ทำวินมอเตอร์ไซค์ให้ Win : เหตุผลที่ พี่วิน ครองใจคนกรุงเทพฯ

02/12/2019

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ วินมอเตอร์ไซค์คือระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะหากมองว่า  “พี่วิน” คือทางออกของปัญหาซอยลึกและการเดินทางระยะสั้นสำหรับเมืองกรุงเทพฯ (ราว 1-5 กิโลเมตร)  ที่จริงแล้ว ระบบนี้เป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่มาตอบโจทย์ปัญหาของสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา และกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกในการเดินทางของคนเมืองหลายต่อหลายคน นอกจากนี้ ระบบมอเตอร์ไซค์รับจ้างยังเหมาะสมต่อสภาพอากาศในเมืองร้อนด้วย  การให้บริการเช่นนี้มีปรากฏอยู่ในหลากหลายประเทศและทวีปทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีกฎหมายรองรับการบริการประเภทนี้ จนกลายเป็นอาชีพในระบบตามกฎหมายขึ้นมา ที่มาภาพ (ไทยโพสต์) การใช้บริการพี่วินจากบ้านเพื่อมาต่อบริการขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ แล้วต้องใช้บริการพี่วินอีกครั้งเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง ถูกเรียกว่า First/Last-Mile Connectivity หรือการเชื่อมต่อที่กิโลเมตรแรกหรือกิโลเมตรสุดท้าย  บทบาทของพี่วินจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเดินทางที่ผสมผสานระหว่างหลายระบบเพื่อนำเราไปสู่จุดหมาย ทำให้ระบบขนส่งมวลชนในภาพรวมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยวินมักจะทำหน้าที่ในกิโลเมตรแรกหรือสุดท้ายของการเดินทางนั้นๆ เชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถใต้ดิน เรือโดยสาร หรือ รถ BRT  ในขณะเดียวกัน ในพื้นที่ที่ระบบขนส่งมวลชนยังเข้าไม่ถึงหรือยังทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ วินก็จะทำหน้าที่หลักในการให้บริการการเดินทางในระยะสั้น ขับพาเราจากต้นทางสู่สถานที่ปลายทางโดยตรง หรือที่เรียกว่า door-to-door service ด้วยการพัฒนาระบบรางที่แผ่กระจายไปทั่วกรุงเทพฯ การเชื่อมต่อในทุกๆ กิโลเมตรสุดท้ายจึงกลายเป็นบทบาทที่วินรับหน้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ติดกับสถานีการเดินทางต่างๆ จากมุมมองนี้ วินจึงกลายเป็นหนึ่งในกลไกธรรมชาติของเมืองที่ทำให้การขนส่งมวลชนรางสามารถรองรับคนได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  จากข้อมูลสะสมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ของ […]

ที่ผึ้งของเมือง คือที่พึ่งของคน

26/11/2019

เรื่อง/นำเสนอข้อมูล: ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ คุณรู้ไหม – ว่าแมลงตัวเล็กๆ อย่าง “ผึ้ง” ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ผสมเกสรดอกไม้เท่านั้น แต่ผึ้งยังช่วยเราวัดคุณภาพอากาศได้อีกด้วย หลายสิบปีก่อน กรุงเทพฯ เคยมีแมลงและสัตว์ขนาดเล็กมากมาย  ทั้งหนอนผีเสื้อตัวอ้วนกลมที่ตกลงมากระดึ้บดุ๊กดิ๊กอยู่บนพื้นถนน บุ้งที่โรยตัวลงมาจากกิ่งไม้สูงและห้อยตัวอยู่กลางอากาศ หรือไส้เดือนที่หลงทางมาอยู่บนพื้นคอนกรีต และหลายคนก็อาจคุ้นเคยกับผึ้งที่มาดูดน้ำหวานจากดอกไม้ หรือกระทั่งมาไต่เล่นอยู่ที่แขน  แต่ในปัจจุบัน แมลงเหล่านี้หายหน้าไป เราปล่อยให้สภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยมาถึงจุดที่แมลงเล็กแมลงน้อยเหล่านี้แทบไม่มีเหลืออยู่ในสภาพแวดล้อมเมืองเลย  ถึงแม้หนอนผีเสื้อ บุ้ง ไส้เดือน หรือแม้กระทั่งผึ้งจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ารังเกียจและน่ากลัวสำหรับคนหลายคน แต่การที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมของเรา ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า พวกมันคือ “ดัชนี” บ่งชี้ได้หรือไม่ ว่าเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ในระยะหลังๆ สภาพอากาศของกรุงเทพฯ เลวร้ายลงมาก โดยเฉพาะยามสภาพอากาศวัดค่า AQI (Air Quality Index) ได้เกิน 150 ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤตที่ไม่ควรออกจากบ้าน แต่แทบทุกคนก็ยังต้องออกเพื่อไปทำงานและภารกิจของตนตามความจำเป็นของชีวิต นอกจากนี้ เมื่อ “หน้าหนาว” กำลังจะมาเยือน ความกดอากาศสูงก็ยิ่งกดให้อากาศแย่ๆ เหล่านี้อยู่กับเรานานขึ้น  จริงๆ แล้ว มลภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตจากกิจกรรมของพวกเราในสังคมเมืองกันเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในมุมหนึ่ง หากเราไม่เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตและการใช้ชีวิตในเมือง […]

สุสานคนเป็น : ความเสี่ยงในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้สูงวัยในเมือง

04/11/2019

กรณีศึกษา: คุณยายของฉันอายุเก้าสิบเศษ ท่านเป็นคนร่างเล็กแต่แข็งแรงและร่าเริง คุณยายชอบย้ายไปพักบ้านลูกหลานเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ บ้านของฉันเป็นบ้านหนึ่งที่คุณยายชอบมา วันนั้น ฉันกลับบ้านมาราวๆ หกโมงเย็น กำลังเดินขึ้นไปชั้นบนของบ้าน ทันใดนั้นฉันก็ได้ยินเสียงโครมครามตามด้วยเสียงร้องของคุณยาย เมื่อวิ่งลงมาดูเหตุการณ์ ฉันเห็นคุณยายล้มหงายอยู่บนพื้นคอนกรีตที่จอดรถ ที่หน้าผากมีแผลลึกอาบเลือดที่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด คุณยายเล่าให้ฟังด้วยสีหน้าที่ยังตกใจอยู่ว่าพลาดล้มจากบันไดหน้าบ้าน สิ่งเดียวที่ฉันต้องทำให้เร็วที่สุด คือพาคุณยายไปยังโรงพยาบาล แต่คำถามก็คือ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน และฉันควรใช้เส้นทางไหน ถึงจะพาคุณยายไปถึงมือหมอให้ได้เร็วที่สุด คำถามเหล่านี้ เกิดขึ้นภายใต้กรอบของเวลาหกโมงเย็น หรือช่วงเวลาที่รถติดที่สุดในกรุงเทพฯ คุณยายในกรณีศึกษาข้างต้น เป็นเพียงหนึ่งในผู้สูงอายุของสังคมกรุงเทพฯ และประเทศไทย ซึ่งเราทราบกันดีว่ากำลังกลายเป็นสังคมที่มีประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ แผนที่ด้านล่างแสดงให้เห็นถึงพื้นที่เขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามสัดส่วนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยพื้นที่ที่มีสีแดงเข้มหมายถึงพื้นที่ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุจดทะเบียนอาศัยอยู่มาก และลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามความจางของสี แผนที่ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าพื้นที่ใจกลางเมือง มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุดและลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อห่างออกไปในพื้นที่ชานเมือง จะว่าไป คนแก่กับสถานพยาบาลถือเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ผู้สูงวัยหลายคนยังต้องเข้าสถานพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายตามที่หมอนัด บางคนยังมีนัดพิเศษกับหมอเฉพาะทางเพิ่มเติมจากการนัดทั่วไปด้วย บางคนที่มีโรคร้ายแรง และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด สถานพยาบาลอาจกลายเป็นบ้านหลังที่สองเลยก็เป็นได้ ดังนั้น เมื่อสังคมกลายเป็น Aging Society ที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ จึงมีบทบาทในเมืองและชุมชนเพิ่มขึ้น ถ้าเราศึกษาพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เราจะพบว่า […]

1 2