สะพานด้วน



สะพานเขียวเหนี่ยวทรัพย์: เมื่อการฟื้นฟูเมืองคือโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของเมือง

17/03/2021

ทอดยาวลอยฟ้าทาพื้นสีเขียวจากสี่แยกสารสิน ถ.วิทยุ ถึงปากซอยโรงงานยาสูบ คือ “สะพานเขียว” เชื่อมสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ ตลอดระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ขนาบด้วยบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนของชาวชุมชนร่วมฤดีและชุมชนโปโล ชุมชนเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง โครงสร้างลอยฟ้าแห่่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สัญจรด้วยการเดินเท้า เป็นสถานที่ออกกำลังกายและทางปั่นจักรยาน ล่าสุดยังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศช่วงยามเย็น แสงอาทิตย์ กลุ่มอาคารสูงใจกลางเมือง ฯลฯ หลายคนบอกว่าสะพานเขียวมี “ฟิลเตอร์ญี่ปุ่น” อย่างที่เคยเห็นในสื่อภาพยนตร์และการ์ตูน ปรากฏการณ์ “สะพานเขียวฟีเวอร์” เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 นี่เอง ย้อนไปเมื่อกลางปี 2562 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีวิชาชีพสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และจัดกระบวนการร่วมหารือกับชาวชุมชนเพื่อเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว ให้แข็งแรง ปลอดภัย ร่มรื่น เชื่อมกับชุมชนอย่างไร้รอยต่อ และทำให้สะพานเขียวสร้างโอกาสให้กับเมืองยิ่งขึ้นไปอีก หากความเปลี่ยนแปลงใดๆ นำมาซึ่ง “การปรับตัว” คงพอจะกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว จะไม่มีผลต่อชาวชุมชนเลย คงเป็นไปไม่ได้ คำถามของเราคือชาวชุมชนมีแผนการปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากอดีตในความเงียบเหงา สู่ ปัจจุบันแห่งการเปลี่ยนแปลง […]

ไมล์สโตนความสำเร็จในการพัฒนาย่านกะดีจีน-คลองสาน ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

06/10/2020

จากสะพานด้วนมาจนถึงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ใช้เวลาเดินทางกว่า 30 ปี สถาปัตยกรรมทิ้งร้างจึงแล้วเสร็จเป็นสะพานข้ามแม่น้ำให้ผู้คนเดินได้ในวันนี้  “ในการก่อสร้างเราก็ดูกันอยู่ทุกวัน มันอยู่ตรงนี้ มันเป็นความหวังของชาวบ้าน” ศาสตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต  เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พูดถึงการเกิดขึ้นของสวนลอยฟ้า  วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทางฝั่งธนบุรี เป็นโบราณสถานที่ใครผ่านไปปากคลองตลาดหรือข้ามสะพานพุทธจะต้องมองเห็น พระบรมธาตุมหาเจดีย์สีขาวเด่นเคียงคู่ริมน้ำเจ้าพระยา นอกจากเป็นมรดกทางโบราณสถานแล้ว ยังเป็นแกนหลักสำคัญในการเชื่อมหน่วยงานราชการ เชื่อมชุมชน เชื่อมศาสนสถานในละแวก เชื่อมโรงเรียนและจากอีกหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้เกิดความยั่งยืนในย่านกะดีจีน-คลองสานเสมอมา  หลักวิธีคิดเช่นนี้ทำให้ ในปี 2556 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากโครงการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย และแปซิพิค (ยูเนสโก)  มาในปี 2563 สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาที่ทอดเชื่อมระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ก็กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่วัด ศาสนสถาน ชุมชน ราชการ โรงเรียน หน่วยงานจากรัฐและเอกชนทุกฝ่ายต่างได้มีส่วนร่วมทำให้สวนลอยฟ้าเสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่ตั้งใจออกแบบวางแผน จนเกิดเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ข้ามสวนลอยฟ้ามาฝั่งธนบุรี เมื่อลงจากสะพาน สิ่งแรกที่จะแวะพักหลบร้อนคงหนีไม่พ้นวัดประยุรฯ ได้ทีจึงอยากพาทุกคนไปฟังทัศนะของพระพรหมบัณฑิต ต่อภาพของกะดีจีน-คลองสาน ในสายตาของพระนักพัฒนา ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างจากครั้งเก่าก่อนมาจนถึงตอนนี้  จากสะพานด้วนสู่สวนลอยฟ้า ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ชาวบ้านเขานำเสนอว่าอยากจะให้ปรับปรุงสะพานด้วน มันเป็นอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวอยู่ประจานเรา เห็นอยู่ทุกวันๆ มาตั้ง 30 ปี ชาวบ้านเขาไม่ได้คิดอะไรไกล คิดแค่ว่าทำยังไงที่จะปรับเปลี่ยนตรงนี้ให้มันเป็นทัศนียภาพที่ดี ทางวัดมองเห็นว่า ถ้ามีสะพานนี้เป็นจุดดึงดูด สามารถพัฒนาอย่างที่ออกแบบมา คนที่เดินข้ามสะพานเขาก็ต้องมาเจอวัดประยุรฯ […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]