ลีลาวดีอยู่นี่ : อยู่ที่เชิงสะพานสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

19/06/2020

เวลาพูดถึงท่าช้างวังหลวง หนึ่งในภาพจำของหลายๆคน น่าจะเป็นแนวต้นลีลาวดีที่เรียงรายอยู่หน้าตึกแถวเก่ายุคนีโอคลาสสิก ต้นลีลาวดีที่เคยอยู่ในลานท่าช้างวังหลวงมีจำนวน 29 ต้น ให้ร่มเงาและประดับประดาบริเวณลานหลังท่าเรือให้สวยงาม เป็นการต้อนรับผู้มาเยือนมาแล้วกว่า 22 ปี ต้องหมายเหตุว่าต้นลีลาวดีชุดนี้ไม่ใช่ลีลาวดีที่เราเห็นทั่วๆ ไป คือดอกสีขาวๆ ใหญ่ๆ แต่เป็นพันธุ์เพชรเขาวัง สายพันธุ์เดียวกันกับที่พระนครคีรี หรือเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี ทำให้รูปทรงของต้นจะมีความสวยงาม ดอกจะเล็กกระจุ๋มกระจิ๋ม มีสีเหลืองครีม ต้นลีลาวดีเหล่านี้ปลูกโดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพระนคร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์เมื่อปี 2541 ผ่านเวลาไปแม้ต้นลีลาวดีจะเติบโตผลิดอก แต่ด้วยพื้นที่ที่ปลูกเป็นลานคอนกรีตที่ร้อนจัด รากต้นไม้ถูกจำกัดไว้ในกรอบกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตใต้ดิน ทำให้ต้นลีลาวดีเหล่านี้ไม่เติบโตเท่าที่ควร ประกอบกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดหน้าพระลานและถนนมหาราช กรุงเทพมหานครจึงได้ตัดสินใจขุดล้อมต้นลีลาวดีทั้งหมดไปที่เชิงสะพานสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาฝั่งเขตพระนคร เพื่อให้ต้นไม้ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั่นคือสวนสาธารณะที่กว้างกว่า 8 ไร่และมีดินให้รากแผ่หยั่งลึก การขุดล้อมและการดูแล ว่าที่ร้อยตรีฤทธิพันธ์ นันทศุภกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนคร ท่านที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในเขต รวมทั้งอยู่ในเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การปลูก ขุดล้อมเพื่อย้าย และการปลูกใหม่ลงในเชิงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา  ว่าที่ร้อยตรีฤทธิพันธ์เล่าให้เราฟังถึงวิธีการขุดล้อมที่ต้องทำอย่างระมัดระวังที่สุด เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบภารกิจในการขุดล้อมและย้ายได้รับการอบรมจากทีมรุกขกรของกลุ่ม Big Trees จนมีความเชี่ยวชาญ เริ่มต้นจากตัดเตียนยอดข้างบนเพื่อลดการคลายน้ำ และตัดรากแขนงก่อน 2 – 3 วัน ก่อนล้อมย้าย เมื่อย้ายไปปลูกในบริเวณเชิงสวนลอยฟ้าที่มีระบบนิเวศน์ที่ดี มีพื้นที่ที่เป็นดินกว่า 8 ไร่ […]

‘Pandemic & The City’ จามครั้งเดียว สะเทือนไปทั้งเมือง

10/04/2020

การระบาดของเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บไม่ได้ส่งผลแค่เฉพาะกับสุขภาพ แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน และนำพาเมืองไปสู่บริบทใหม่ทั้งในเชิงประชากร โครงสร้างทางสังคม และโครงสร้างทางกายภาพ ชุมชนเมืองมีการบริหารจัดการ รับมือ เรียนรู้ ปรับตัวและเดินต่ออย่างไร ในการอุบัติของโรคระบาด WHO ได้เผยข้อมูลที่สำคัญว่า การรระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เป็นโรคระบาดระดับโลก (Pandemic) เกิดขึ้นทุกๆ 10 – 50 ปี โรคระบาดและเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมือง ในฐานะศูนย์รวมของกิจกรรมทางเสรษฐกิจ สังคม การเมือง ความหนาแน่นของประชากรที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันภายในเมือง สร้างโอกาสให้เกิดการติดเชื้อของโรคต่างๆได้อย่างไม่ยากนัก การรับมือต่อโรคติดต่อนั้นๆก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคม ความเปราะบางของสังคม และสิ่งที่สังคมนั้นให้คุณค่าหรือมองข้าม เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ นั่นก็หมายถึงผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในเมืองในทุกระดับชนชั้น ที่ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อชีวิต แต่รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และบาดแผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบของเมืองในด้านใดด้านหนึ่ง  แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครั้งนี้ ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของเราอย่างเด่นชัด ความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นนี้จะสั่นสะเทือนเมืองและเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกในระยะยาวหลังจากที่วิกฤติครั้งนี้จบลงอย่างไร  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จากโรคระบาด ในช่วงปลาย ศตวรรตที่ 12 หรือปลายยุคกลาง  เกิดกระบวนการทำให้เป็นเมืองในบางส่วนของทวีปยุโรป ปัจจัยจากการค้าขายหรือจากแรงดึงดูดของแหล่งงานช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาอยู่อาศัยรวมกันในพื้นที่เมืองต่างๆ เมื่อเกิดโรคติดต่อ ความหนาแน่นของประชากรเมืองยิ่งทำให้การแพร่ระบาดขยายวงกว้างออกไปได้อย่างไม่ยากเย็น  การระบาดของกาฬโรค หรือที่เรียกกันว่า […]

สองขนมผสมเรื่องราว ลิ้มรสประวัติศาสตร์จากขนม

22/11/2019

เรื่องโดย ธรกมล เรียงวงศ์ เชื่อไหมว่า ขนมชิ้นเล็กๆ ตามย่านต่างๆ นั้น สามารถบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของ “เนื้อเมือง” ในที่นั้นๆ ได้เลย ถ้าไม่เชื่อ ตามเราไปชิมของอร่อยในย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านที่รุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์ และเราสามารถ “ลิ้มรส” ประวัติศาสตร์พวกนั้นได้ผ่าน “ขนม”  กะดีจีน-คลองสาน เป็นย่านแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และความเชื่อแบบจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยาในฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน สืบเนื่องต่อมาในช่วงกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในฐานะศูนย์กลางการปกครองและย่านที่พักอาศัยของขุนนางและย่านการค้าทางน้ำ ความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าทำให้พื้นที่ละแวกนี้คึกคักด้วยเหล่าพ่อค้านานาชาติที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนและทำการค้าขาย เกิดเป็นชุมชนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งแขก จีน ลาว โปรตุเกส ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน วิถีชีวิต ความเชื่อ และความหลากหลายของผู้คนในย่านกะดีจีน-คลองสาน คลุกเคล้าเป็นอาหารชาวย่าน เอกลักษณ์เฉพาะตัวอาหารตำรับฝรั่งโปรตุเกส อาหารตำรับจีน ตำรับแขก และ กลมกล่อมทั้งรสชาติและเรื่องราว  พื้นที่แห่งความหลากหลายนี้เปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผสมปนเปกันของวัฒนธรรมอย่างแยกออกจากกันได้ยาก และแสดงให้เราเห็นผ่าน “ขนม” สองชนิด ขนมฝรั่งกุฎีจีน  ขนมชนิดนี้มาจากชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโปรตุเกสแต่นำมาดัดแปลง โดยเกิดขึ้นพร้อมการเข้ามาของวัฒนธรรมการใช้ไข่ทำของหวานของชาวโปรตุเกส […]