12/12/2019
Economy

Made in Yaowarat ออกแบบสตรีทฟู้ด เป็นมิตรกับคนสัญจร คนขาย คนกิน

ปาลิตา จันทร์ทวีทรัพย์
 


เขียนโดย ปาลิตา จันทร์ทวีทรัพย์

ภาพประกอบบทความจากผลงานของ ปาลิตา จันทร์ทวีทรัพย์

คุณคิดว่า ‘เยาวราช’ มีปัญหาการจัดการอย่างไรบ้าง?

รถเข็นอยู่บนทางเท้า-คนเดินบนถนน
คนเดินบนถนน-รถเข็นอยู่บนทางเท้า
ทั้งคนและรถเข็นอยู่บนทางเท้า

เราจะเห็นภาพสามแบบนี้บนถนนสตรีทฟู้ดชื่อดังอย่างเยาวราชได้คุ้นตา 

แต่ไม่ว่าจะแบบไหน สุดท้ายถนนสายนี้ก็หนีไม่พ้นสภาพการจราจรไม่คล่องตัวอยู่ดี

นี่คือปัญหาที่ซับซ้อน เกี่ยวพันตั้งแต่เรื่องของ ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety), การแก้ไขปรับปรุงพื้นที่ (Rehabilitation) และเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Economy)

นิเวศแผงลอย

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_29.png?itok=Q0083YbS
/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_30.png?itok=ZmRkRVK7

จากการสำรวจ พบว่านิเวศของบรรดารถเข็นมีองค์ประกอบต่อไปนี้

  • จุดรวมขยะ: จุดรวมขยะใหญ่ 2 จุด
  • สาธารณูปโภค: น้ำ ไฟ ที่มักเชื่อมต่อมาจากร้านในตึกแถวหรือโรงแรมและจ่ายเป็นรายเดือน
  • พื้นที่จัดเก็บรถเข็น: บ้างจัดเก็บในที่พักอาศัย บ้างจอดไว้ในตรอกซอกซอยไม่ไกลกับจุดขาย
  • พื้นที่ซักล้าง: มีทั้งแบบรวมและแบบแยก โดยตำแหน่งที่ตั้งมีทั้งริมถนนและเข้าซอย

ปัจจุบันนอกจากเยาวราชถนนหลักแล้ว บนถนนย่อยบางสาย อย่างซอยเหล่งป๋วยเอี๊ยะ ซอยผดุงด้าวและซอยเยาวราช 11 ก็มีการกระจุกตัวของแผงลอยที่ค่อนข้างหนาแน่นเช่นกัน

เป็นไปได้ไหมว่า หากมีการแบ่งโซนบริการและจัดเก็บแผงลอยให้เป็นที่เป็นทาง จะทำให้ลดปัญหาจราจรได้ ทั้งยังเพิ่มความเป็นระเบียบให้สตรีทฟู้ดอยู่คู่กับเมืองได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้นด้วย ด้านคนขายก็ขายง่ายขายคล่อง ส่วนคนซื้อก็เดินเที่ยวได้สะดวก

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_31.png?itok=Uf0YMOoH

จัดกลุ่มแผงลอย

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_32.png?itok=wYqwnesu

พบว่าประเภทของแผงลอยแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ สองแบบ คือที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร

ส่วนที่เป็นอาหารมีทั้งที่ต้องปรุงและไม่ต้องปรุง โดยประเภทของแผงลอยนั้น สัมพันธ์กับการใช้พื้นที่อย่างมาก

ถนนหลักอย่างเยาวราชต้องการความคล่องตัวสูงเพราะมีคนสัญจรไปมาเยอะ ดังนั้น หากเน้นให้ถนนสายนี้ตั้งร้านค้าแบบไม่ปรุง อย่างเช่น ร้านขายผลไม้ เกาลัด นม ขนมหวาน อาจช่วยลดปัญหานี้ได้ เพราะใช้พื้นที่ไม่มาก

ส่วนร้านที่ต้องอาศัยการปรุงหรือต้องการใช้พื้นที่ เช่น ซีฟู้ด ก๋วยเตี๋ยว อาหารจีนอื่นๆ ควรเข้าไปอยู่ในถนนย่อยแทน 

หากมีการย้าย ควรต้องต้องพยายามให้แต่ละร้านค้าอยู่ใกล้ที่เดิมมากที่สุด และต้องใช้วิธีที่ประนีประนอมทั้งต่อผู้ค้าและคนจัดการ ทั้งนี้จะมีการเสริมป้ายและสัญลักษณ์บอกทางตกแต่งด้วยกลิ่นอายของความเป็นจีนซึ่งให้ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้า และอำนวยความสะดวกคนมาเดินด้วย

ออกแบบ Chinese Street Food Culture Paradise

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_43.png?itok=3rWgheGZ

สิ่งหลักที่ควรทำ คือการปรับปรุงทางเท้า เปลี่ยนพื้นที่ว่างในอาคาร ปรับปรุงหน้าอาคารให้สวยขึ้น หรือปรับการใช้งาน (Use) ในอาคาร

คาดการณ์ว่า ในอนาคตถนนเส้นนี้จะคึกคักด้วยการเดินมากขึ้น เพราะรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรเปิดตัวแล้ว

ส่วนการใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้ามาในพื้นที่น่าจะลดน้อยลง ซึ่งอีกหนึ่งผลพลอยได้คือซอยแปลงนาม – ซอยที่ทะลุจากรถไฟฟ้าเข้าสู่เยาวราชจะมีผู้คนสัญจรไปมามากขึ้น จึงเป็นอีกเส้นที่มีศักยภาพเติบโตไม่กีดขวางการจราจรหลัก

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_40.png?itok=egioXKbS

เยาวราช 11: เนื่องจากในตึกมีการใช้งานค้าขายอยู่แล้วจึงจะเปิดพื้นหน้าตึกส่วนหนึ่งให้เชื่อมต่อกับแผงลอยมากขึ้นเพื่อสนับสนุนกันและกัน

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_34.png?itok=K2Pv-zT1

ถนนผดุงด้าว: ใช้หลักการแทรกซึมในอาคาร ขยับแผงลอยส่วนหนึ่งเข้าไปในอาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของตึก

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_35.png?itok=7LArvxKl

ถนนแปลงนาม: ถนนเส้นที่ต่อมาจากรถไฟฟ้าก่อนเข้าถนนเยาวราช อาจใช้พื้นที่ดาดฟ้าของอาคารบนถนนเส้นนี้เป็นพื้นที่แฮงเอาต์แห่งใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ยังสร้างลักษณะเฉพาะของพื้นที่ และสร้างเอกลักษณ์ที่น่าจดจำให้กับพื้นที่ด้วย

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_44.png?itok=t054YWVP
ซอยผดุงข้าว
/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_47.png?itok=wMXhsVlZ
ซอยแปลงนาม-เยาวพานิชย์
/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_46.png?itok=3YJh8YH3
ซอยเยาวราช 11-เหล๋งป๋วยเอี๊ยะ 

ไม่เพียงแค่ปรับลักษณะซอยให้เหมาะกับการใช้งาน แต่หากมีการสร้างลักษณะพิเศษให้โดดเด่นในแต่ละซอยเพื่อที่เป็นที่จดจำและสะดวกต่อการสื่อสารบอกตำแหน่งมากขึ้น ก็จะยิ่งดึงดูดผู้คน เช่น อาคารบริเวณผดุงด้าวอาจปรับหน้ากากอาคารเป็นแบบโรงเตี๊ยม เป็นต้น

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_41.png?itok=zX36TikV

นอกจากการปรับปรุงเรื่องตำแหน่งและการจัดวางร้านค้าแผงลอยแล้ว การออกแบบที่ซักล้างและที่เก็บรถเข็น โดยใช้พื้นที่ว่างในอาคารที่เป็นลานโล่งก็เป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งจะช่วยให้ทิศทางการไหลเวียน (Flow) ของกิจกรรมของพ่อค้าแม่ขายเป็นระเบียบขึ้น 

โดยที่พื้นที่ขายอยู่บนถนนหลักหรือย่อยซึ่งเป็นส่วนนอกสุด พื้นที่ซักล้างและพื้นที่เก็บรถเข็นอยู่ส่วนในที่ติดกันตามลำดับ

เมื่อพื้นที่ซักล้างออกแบบเป็นพื้นที่รวม จะทำให้สะดวกต่อการติดตั้งระบบที่ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น โดยต้องวางแผนเรื่องตะแกรงดักเศษอาหารและถังดักไขมันเข้าไปในงานด้วย

ส่วนเรื่องสาธารณูปโภค โมเดลของไต้หวันที่จ่ายน้ำและไฟผ่านท่อใต้ดินก็น่าศึกษา เพราะคาดว่าจะเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

หากข้อเสนอแนะการออกแบบที่เยาวราชสำเร็จ โมเดลบางส่วนอาจสามารถนำไปใช้ที่อื่น ที่ต้องการจัดระบบเรื่องสตรีทฟู้ดได้ด้วย

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/screenshot_27.png?itok=qPs8ioOJ

Contributor