Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

เมือง (ลอนดอน) กับมาตรการรับมือ Covid-19

24/04/2020

อังกฤษกลายเป็นที่โด่งดังหลังจากออกมาตรการ Herd Immunity เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาตรการนี้เหมือนจะเป็นแนวคิดใหม่ แลดูท้าทาย ผสมผสานความเสียดสีว่ารัฐบาลไม่ใส่ใจ ปล่อยให้แต่ละคนแบกรับชีวิตตนเอง แต่ก็เป็นวิธีที่มีใช้กันมานาน ได้ผลและมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ตั้งแต่ Boris Johnson นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศ Lock Down และเริ่ม Social Distancing เมื่อ 23 มีนาคม ลอนดอนที่เป็นเมืองศูนย์กลางเมืองหนึ่งของโลกก็เริ่มเงียบเหงาลง ชาวต่างชาติทยอยเดินทางกลับบ้าน คนที่ยังอยู่ก็เริ่มทำงานจากบ้าน (Work from home : WFH) ไม่ต่างจากเมืองไทย จากที่เคยออกจากบ้านวันละหลายครั้ง กลายเป็นหลายวันต่อหนึ่งครั้ง คนในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนต่างผูกชีวิตไว้กับซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งแม้จะสั่งออนไลน์ให้มาส่งได้แต่หากเป็นของสดก็จำเป็นต้องออกไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง หลายมาตรการรับมือ Covid-19 ในสหราชอาณาจักรและลอนดอนเป็นที่รับรู้กันดี และใช้กันตามเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านทั่วโลก ทั้งการรักษาระยะห่าง 2 เมตร และอยู่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน ในที่สาธารณะ ภาคเอกชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยการทำสัญลักษณ์ตามทางเดินและฝากำแพงเพื่อบอกให้รู้ว่าระยะ 2 เมตร คือระยะประมาณนี้นะ รวมถึงมีการแบ่งเวลาเข้าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตชัดเจนว่าให้ความสำคัญ (Priority) กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง (Vulnerable people) กับคนที่ทำงานให้ […]

กรุงเทพฯ : เมืองลอยฟ้าที่แสนย้อนแย้ง

27/11/2019

วอลเดน เบลโล อดีต ส.ส. ของฟิลิปปินส์ เคยเอ่ยถึงกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2530s ไว้ในหนังสือชื่อ “โศกนาฏกรรมสยาม” (ดูรายละเอียดของหนังสือได้ที่นี่ https://koha.library.tu.ac.th/bib/290744) หลายอย่าง เช่น กรุงเทพฯ เป็น “อภิมหานครที่เป็นหนึ่งเหนือชุมชนโดยรอบ เป็นเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีเมืองใดเทียบเคียงได้” “มีความพยายามทำกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมือง Los Angeles ด้วยการวางผังเมืองที่อาศัยรถยนต์เป็นหลัก” รวมถึง “ทำกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นดิสนีแลนด์แห่งตะวันออกที่เต็มไปด้วยทางด่วนยกระดับและสะพานข้ามแยก เนื่องจากการไม่ประสานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การก่อสร้างจึงต้องสูงขึ้นไปบนอากาศและสักวันหนึ่งคงจะเท่าตึก 7 ชั้น” ภาพจำลองเมื่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวแล้วเสร็จ การคาดคะเนถึงตึกเจ็ดชั้นเมื่อ 30 ปี ก่อน กลายเป็นจริงแล้วในวันนี้ ที่จุดตัดห้าแยกลาดพร้าว เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวสร้างสูงขึ้นไปเหนือทางด่วนกว่า 21 เมตร หรือเท่ากับตึก 8 ชั้น! กรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2560s เต็มไปด้วยการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินกว่า 4 สาย 4 สี สร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเดิม 2 สาย มีการสร้างและปรับปรุงสะพานข้ามแยก […]