กรุงเทพ



กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]

อดีตที่ไม่มีกรุงเทพฯ และอนาคตที่ ‘อาจ’ ไม่มีอีกครั้ง

01/11/2019

เคยได้ยินมาว่า กรุงเทพฯ เปรียบเสมือนเมืองที่ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในทางธรณีวิทยากรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำที่ไหลมาทับถมพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพื้นที่ดินใหม่ เหมือนดั่งปากแม่น้ำสำคัญหลายๆ แห่งบนโลก อาทิ แม่น้ำอิระวดีในพม่าที่ตะกอนพัดมาสะสมทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตร หรือแถบแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่สมัยก่อนเมืองโบราณชื่ออัวร์อยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร ฉะนั้นพื้นดินกรุงเทพฯ ที่เรากำลังอาศัยอยู่ จึงเป็นพื้นดินใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากตะกอนทับถมเมื่อไม่นานมานี้ เช่นเดียวกับรายงานแผนที่ธรณีวิทยาของกรุงเทพฯ ในปี 2559 จากกรมทรัพยากรธรณีประเทศไทยที่พบว่า แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึง เจาะสำรวจพบเศษเปลือกหอยทะเล ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทำงานของทะเล โดยเฉพาะเขตที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้นและลง (Tidal Zone) และมีความหนามากในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นเครื่องการันตีได้ว่าสภาพแวดล้อมอดีตของกรุงเทพฯ (หมายรวมถึงจังหวัดภาคกลางบางส่วน) เคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน! จะว่าไปนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเทพฯ เคยเป็นทะเลมาก่อน เรามีหลักฐานยืนยันประเด็นนี้มากมาย ทั้งการขุดพบซากหอยทะเลโบราณที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี หรือแม้กระทั่งการขุดพบศีรษะปลาวาฬ ณ พระราชวังเดิมในฝั่งกรุงธนบุรี ประเด็นนี้ต้องไล่ย้อนถึงประวัติศาสตร์โลกที่มีช่วงอบอุ่น และช่วงยุคน้ำแข็งสลับกันไป โดยเริ่มจากเมื่อ 1,000 ปีก่อนที่โลกยังอยู่ในช่วงอบอุ่น (Medieval Warm Period) ตรงกับประวัติศาสตร์ไทยช่วงสมัยทวารวดีก่อนก่อตั้งกรุงสุโขทัย ความร้อนของโลกทำให้น้ำแข็งละลายออกมาจำนวนมาก แม้แต่เกาะกรีนแลนด์ที่ปัจจุบันมีแต่น้ำแข็งยังกลายเป็นเขตอบอุ่นให้ชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งรกรากทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นได้ โดยน้ำที่เพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลกทำให้อ่าวไทยกินพื้นที่จังหวัดภาคกลางจมอยู่ใต้ทะเล เหมือนดั่งภาพแผนที่บริเวณอ่าวไทยโบราณสมัยที่ยังไม่มีแม้กระทั่งประเทศไทย  ต่อมาโลกเริ่มเย็นลงจนเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งย่อย (Little Ice Age) น้ำทะเลเริ่มจับตัวเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง ระดับน้ำทั่วโลกจึงค่อยๆ ลดลง ประกอบกับการทับถมของตะกอนแม่น้ำหลายร้อยปี ทำให้เกิดพื้นแผ่นดินใหม่ในภาคกลางตอนล่าง โผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำทะเลในยุคกรุงสุโขทัย และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรไทยจวบจนถึงปัจจุบัน กลับมายังโลก ณ […]

กรุงเทพฯ เมืองน้ำท่วม: คงเป็นบุพเพสันนิวาส เมื่อกรุงเทพฯ กับน้ำท่วมเป็นของคู่กันมานานแล้ว

01/11/2019

คงจำกันได้เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 54 โลกอินเทอร์เน็ตมีการเปรียบเทียบสภาวะน้ำท่วมเป็น ‘น้องน้ำ’ ที่ค่อยๆ เดินทางมาหา ‘พี่กรุง’ โดยมี ‘นังทราย’ เป็นตัวขวางกั้น เกิดเป็นเรื่องราวความรักชวนหัวที่สร้างเสียงหัวเราะ และช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลายในสภาวะวิกฤติขณะนั้น แม้จะฟังดูเป็นเรื่องราวโรแมนติก แต่ในโลกแห่งความจริงมวลน้ำมหาศาลก็พร้อมเดินทางมา ยังกรุงเทพมหานครทุกปี ทุกภพ ทุกชาติเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว หนำซ้ำเร็วๆ นี้มวลน้ำกำลังจะมาเยือนกรุงเทพมหานครอีกครั้ง วันนี้ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จะมาเล่าให้ฟังว่า อะไรเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมทุกปี และเรามีวิธีการรับมือกับมันอย่างไรบ้าง  มันอาจเป็นความรัก โชคชะตา พรหมลิขิต หรือจริงๆ แล้วมันเป็นยถากรรมของกรุงเทพมหานครกันแน่ ทำความรู้จักร่างกายกรุงเทพฯ  หากเป็นนิยาย อันดับเราต้องมาทำความรู้จักตัวละครหลักของเราก่อน ในที่นี้อาจหมายถึง กรุงเทพมหานคร ที่เปรียบเทียบพระเอกของเรา ในเชิงภูมิศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (River Delta) เป็นแผ่นดินที่รวมกับแม่น้ำสะแกกรังและป่าสักเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยในที่สุด กล่าวได้ว่ากรุงเทพฯ อยู่ราบต่ำน้ำท่วมถึง อยู่ตรงปากแม่น้ำปลายสุดของลำน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล หากมองไล่ขึ้นไปยังตำแหน่งต้นน้ำจะพบว่า แม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเส้นเลือดหลักของกรุงเทพฯ เกิดการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย ในภาคเหนือ ได้แก่ ปิง, วัง, […]

ย้อนรอยกรุงเทพฯ 12 ปี เราเป็นเมืองน้ำท่วมกี่ครั้ง กี่ครากันแน่?

01/11/2019

ความที่กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพฯ เป็นดั่งศูนย์กลางของสถาบันต่างๆ ทั้งการปกครอง การศึกษา การคมนาคม โดยเฉพาะเศรษฐกิจ คงหลีกเลี่ยงได้ยากที่ใครหลายคนจะเปรียบกรุงเทพฯ เป็นดั่งหัวใจหลักของประเทศ กระทั่งหน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมมากกว่าพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราเคยกล่าวไว้ในบทความที่แล้ว หากมองกรุงเทพฯ ในเชิงภูมิศาสตร์จะพบว่า กรุงเทพฯ เป็นดั่งพื้นที่รับน้ำที่ไหลมาจากทุกทิศทาง ฉะนั้นชะตากรรมกรุงเทพฯ จำต้องเผชิญหน้ากับมวลน้ำมหาศาลทุกปีเป็นเรื่องปกติ เราจึงมักได้ยินเสียงบ่นของมนุษย์กรุงเทพฯ ว่า “กี่ปีๆ น้ำก็ท่วมอยู่ดีนั่นแหละ” ด้วยความสงสัยของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เราจึงไปสืบค้นข้อมูลเพื่อย้อนเวลากลับไปดูในระยะ 12 ปีที่ผ่านมาว่า แท้จริงแล้วมหานครกรุงเทพฯ เผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้งกี่ครากันแน่? ก่อนที่ปี 2560 นี้ กรุงเทพฯ จะต้องเผชิญหน้ากับมันอีกครั้ง จากข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) พบว่า สภาวะน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครย้อนหลัง 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2559 กรุงเทพฯ จมน้ำเพียง 5 ปีเท่านั้น โดยมีการท่วมต่อเนื่อง 4 ปีคือช่วง พ.ศ. […]

1 2