เมืองกับฉัน: สภาวะเมืองซึมเศร้า และเราต้องกลายเป็นคนเศร้าซึม

19/06/2023

“โรคซึมเศร้า” อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นชินหรือคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2558 – 2564 พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจิตเวชสูงเกือบ 2 เท่า จาก 1.3 ล้านคน เพิ่มเป็น 2.3 ล้านคน โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามาด้วยอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้ามากที่สุด ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่รักษาได้ แต่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความช่วยเหลือจากคนรอบข้างทั้งครอบครัว เพื่อน จนไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมภายในเมือง ที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือสภาพแวดล้อมอากาศภายในเมือง ล้วนจะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อตัวบุคคล The urbanis จึงอยากชวนทุกท่านมาส่องและทำความรู้จักพื้นที่ที่สามารถส่งเสริมสุขภาวะทางจิตภายในเมือง ว่าเมืองหรือพื้นที่รูปแบบไหนที่จะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้บ้าง เราเศร้า เมืองก็เศร้าตาม ที่มาภาพ Damir Samatkulov อย่างที่รู้กันดีว่า “โรคซึมเศร้า” คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล ร้ายแรงสุดผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ สาเหตุและปัจจัยหลักเกิดจาก สภาพแวดล้อมที่ประสบพบเจอทั้งทางกายภาพ และทางสังคม จากผลการศึกษาของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ […]

พิพิธภัณฑ์: นิยามที่มากกว่าห้องเก็บของ

07/04/2022

เมื่อถึงเวลาหลังเลิกงาน หรือวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เชื่อว่าหลายๆ คน มักจะเลือกออกไปที่ไหนสักแห่ง ที่ไม่ใช่บ้านหรือที่พัก แต่เป็นพื้นที่ที่ได้พบปะ พูดคุย และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศเดิมๆ ที่เจอตลอดทั้งอาทิตย์ จึงมีคำกล่าวว่า บ้าน คือ First place หรือจุดเริ่มต้นของวัน และที่ทำงาน โรงเรียน คือ Second place หรือพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมจำเป็น และเรามักใช้เวลาส่วนใหญ่เมื่อออกนอกบ้าน ส่วน Third place คือ พื้นที่เหลือหลังจากนั้น เป็นพื้นที่ที่เราเลือก และสมัครใจในการทำกิจกรรมทางเลือก เช่น เดินห้าง นั่งอ่านหนังสือที่ร้านกาแฟ หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นหนึ่งในสถานที่ฮีลใจของใครหลายๆ คน Ray Oldenburg และ Dennis Brissett นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งนิยาม “Third Place” ในหนังสือ The Great Good Place ปี 1989 […]

เมื่อการออกจากบ้านไปทำงาน คือการเดินทางไกล

22/03/2022

“บ้านอยู่ฝั่งธนฯ แต่ทำงานอยู่รัชดา” หรือ “บ้านอยู่บางนา แต่ทำงานอยู่สาทร” หลายๆ คน คงได้ยินประโยคบอกเล่าในลักษณะแบบนี้ผ่านๆ หูกันมาบ้าง จากพนักงานออฟฟิศหรือพนักงานประจำตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ หลายคนต้องออกจากบ้านตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นพ้นขอบฟ้า เพื่อเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจและแหล่งงาน ด้วยระยะทางที่ไกลและต้องสู้รบแย่งชิงพื้นที่บนท้องถนนกับคนหมู่มาก เพื่อจะได้ไปถึงที่ทำงานได้ทันเวลา สำหรับบทความ บ้าน ที่ทำงานและการเดินทาง จะบอกกล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน แท้จริงแล้วแหล่งงานบีบบังคับให้เราต้องเดินทางไกล หรือเพียงเพราะเราไม่สามารถอยู่ใกล้แหล่งงานได้ เพราะการออกจากบ้านคือการเดินทางไกล กรุงเทพมหานคร เมืองที่ผู้คนเลือกที่จะซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ซึ่งต่างจากเมืองอื่นๆ ที่ผู้คนมักจะซื้อบ้านก่อนซื้อรถ จากสถิติกรมการขนส่งพบว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์มากถึง 10 ล้านคันในปี 2562 หรือคิดเป็นร้อยละ 63 จากปี 2554 นอกจากนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง ในปี 2561 ของ Uber พบว่าคนกรุงเทพเสียเวลาไปกับรถติดบนท้องถนนและวนหาที่จอดรถเฉลี่ยวันละ 96 นาที โดยเสียเวลาไปกับรถติดประมาณ 72 นาที และวนหาที่จอดรถอีก 24 นาที หรือหากเทียบใน […]

ห้องสมุด: หนึ่งในพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเมือง

04/03/2022

“โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว เราไม่สามารถหยุดเรียนรู้ เพื่อให้เราก้าวออกไปกับโลกสมัยใหม่ได้ เพราะฉะนั้น ความรู้ในระบบการศึกษาและสถานศึกษาอาจไม่เพียงพออีกต่อไป”  ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวไว้ใน กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา เมื่อการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การศึกษา แต่ยังมีความหมายและมุมมองที่มากไปกว่านั้น วันนี้ The Urbanis จะพามาดูว่า การเรียนรู้คืออะไร สำคัญไฉนกับพวกเราทุกคน และพื้นที่แบบไหนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งพาไปดูห้องสมุดที่เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นอย่างไรบ้าง การเรียนรู้คืออะไร มีคนให้คำนิยามเกี่ยวกับการเรียนรู้ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การบอกว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นองค์รวม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในผ่านกระบวนการรู้คิด และจากภายนอก ผ่านชุดประสบการณ์การเรียนรู้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้   บ้างก็กล่าวว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการของการได้รับใหม่หรือการปรับเปลี่ยนที่มีอยู่ความรู้ พฤติกรรม ทักษะค่านิยม หรือความพึงพอใจ การเรียนรู้บางอย่างเกิดขึ้นในทันทีโดยเหตุการณ์เดียวแต่ทักษะและความรู้จำนวนมากสะสมจากประสบการณ์ซ้ำ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้มักจะมีอายุการใช้งานยาวนานและเป็นการยากที่จะแยกแยะเนื้อหาที่เรียนรู้  หรือบางคนก็นิยามว่าเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์และเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนอาจเกิดขึ้นในระดับความรู้ เจตคติ หรือพฤติกรรม และผลจากการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีมุมมอง […]