สัมฤทธิ์ เอื้อโชติ ประธานชุมชนสวนสมเด็จย่า ที่บอกเปรียบตนเองเสมือนเป็นสื่อกลางในการพัฒนา เพราะต้องคอยทำหน้าที่ประสานทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน และเฮียล้าน วรชัย วิลาสรมณ์ ประธานชุมชนวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ที่มองบทบาทตนเองในฐานะประธานชุมชนไว้ว่า […]

รู้จักเมือง รู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน

19/01/2023

ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีสมัยกรุงธนบุรี ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และการทำการค้าของผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สู่ย่านที่มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งวิถีชีวิต พื้นที่ และกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น แหล่งที่พักอาศัย ชุมชนดั้งเดิม แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่อุดมไปด้วยมรดกวัฒนธรรม ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ (Tangible and Intangible Cultural Heritage) รวมไปถึงมีการใช้งานเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษามากมาย เรียกได้ว่า มีศักยภาพในการเปิดเป็นย่านที่ส่งเสริมให้เข้ามาเรียนรู้ของเมือง เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในการพัฒนาเป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม จากสินทรัพย์ทางมรดกวัฒนธรรมดั้งเดิมกว่า 121 รายการ วันนี้ The Urbanis จะพาผู้อ่านทุกท่านมาส่องข้อมูลการวิเคราะห์ในย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ เพื่อทำความเข้าใจและค้นพบศักยภาพของย่านที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน เศรษฐกิจในย่าน เศรษฐกิจภายในย่านกะดีจีน-คลองสาน มีการกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณถนนใหญ่ เช่น ถนนอิสรภาพ และบริเวณท่าดินแดง ที่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากไปยังฝั่งพระนคร โดยเศรษฐกิจภายในย่านส่วนใหญ่จะเป็น ธุรกิจขนาดเล็กที่ตอบสนองความต้องการของคนในย่านเป็นหลัก ยังไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมถึงยังไม่ดึงดูดให้คน ภายนอกเข้ามาจับจ่ายใช้สอย พื้นที่สีเขียวในย่าน  จากข้อมูลพบว่าพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากรในย่านเท่ากับ 3.3 ตารางเมตร/คน ซึ่งต่ํากว่ามาตราฐานองค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า ค่าเฉลี่ยอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจํานวนประชากรควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคนหรือมากกว่า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานได้จริงอย่าง […]

สภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา

09/01/2023

เมื่อการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ภายในห้องเรียนเพียงเท่านั้น ยังแผ่ขยายออกไปในพื้นที่นอกห้องเรียน เพราะการเรียนรู้ในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา สภาพแวดล้อมเมืองเพื่อการเรียนรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบในปัจจุบัน คือ สภาพแวดล้อมเมืองในระบบการศึกษา และสภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา โดยบทความนี้จะพาทุกคนไปดูสภาพแวดล้อมของเมืองนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง สถานการณ์ของเมืองไทยเป็นอย่างไร ?  ประเทศไทยนั้น มีสถานที่ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพต่อการพัฒนาเป็น สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยอันเป็นรากฐานของการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุด ร้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ โบราณสถาน พื้นที่ นันทนาการ ตลอดจนอุทยาน ทั้งอุทยานทางธรรมชาติ และอุทยาน ประวัติศาสตร์ รวมกว่า 14,000 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 16 กิโลเมตร สถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ชุมชน หรือเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่ที่มักตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ ด้วยปัจจัยของการเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แหล่งงาน ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนสาธารณูปการอื่น […]

สภาพแวดล้อมเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้

02/12/2022

“การเรียนรู้ในอนาคตจะไม่ได้สิ้นสุดแค่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้ผ่านการสร้างปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยน” สะท้อนให้เห็นสถานที่นอกห้องเรียนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สถานที่นอกห้องเรียนสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบและเรียนรู้สิ่งที่สนใจและตัวตนของผู้เรียนได้อีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ สภาพแวดล้อมด้านกายภาพของเมืองแบบใดกันที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ สภาพแวดล้อมเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำคัญไฉน การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner 1961) ที่กล่าวถึงความรู้นั้น ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดย ประสบการณ์ โดยผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบใน การเรียน เป็นผู้สร้างความหมายขึ้นจากแง่มุมต่าง ๆ ผู้เรียนควรอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่เป็นจริง สามารถเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง จะสะท้อนให้เห็นกระบวนการเรียนรู้มักสอดคล้องกันระหว่างประสบการณ์ กับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มีส่วนช่วยให้เกิดสภาวะการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายท่านได้ให้ความหมายกับคำว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไว้หลายอย่าง ทั้งเป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่มีผลต่อตัวผู้เรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ สภาพแวดล้อมการเรียน คือ สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียนทั้งสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อาคาร ห้องเรียน บรรยากาศ หรือแม้กระทั่งเมืองเอง ที่เป็นกายภาพสำคัญที่มีผลต่อตัวผู้เรียนโดยตรง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นปัจจัยและยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ในแนวคิดภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) ทำให้เกิดการตระหนักว่าการเรียนรู้มิได้ถูก จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่การเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่ สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพมีผลต่อประสบการณ์ของผู้เรียน ดังนั้น การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพจึงมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ กระบวนทัศน์การเรียนรู้  องค์ประกอบของเมืองน่าอยู่ที่สนับสนุนการเรียนรู้ พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เป็นมิตรต่อการเดินเท้า […]

ห้องสมุด: หนึ่งในพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเมือง

04/03/2022

“โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว เราไม่สามารถหยุดเรียนรู้ เพื่อให้เราก้าวออกไปกับโลกสมัยใหม่ได้ เพราะฉะนั้น ความรู้ในระบบการศึกษาและสถานศึกษาอาจไม่เพียงพออีกต่อไป”  ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวไว้ใน กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา เมื่อการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การศึกษา แต่ยังมีความหมายและมุมมองที่มากไปกว่านั้น วันนี้ The Urbanis จะพามาดูว่า การเรียนรู้คืออะไร สำคัญไฉนกับพวกเราทุกคน และพื้นที่แบบไหนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งพาไปดูห้องสมุดที่เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นอย่างไรบ้าง การเรียนรู้คืออะไร มีคนให้คำนิยามเกี่ยวกับการเรียนรู้ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การบอกว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นองค์รวม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในผ่านกระบวนการรู้คิด และจากภายนอก ผ่านชุดประสบการณ์การเรียนรู้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้   บ้างก็กล่าวว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการของการได้รับใหม่หรือการปรับเปลี่ยนที่มีอยู่ความรู้ พฤติกรรม ทักษะค่านิยม หรือความพึงพอใจ การเรียนรู้บางอย่างเกิดขึ้นในทันทีโดยเหตุการณ์เดียวแต่ทักษะและความรู้จำนวนมากสะสมจากประสบการณ์ซ้ำ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้มักจะมีอายุการใช้งานยาวนานและเป็นการยากที่จะแยกแยะเนื้อหาที่เรียนรู้  หรือบางคนก็นิยามว่าเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์และเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนอาจเกิดขึ้นในระดับความรู้ เจตคติ หรือพฤติกรรม และผลจากการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีมุมมอง […]

“ใครเคลื่อนเมือง?” เมกะโปรเจกต์กับบทบาทกำหนดทิศทางเมือง

11/02/2022

หลายคนคงอาจเคยได้ยินคำว่า “คนสร้างเมือง แล้วต่อไปเมืองจะสร้างคน” ของญาน เกห์ล แล้วเคยคิดหรือไม่ว่าถ้าเมืองมีส่วนในการสร้างคน แล้วคนสามารถสร้างและกำหนดทิศทางของเมืองได้จริงหรือ? มาทำความรู้จักกับโครงการเมกะโปรเจกต์ ในฐานะบทบาทสำคัญที่เปลี่ยนทิศทางของเมือง มันมีความสำคัญไม่เพียงแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมภายในเมืองอีกด้วย ลักษณะของเมกะโปรเจกต์ คือ การลงทุนขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน ใช้เงินลงทุนหลายพันล้าน และมีความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ในกรุงเทพฯ เองนั้น จะมีทั้งที่เป็นโครงการของภาครัฐ เช่น สถานีกลางบางซื่อ สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี คลองโอ่งอ่าง โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม หรือโครงการของภาคเอกชน เช่น ไอคอนสยาม สิงห์ คอมเพล็กซ์ สินธร วิลเลจ วิสซ์ดอม 101 เดอะ ฟอเรสเทียส์ วัน แบ็งค็อก ตึกมหานคร เป็นต้น หากยังนึกภาพไม่ออกว่าเมกะโปรเจกต์เหล่านี้มันกำหนดทิศทางของเมืองได้อย่างไร เราจะพาไปดูตัวอย่างของต่างประเทศกัน ตัวอย่างจากต่างประเทศ สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (Hong Kong – Zhuhai – Macao Bridge) เป็นโครงการสร้างสะพานและอุโมงค์ในบริเวณ Greater Bay […]