There is no planet B : สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นแค่ตอนนี้หรือตลอดไป?

13/08/2020

เต่ามะเฟืองขึ้นที่ขึ้นมาวางไข่ที่ภูเก็ตและพังงา คุณภาพที่อากาศที่ดีขึ้น การปล่อยก๊าซพิษที่ลดลงของโรงงานอุตสาหกรรม… สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เราคิดว่า การอุบัติของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดรุนแรงทั่วโลกนั้น มีส่วน ‘สร้างประโยชน์’ ให้กับสิ่งแวดล้อม จริงหรือ…? ย้อนกลับไปช่วงก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ อาจเพราะเราเริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมชัดเจนขึ้น ทั้งไฟป่า, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, น้ำแข็งละลาย, อากาศเป็นพิษ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวโลกเริ่มตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างประเทศไทยเองก็ ‘พยายาม’ ขับเคลื่อนด้วยการออกนโยบายไม่แจกถุงพลาสติกทั่วประเทศเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยติด 1 ใน 5 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก โดยกว่ามีขยะพลาสติกในทะเลกว่า 8 ล้านตัน ในช่วงหลังๆ เราจะเห็นหลายคนเริ่มพกขวดน้ำ แก้ว หลอด กล่องข้าว ถุงผ้าไปไหนมาไหน เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ที่มักมาในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารและเครื่องดื่ม แต่ไม่ทันไรเมื่อโควิด-19 แทรกแซงเข้ามาในสังคมโลก ผู้คนจึงต้องเบนเข็มไปโฟกัสที่เรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพก่อนเป็นอันดับแรก ขยะที่มาพร้อมกับการล็อกดาวน์ การล็อกดาวน์ของหลายเมืองใหญ่ในโลกทำให้การใช้ชีวิตที่เคยปกติของมนุษย์หยุดชะงัก โรงเรียนปิด การทำงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็น Work From Home […]

เพราะแฟชั่นสัมพันธ์กับเมือง : คุยกับ ‘อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี’ ถึงมิติหลากหลายของเมืองและแฟชั่นที่ยั่งยืน

06/08/2020

เสื้อผ้าคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์เราขาดไม่ได้ และสำหรับบางคนเสื้อผ้าไม่ใช่แค่เพียงเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงออกซึ่งตัวตน เอกลักษณ์บางอย่าง รวมถึงจุดยืนทางสังคมและการเมือง ดังนั้น ‘แฟชั่น’ จึงเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวพวกเราทุกคน ซึ่งไม่ต่างอะไรจาก ‘ความเป็นเมือง’ เลย เพราะมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กับเมืองตลอดเวลา ความสัมพันธ์ของ ‘คน’ ‘แฟชั่น’ และ ‘เมือง’ จึงเกี่ยวโยงกันไปโดยปริยาย หลายครั้งที่เมืองและแฟชั่นส่งผลซึ่งและกัน และกระทบไปยังผู้คน โดยที่เราอาจจะรู้สึกหรือไม่รู้สึก เราจึงชวน ‘อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี’ ที่ปัจจุบันทำงานร่วมกับกลุ่ม “Fashion Revolution Thailand” ซึ่งเป็นเครือข่ายเคลื่อนไหวเพื่อแฟชั่นที่เป็นธรรมและยั่งยืน ซึ่งมีมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก มาพูดคุยถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ‘เมือง’ กับ ‘แฟชั่น’ และด้วยความที่อุ้งทำงานเกี่ยวกับแฟชั่นยั่งยืน หรือ Sustainable Fashion เราจึงถือโอกาสพูดคุยเรื่องนี้ไปด้วย เพราะอีกเทรนด์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Mega Trend ที่ส่งผลไปยังทุกบริบทของสังคมโลกคือเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืนนั่นเอง คนเมืองต่างหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และแน่นอนว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเองด้วยเช่นกัน เมื่อได้ยินคำว่า Sustainable Fashion สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่ (รวมถึงตัวเราเองด้วย) มักจะนึกถึงคือเรื่อง ‘การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม’ แต่อุ้งบอกกับเราว่าจริงๆ แล้ว ความยั่งยืนหรือ […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

เมื่อ COVID-19 ทำชีวิตเราเปลี่ยนไป

18/03/2020

นาทีนี้คงไม่มีอะไรน่ากังวลไปกว่าสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก แน่นอนว่าเชื้อไวรัสนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ได้รับเชื้อแล้วหรือยังไม่ได้รับเชื้อก็ตาม และ ‘ชาวเมือง’ ก็คงได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าใคร เพราะการใช้ชีวิตในเมืองนั้น ทุกย่างก้าวมีความเสี่ยง หลายคนอาศัยอยู่ในคอนโดต้องใช้ลิฟต์ร่วมกัน หลายคนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ทุกๆ เช้าในช่วงเวลาเร่งด่วนจะแออัดและเบียดเสียดกันเป็นปลากระป๋อง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายคนยังต้องออกไปทำงานและพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา โดยที่เราเองต่างก็ไม่รู้เลยว่าเชื้อไวรัสเหล่านั้นได้แพร่มาถึงเรา หรือเราเป็นคนนำไปแพร่หรือยัง การใช้ชีวิตอย่างปกติที่เราเคยทำ ออกไปข้างนอก เดินเล่น ดูหนัง กินข้าว เจอเพื่อน สังสรรค์ ไปเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยงต่างประเทศ ตอนนี้กลายเป็นว่าผู้คนเริ่มไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น แม้ว่าเราจะยังไม่ปิดเมืองและยังไม่เข้าสู่เฟส 3 (ตามที่ท่านรองวิษณุได้แถลง) แต่ก็เริ่มมีการซื้อของกักตุนเพราะกลัวว่าจะขาดตลาด หลายบริษัทเริ่มมีมาตรการให้พนักงานลาหยุด (ซึ่งมีทั้งจ่ายและไม่จ่ายเงินเดือน) ให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home กันบ้างแล้ว และสถาบันการศึกษาหลายแห่งก็เริ่มประกาศหยุดชั่วคราว แต่กระนั้นก็ยังมาบางอาชีพที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านหรือหยุดงานได้ และเมื่อยังไม่มีประกาศที่ชัดเจนถึงเรื่องพื้นที่เสี่ยง ทุกๆ ที่จึงสามารถเป็น ‘พื้นที่เสี่ยง’ ได้ทั้งหมด The Urbanis จึงลงไปพูดคุยกับชาวเมืองที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองทั้งหลาย ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในตอนนี้ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตและการทำงานของพวกเขาบ้าง รวมถึงมาตรการการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ต้องการจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับในตอนนี้ เจ้าของร้านค้าบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพญาไท […]

Wonderfruit Festival ดนตรี ศิลปะ ความยั่งยืน และเมืองในอุดมคติของพีท-ประณิธาน และ เจ-มณฑล

30/12/2019

‘วันเดอร์ฟรุตไม่ใช่แค่เทศกาลดนตรี แต่เป็นเทศกาลศิลปะ’ พีท-ประณิธาน พรประภา และ เจ-มณฑล จิรา ผู้ก่อตั้งทั้งสองของงานวันเดอร์ฟรุตได้กล่าวไว้ เมื่อเราค้นหาคำว่า “Wonderfruit Festival” ภาพผู้คนแต่งตัวจัดๆ สีสันฉูดฉาด หลากหลายสไตล์โผล่ขึ้นมาในหน้าอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่ไม่ใช่แค่ดนตรี ศิลปะ การแต่งตัวเท่านั้น จากที่ผ่านๆ มา Wonderfruit Festival เป็นงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตลอด และปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ pop-up city ซึ่งจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ใช้เวลาขับรถประมาณครึ่งชั่วโมงจากพัทยากลาง ถนนคดเคี้ยวก็พาเรามาถึงสถานที่จัดงานวันเดอร์ฟรุต พื้นดินลูกรังฝุ่นตลบจนต้องมีรถคอยฉีดน้ำลงพื้น เป็นสัญญาณบอกว่าเราอยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ยิ่งเข้าไปใกล้กับบริเวณงาน ยิ่งเหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่ใน ‘อีกเมืองหนึ่ง’ เมื่อเดินผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสัน มีตัวอักษรเขียนว่า ‘WONDERFRUIT’ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของงาน บรรยากาศโดยรอบก็ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เคล้าคลอเสียงเพลงหลากหลายแนวจากหลายเวที ซุ้มอาหารที่มีอยู่รายรอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะท้องร้อง มีซุ้มเวิร์คช็อปศิลปะที่น่าสนใจมากมาย มีจุดให้นั่งพักผ่อน มีโต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงเปลที่ผูกอยู่กับต้นไม้ใหญ่ หรือกระทั่งศาลาพักผ่อนกลางน้ำ นอกจากส่วนหลักๆ เหล่านั้นแล้ว เราแอบสังเกตถึงเรื่อง Sustainability ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของงาน รอบงานมีถังขยะที่แยกเป็นส่วนๆ ทั้งขยะรีไซเคิล […]