“6 ไอเดียจากประชาชน” ในการออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ

15/02/2024

ในวันนี้ The Urbanis จะพาชาวเมืองทุกท่านดู 6 ไอเดียที่ได้รับรางวัล จากกิจกรรมประกวดไอเดียออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสำนักการโยธา กทม. ร่วมกับ UDDC-CEUS สสส. และภาคีในเครือข่าย กิจกรรมในครั้งนี้เปิดรับสมัคร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สมาชิกไม่เกิน 3 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทการประกวด ประกอบด้วย ประเภท A นักเรียน นักศึกษาทุกสาขา (อายุไม่เกิน 25 ปี) และ ประเภท B บุคคลทั่วไป ในทุกสาขาวิชาชีพ จากผู้สมัครเข้ามากว่า 50 ทีมทั่วประเทศ สู่ 10 ทีมสุดท้าย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในหลายศาสตร์สาขา ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง และภูมิศาสตร์ มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินผลงาน ประกอบด้วย – รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน– […]

6 เหตุผล ที่ทำไมราชวิถีควรมี SKYWALK

30/01/2024

ย่านโยธี-ราชวิถี เป็นพื้นที่ศักยภาพในการเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์ของเมือง จากการมีโรงพยาบาล สถาบัน และหน่วยงานการแพทย์ในย่านกว่า 12 หน่วยงาน พร้อมทั้งมีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีปัญหาเรื่องการสัญจร โดยเฉพาะเรื่องการเดินเท้า เนื่องด้วยทางเท้าที่ยังไม่ได้มาตราฐาน และไม่เอื้อต่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม แล้วทำไมแค่ปรับปรุงทางเท้าถึงไม่เพียงพอ? ทำไมย่านนี้จำเป็นต้องมีทางเดินยกระดับ? ในวันนี้ The Urbanis จะมาบอกทุกท่านถึงเหตุผล 6 ข้อ ที่ทำไมราชวิถีควรมี Skywalk 1. คนเดินเยอะ ทางเท้าแคบ แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มได้ แม้ทางเท้าราชวิถีในบางช่วงจะมีความกว้าง 3-3.5 เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้ใช้งานกว่า 120,000 คนต่อวัน สำคัญคือทางเท้าเส้นนี้ยังมีความกว้างที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะทางเท้าหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎ และมูลนิธิคนตาบอดที่มีความกว้างน้อยกว่า 1.5 เมตร ทั้งยังมีต้นไม้อยู่บนทางเท้าในหลายช่วง ถือเป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้าของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย และผู้พิการทางสายตา ทั้งนี้ทางเท้าราชวิถีกลับไม่สามารถขยายเพิ่มได้ เนื่องจากถนนราชวิถีเป็นหนึ่งในถนนของเมืองที่มีค่าดัชนีรถติดมากในแต่ละวัน ความสามารถในการรองรับปริมาณรถของถนนเส้นนี้จึงถึงขีดจำกัด การขยายทางเท้าจะทำให้พื้นที่ถนนลดลงจนส่งผลให้มีรถติดมากขึ้น Skywalk จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินเท้าที่ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวถนนราชวิถีน้อยที่สุด 2. รองรับผู้ใช้งานที่จะเข้ามาในย่านมากขึ้น จากโครงการพัฒนาในอนาคต จากข้อมูลของหน่วยงานในพื้นที่ ถนนราชวิถีมีจํานวนผู้ใช้งานริม 2 ฝั่งถนน ประมาณ […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” กับ “คุณปรีชญา นวราช” P-NUR URBAN ARCHITECT

08/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนท่าน้ำสรรพาวุธ สวนท่าน้ำสรรพาวุธนี้ เป็นที่ดินของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีขนาดประมาณ 52 ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือวัดบางนานอก แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดเล็กแต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ในอนาคตจะมีพร้อมทั้ง รถ ราง และเรือ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ควรบูรณาการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่กิจกรรมของชุมชนอย่างตลาดและร้านค้าแผงลอย รวมถึงการขยายตัวของรถไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึงพื้นที่ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ความท้าทายของการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธ ท่าน้ำสรรพาวุธเป็นสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาใช้งานอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร พื้นที่นี้จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก หากแต่การออกแบบพื้นที่นี้ยังมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งานพื้นที่ เนื่องด้วยท่าน้ำสรรพาวุธเป็นประตูสู่บางกระเจ้า ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของนักท่องเที่ยวตลอดเวลา อีกทั้งมีพื้นที่ราชการและพื้นที่โรงงานทำให้ตั้งแต่ต้นทางจนไปถึงกลางทางเต็มไปด้วยรถบรรทุกที่สัญจรผ่านกัน ส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าเข้ามาใช้งานพื้นที่ ทั้งจากความอันตรายของรถบรรทุก รวมถึงการกลายเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นควันและมลพิษ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่สวนแห่งนี้จึงควรคำนึกถึงการสร้างความปลอดภัยให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น (2) การออกแบบที่ต้องมีความยืดหยุ่น จากการทำกระบวนการการมีส่วนร่วม พบว่าพื้นที่แห่งนี้เชื่อมต่อกับชุมชนและหน่วยงานราชการ อีกทั้งมีมรดกวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของถนนสรรพาวุธ ทั้งจากชุมชนวัดบางนานอก ตลาดเก่าของชุมชน และเป็นพื้นที่ศาสนสถานที่ผู้คนเข้ามากราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงความเห็นของคนในย่านที่อยากให้มีพื้นที่จัดงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น งานตลาด งานดนตรี และพื้นที่สวนสาธารณะ การออกแบบพื้นที่แห่งนี้จึงต้องมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธในครั้งนี้ การพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” ท่าน้ำ 3 […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรวชิรธรรมสาธิต 35 “สวนเกษตร 15 นาที พื้นที่สีเขียวกินได้” แห่งย่านพระโขนง-บางนา

07/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนวชิรธรรมสาธิต 35 พื้นที่ขนาด 14 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยวชิรธรรมสาธิต 35 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบพื้นที่จากคุณนวลปรางค์ แสนสุข และครอบครัว เพื่อให้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับชุมชน ระยะเวลารวม 8 ปี ภายใต้นโยบาย Green Bangkok 2030 ตั้งแต่ปี 2563 กำลังจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวให้ย่านพระโขนง-บางนา และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย ในรูปแบบจตุรภาคี (4Ps) “โจทย์” สำคัญของการออกแบบ UDDC RAFA และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพื้นที่ทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการ พื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน ตลอดจนการผสานการออกแบบสวนสาธารณะร่วมกับแนวคิดการทำเกษตรในเมือง จึงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่ และความปลอดภัย รวมถึงระบบระบายน้ำ พร้อมทั้ง 3 โจทย์สำคัญสำหรับการออกแบบสวนวชิรธรรมสาธิต 35 ดังนี้  (1) พื้นที่สวนล้อมด้วยชุมชน แม้ว่าตำแหน่งของพื้นที่สวนนี้อยู่ในซอยวชิรธรรมสาธิต 35 […]

คุยเรื่องการออกแบบสวนเพลินพระโขนง กับ คุณสมเกียรติ โชควิจิตรกุล ภูมิสถาปนิก จาก LANDSCAPE COLLABORATION

19/07/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนเพลินพระโขนง พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ริมถนนสุขุมวิท ขนาด 2 ไร่ ใกล้สถานี BTS บางจากเพียง 180 เมตร ที่รอการพัฒนา กำลังจะมีการปรับปรุงให้กลายเป็น “สวนเพลินพระโขนง” พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวของเขตพระโขนง ยกระดับคุณภาพชีวิต และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน กว่าจะมาเป็นเพลินพระโขนง ชาวย่านและสำนักงานเขตพระโขนงได้พยายามขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ว่างนี้ให้กลายเป็นลานกีฬาและสวนสาธารณะกว่า 15 ปีที่ผ่านมา จนปลายปี 2565 ทางกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ ขณะนี้ UDDC ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพระโขนง ทีมภูมิสถาปนิกจาก LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมร่วมกับชาวพระโขนง-บางนา เพื่อออกแบบให้พื้นที่นี้สอดคล้องกับความต้องการของชาวย่านพระโขนง-บางนา และชาวเมืองที่สัญจรผ่าน “โจทย์” สำคัญของการออกแบบสวนเพลินพระโขนง UDDC x LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพัฒนาให้พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการพื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยให้คำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัย การปรับปรุงระบบระบายน้ำ และป้องกันมลภาวะ ฝุ่นควันจากท้องถนนเป็นหลัก พร้อมทั้ง 2 ความท้าทายสำคัญสำหรับการออกแบบสวนเพลินพระโขนง ดังนี้  (1) […]