อาหาร



ย่านอร่อยระดับ “มิชลิน” (เดิน) ไปกินสะดวก

01/09/2020

เมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ หน้าสื่อสังคมออนไลน์ต่างกล่าวถึงร้านอาหารไทยที่ติดอันดับร้านอาหาร “มิชลิน” ทำเอาวงการร้านอาหารและความน้ำลายสอของคนกรุงเพิ่มกระเฉาะมากยิ่งขึ้น วันนี้ UddC และโครงการ GoodWalk จะพาทุกท่านท่องไปในโลกของร้านอาหารอร่อยระดับมิชลินในย่านที่เดินได้เดินดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครกัน อร่อยระดับ “มิชลิน” คืออะไร MICHELIN Star คือ จากการจัดอันดับร้านอาหารโดยการให้ดาวจากการคัดเลือกร้านอาหารที่มีการนำเสนออาหารคุณภาพดีที่สุด โดยพิจารณาจากคุณภาพวัตถุดิบ,เทคนิคการปรุงอาหาร,รสชาติอาหาร,ความคิดสร้างสรรค์และความเสมอต้นเสมอปลาย ที่ถูกทดสอบจากการชิมของบรรดานักชิมของมิชลินไกด์ ที่ค่อนข้างละเอียดลออ ซึ่งนักชิมเหล่านั้นจะมาจากผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาหารและรสนิยมเป็นเลิศ จากหลายหลายอาชีพทั้งนายธนาคาร ทนาย หมอ หรือนักธุรกิจ โดยการพิจารณาติดดาวให้แก่ร้านอาหารหนึ่งร้าน อาจต้องใช้เวลาชิม 3-4 ครั้งใน 1 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างนั้นเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งรสชาติ การบริการและทุกๆ อย่าง ซึ่งเกณฑ์การจัดลำดับ MICHELIN Star มีดังนี้ ร้านอาหารที่ได้ 3 ดาว ถือเป็น สุดยอดร้านอาหาร ที่ควรค่าแก่การเดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง (ซึ่งไทยไม่มี) ร้านอาหารที่ได้ 2 ดาว คือ ร้านอาหารยอดเยี่ยม ที่ควรค่าแก่การขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม ร้านอาหารที่ได้ 1 ดาว คือ […]

อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]