พื้นที่สีเขียว



บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” กับ “คุณปรีชญา นวราช” P-NUR URBAN ARCHITECT

08/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนท่าน้ำสรรพาวุธ สวนท่าน้ำสรรพาวุธนี้ เป็นที่ดินของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีขนาดประมาณ 52 ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือวัดบางนานอก แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดเล็กแต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ในอนาคตจะมีพร้อมทั้ง รถ ราง และเรือ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ควรบูรณาการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่กิจกรรมของชุมชนอย่างตลาดและร้านค้าแผงลอย รวมถึงการขยายตัวของรถไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึงพื้นที่ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ความท้าทายของการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธ ท่าน้ำสรรพาวุธเป็นสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาใช้งานอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร พื้นที่นี้จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก หากแต่การออกแบบพื้นที่นี้ยังมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งานพื้นที่ เนื่องด้วยท่าน้ำสรรพาวุธเป็นประตูสู่บางกระเจ้า ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของนักท่องเที่ยวตลอดเวลา อีกทั้งมีพื้นที่ราชการและพื้นที่โรงงานทำให้ตั้งแต่ต้นทางจนไปถึงกลางทางเต็มไปด้วยรถบรรทุกที่สัญจรผ่านกัน ส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าเข้ามาใช้งานพื้นที่ ทั้งจากความอันตรายของรถบรรทุก รวมถึงการกลายเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นควันและมลพิษ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่สวนแห่งนี้จึงควรคำนึกถึงการสร้างความปลอดภัยให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น (2) การออกแบบที่ต้องมีความยืดหยุ่น จากการทำกระบวนการการมีส่วนร่วม พบว่าพื้นที่แห่งนี้เชื่อมต่อกับชุมชนและหน่วยงานราชการ อีกทั้งมีมรดกวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของถนนสรรพาวุธ ทั้งจากชุมชนวัดบางนานอก ตลาดเก่าของชุมชน และเป็นพื้นที่ศาสนสถานที่ผู้คนเข้ามากราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงความเห็นของคนในย่านที่อยากให้มีพื้นที่จัดงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น งานตลาด งานดนตรี และพื้นที่สวนสาธารณะ การออกแบบพื้นที่แห่งนี้จึงต้องมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธในครั้งนี้ การพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” ท่าน้ำ 3 […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรวชิรธรรมสาธิต 35 “สวนเกษตร 15 นาที พื้นที่สีเขียวกินได้” แห่งย่านพระโขนง-บางนา

07/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนวชิรธรรมสาธิต 35 พื้นที่ขนาด 14 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยวชิรธรรมสาธิต 35 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบพื้นที่จากคุณนวลปรางค์ แสนสุข และครอบครัว เพื่อให้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับชุมชน ระยะเวลารวม 8 ปี ภายใต้นโยบาย Green Bangkok 2030 ตั้งแต่ปี 2563 กำลังจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวให้ย่านพระโขนง-บางนา และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย ในรูปแบบจตุรภาคี (4Ps) “โจทย์” สำคัญของการออกแบบ UDDC RAFA และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพื้นที่ทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการ พื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน ตลอดจนการผสานการออกแบบสวนสาธารณะร่วมกับแนวคิดการทำเกษตรในเมือง จึงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่ และความปลอดภัย รวมถึงระบบระบายน้ำ พร้อมทั้ง 3 โจทย์สำคัญสำหรับการออกแบบสวนวชิรธรรมสาธิต 35 ดังนี้  (1) พื้นที่สวนล้อมด้วยชุมชน แม้ว่าตำแหน่งของพื้นที่สวนนี้อยู่ในซอยวชิรธรรมสาธิต 35 […]

คุยเรื่องการออกแบบสวนเพลินพระโขนง กับ คุณสมเกียรติ โชควิจิตรกุล ภูมิสถาปนิก จาก LANDSCAPE COLLABORATION

19/07/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนเพลินพระโขนง พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ริมถนนสุขุมวิท ขนาด 2 ไร่ ใกล้สถานี BTS บางจากเพียง 180 เมตร ที่รอการพัฒนา กำลังจะมีการปรับปรุงให้กลายเป็น “สวนเพลินพระโขนง” พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวของเขตพระโขนง ยกระดับคุณภาพชีวิต และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน กว่าจะมาเป็นเพลินพระโขนง ชาวย่านและสำนักงานเขตพระโขนงได้พยายามขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ว่างนี้ให้กลายเป็นลานกีฬาและสวนสาธารณะกว่า 15 ปีที่ผ่านมา จนปลายปี 2565 ทางกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ ขณะนี้ UDDC ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพระโขนง ทีมภูมิสถาปนิกจาก LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมร่วมกับชาวพระโขนง-บางนา เพื่อออกแบบให้พื้นที่นี้สอดคล้องกับความต้องการของชาวย่านพระโขนง-บางนา และชาวเมืองที่สัญจรผ่าน “โจทย์” สำคัญของการออกแบบสวนเพลินพระโขนง UDDC x LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพัฒนาให้พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการพื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยให้คำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัย การปรับปรุงระบบระบายน้ำ และป้องกันมลภาวะ ฝุ่นควันจากท้องถนนเป็นหลัก พร้อมทั้ง 2 ความท้าทายสำคัญสำหรับการออกแบบสวนเพลินพระโขนง ดังนี้  (1) […]

Biodivers(C)ity เมืองมีส่วนส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

17/11/2021

รายงานการประเมินทั่วโลก (Global Assessment Report) ปี 2019 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) สัตว์และพืชประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รายงานนี้พบว่าระบบนิเวศที่เราพึ่งพาอาศัยอยู่นั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในระดับโลก แล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อเราอย่างไรบ้าง แล้วการออกแบบและวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น ความเป็นเมืองส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษสู่อากาศและแหล่งน้ำ ฯลฯ และหลายๆ สาเหตุนั้นเกิดขึ้นใน กระบวนการความเป็นเมือง ที่เรามักคุ้นเคยกับการออกแบบเมืองของเราด้วยถนนลาดยางและอาคารขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันต่อผลกระทบต่อความยืดหยุ่น (resilient) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การกำจัดต้นไม้และพืชพรรณต่างๆ และการใช้วัสดุกันซึมในเขตเมืองทำให้การทำงานของระบบนิเวศตามปกติบกพร่อง เช่น การหมุนเวียนของคาร์บอน น้ำ และสารอาหารที่สำคัญ การขาดพืชพรรณทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษ คลื่นความร้อน โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค (vector-borne diseases) และผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  นอกจากนี้ยังส่งผลการมีสุขภาพทางกายและจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองอีกด้วย สภาพแวดล้อมในเมืองอาจมีเสียงดังและคุณภาพอากาศต่ำ จากการจราจรหนาแน่นและประชากรหนาแน่น การมีนิเวศบริการและธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียงที่มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้ ถ้าเมืองเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ […]

มาแล้วลูกจ๋า “พื้นที่สีเขียว” ที่หนูอยากได้

04/11/2021

เรื่อง/วิเคราะห์ข้อมูล/แมพวิชวล โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ หากนี่คือเกมที่ว่าด้วยการจัดสรรและการกระจายสวนสาธารณะให้กับเมือง ในเมื่อเมืองเรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องสวนสาธารณะ และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองกำลังต้องการพื้นที่สาธารณะเพิ่ม เราในฐานะนักวางแผน/นักวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยในการจัดการสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี หากเมืองของเราจะมีการพัฒนา หรือฟื้นฟูพื้นที่สวนสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนที่อยู่ในเมือง แต่คำถามสำคัญมากกว่านั้น หากเราเป็นนักวางผังหรือความจริงเป็นคำถามที่ใครก็สามารถตั้งคำถามได้ ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา ทั้งที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์หรือเป็นประชาชนชั้น 2 (ประชากรแฝง) ที่เข้ามาทำงาน มาเรียนอยู่ในมหานครแห่งนี้ ว่า “สวนสาธารณะ” นั้นเป็นสิ่งที่เราควรได้รับการให้บริการจากเมืองหรือไม่ หากคำตอบคือ ใช่ คำถามถัดมาที่เราควรถามหรือมีในใจ คือ ควรจะมีที่ไหน มีให้เท่าไหร่ และมีอย่างไร?  คำถามว่าด้วยความเหลื่อมล้ำและหลุมพรางของเรื่องที่ดี มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คงเป็นศตวรรษของกรุงเทพฯ สีเขียวจริงๆ แต่หลุมพรางที่ตามมาของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะ ที่ดูเหมือนว่าจะทำอย่างไรมันก็ดูเป็นเรื่องดีไปหมดนี้ ทำให้เกิดคำถามฉุดขึ้นในใจว่า หากเมืองจะมีนโยบายที่เด็ดเดี่ยวและตั้งใจเช่นนี้ คำถามของผมในฐานะนักผังเมืองที่เป็นประชากรแฝงคนหนึ่ง ก็คือ การตัดสินใจในการสร้างหรือพัฒนาโครงการเหล่านี้ หากพิจารณาตามหลักพื้นฐานของการวางผังหรือแผนของเมือง ซึ่งว่าด้วยศาสตร์ของการออกแบบและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พื้นที่เหล่านี้มันควรมีการกระจายตัวหรือมีการจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น “หลุมพรางของเรื่องที่ดี” และจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากสมมุติว่าเราสามารถเลือกหรือมีโอกาสได้เลือก เราจะจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร ในเมื่องบประมาณในเรื่องนี้มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคงมีเรื่อง หรือปัญหาทุกข์ร้อนในเมืองอีกมากโข ที่เมืองจะต้องเร่งแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน […]

คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิก: มดงานที่เติบพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองคอนกรีต

24/09/2020

ต้นไม้ใบหญ้า พื้นที่สาธารณะดีๆ ที่คนเมืองสามารถใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นความปรารถนาของคนหลายคน แต่ในเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่คล้ายจะกลายเป็นเมืองคอนกรีตเข้าไปทุกที่ คนเล็กๆ คนหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลง เติมสีเขียวได้อย่างไร ชวนหาคำตอบผ่านชีวิตคุณอรรถพร คบคงสันติไปพร้อมกัน! เริ่มต้นร่ำเรียนวิชาสถาปัตย์ฯ คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิกและผู้บริหารบริษัท T.R.O.P ผู้มีผลงานโดดเด่นคนหนึ่งของประเทศไทย บอกเล่าประสบการณ์และเส้นทางการทำงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยจุดเริ่มต้นของการร่ำเรียนสู่การเป็นสถาปนิกของเขาเกิดขึ้นที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Harvard Graduate School of Design ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้ชีวิตร่ำเรียนในช่วงปริญญาโท และการทำงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล โดยเขาได้เรียนรู้ผ่านภูมิสถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ได้แก่ George Hargreaves ภูมิสถาปนิกที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่อายุเพียง 29 ปี โดดเด่นในการทำงานพื้นที่สาธารณะ และ Bill Bensley สถาปนิกผู้เก่งกาจในการออกแบบโรงแรมที่พักสุดหรู การได้สังเกตการณ์ทำงานจากคนระดับโลกและได้ทำงานที่มีความท้าทายมากมายทำให้ไม่กี่ปีต่อมา เขาเลือกที่จะกลับเมืองไทยและเปิดบริษัทเป็นของตัวเองในชื่อ T.R.O.P อันเป็นการผสมผสานของสองอย่างในการสร้างพื้นที่สีเขียว ได้แก่ ดิน (Terrains) และพื้นที่ว่าง (Open space) […]