“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” เมืองแบบไหนจะช่วยตอบคำถามนี้

11/06/2023

“ไม่รู้ว่าอยากเป็นอะไร หรืออยากทำอะไร จะทำอย่างไร? ในวันที่โลกกำลังเดินไปข้างหน้า” หากใครที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเราอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร หรือชอบอะไรกันแน่ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมันอาจไม่ได้อยู่ที่คุณก็ได้ ถ้าลองนึกย้อนกลับไปยังความทรงจำของคุณในวัยเด็ก คุณอาจจะร้อง อ๋อ! เราเคยอยากเป็นหมอ เคยอยากเป็นนักดับเพลิง หรือเคยอยากเป็นนักบินอวกาศนี่นา แต่คุณคิดไหมว่าในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว มีเพียงกี่คน? ที่จะเคยได้เข้าไปลองสัมผัสกับอาชีพต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างแท้จริงในวัยเด็ก ดังนั้นการที่เราตอบคำถามเหล่านั้นไม่ได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย ในเมื่อเมืองของเราอาจไม่มีพื้นที่เปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปสำรวจตัวเองและเส้นทางของอาชีพต่าง ๆ มากเพียงพอ เคว้งคว้างเพราะอยู่กับคำถามที่ตอบไม่ได้ว่า ‘โตขึ้นอยากเป็นอะไร?’ จากการศึกษาของ The Australian (2017, as cited in Hedayati, 2017) มีการชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุเพียง 8 ปี จะเริ่มมีความใฝ่ฝันถึงเรื่องอาชีพของตนเองในอนาคต แต่กลับกันจากการศึกษาของ Technological Horizons in Education กลับพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนจบออกมา กลับไม่มีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของตนเองเลย หรือแม้กระทั่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยก็ด้วยเช่นกัน ที่มักจะเผชิญหน้ากับช่องว่างทางด้านทักษะและอาชีพ จนทำให้ต้องเกิดการดิ้นรนหางานที่ความหมายกับตนเองเพิ่ม (Schaffhauser, 2019) ถ้าอย่างนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่า การที่เราจะหาทางออกจากวังวนปัญหาเหล่านี้ได้นั้น เมืองต้องเปิดโอกาสให้เราได้เกิดการเรียนรู้และเมืองจะต้องมีพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่เราทุกคน […]

คนสร้างเมือง เมืองสร้างคน: การออกแบบเมืองกับการจัดระเบียบทางสังคม

22/02/2023

“คนสร้างเมือง แล้วต่อไปเมืองจะสร้างคน” ญาน เกห์ล คิดว่าหลายคนคงอาจเคยได้ยินข้อความนี้มาก่อน โดยข้อความดังกล่าว เป็นคำกล่าวของสถาปนิกและนักผังเมืองชาวเดนมาร์ก ซึ่งทุกคนเคยคิดไหมว่า การที่เราสร้างเมืองขึ้นมาในแต่ละครั้งนั้น เมืองจะสามารถมีส่วนช่วยในการสร้างคนหรือระเบียบทางสังคมได้อย่างไร  บทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับความสำคัญของการออกแบบเมือง จากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ด้วยการนำเสนอมุมมองของการออกแบบที่มีผลต่อความนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คน ให้เห็นว่าการออกแบบเมืองนั้น สามารถกำหนดทิศทางของเมืองและผู้คนได้อย่างไร  การออกแบบเมืองกับความมีระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่น ที่มาภาพ あたりまえになった整列乗車|TOKYO GOOD MUSEUM (goodmanners.tokyo) หากนึกถึงประเทศญี่ปุ่น เราคงหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องความสวยงาม ความสะอาด และความสะดวกสบายที่ผู้คนสามารถใช้งานได้จริงและเอื้อต่อคนทุกกลุ่มไปไม่ได้ และแน่นอนว่าอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือ “ความมีระเบียบวินัย” ของคนญี่ปุ่น ทั้งจากการเข้าคิวต่อแถว การตรงต่อเวลา การหยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย หรือการขึ้นรถสาธารณะอย่างเป็นระเบียบก็ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ จะต้องแข่งขันกับเวลา หรือมีผู้คนมากมายแค่ไหนก็ตาม แต่คนญี่ปุ่นก็ยังคงมีระเบียบวินัยและความเรียบร้อยอยู่เสมอ หลายคนคงอาจคิดว่าความมีระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่นนั้น เป็นเพราะคนญี่ปุ่นเอง ที่มีนิสัยมีระเบียบวินัยและมีจิตใต้สำนึกที่ดีอยู่แล้ว ประกอบกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่หล่อหลอมให้คนญี่ปุ่นเป็นเช่นนั้น แต่ทุกคนเคยคิดไหมว่า นอกจากระเบียบวินัยในตัวเองแล้ว การออกแบบเมืองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการพัฒนาคน ที่ช่วยสนับสนุนให้คนมีระเบียบวินัยและมีพฤติกรรมเหล่านั้นด้วยเช่นกัน เพราะการออกแบบและการพัฒนาเมือง ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงไปของเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้คนทั้งในทางตรงและทางอ้อมได้อีกด้วย เบื้องหลังการออกแบบเมืองน่าอยู่ของประเทศญี่ปุ่นด้วยการใช้“เส้น” ที่มาภาพ Livable Japan ออกแบบ‘เมือง’ดีไซน์‘ชีวิต’ สู่ญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน (matichon.co.th) เริ่มต้นจากการที่เมือง […]