วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

เมื่อ COVID-19 ทำชีวิตเราเปลี่ยนไป

18/03/2020

นาทีนี้คงไม่มีอะไรน่ากังวลไปกว่าสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก แน่นอนว่าเชื้อไวรัสนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ได้รับเชื้อแล้วหรือยังไม่ได้รับเชื้อก็ตาม และ ‘ชาวเมือง’ ก็คงได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าใคร เพราะการใช้ชีวิตในเมืองนั้น ทุกย่างก้าวมีความเสี่ยง หลายคนอาศัยอยู่ในคอนโดต้องใช้ลิฟต์ร่วมกัน หลายคนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ทุกๆ เช้าในช่วงเวลาเร่งด่วนจะแออัดและเบียดเสียดกันเป็นปลากระป๋อง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายคนยังต้องออกไปทำงานและพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา โดยที่เราเองต่างก็ไม่รู้เลยว่าเชื้อไวรัสเหล่านั้นได้แพร่มาถึงเรา หรือเราเป็นคนนำไปแพร่หรือยัง การใช้ชีวิตอย่างปกติที่เราเคยทำ ออกไปข้างนอก เดินเล่น ดูหนัง กินข้าว เจอเพื่อน สังสรรค์ ไปเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยงต่างประเทศ ตอนนี้กลายเป็นว่าผู้คนเริ่มไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น แม้ว่าเราจะยังไม่ปิดเมืองและยังไม่เข้าสู่เฟส 3 (ตามที่ท่านรองวิษณุได้แถลง) แต่ก็เริ่มมีการซื้อของกักตุนเพราะกลัวว่าจะขาดตลาด หลายบริษัทเริ่มมีมาตรการให้พนักงานลาหยุด (ซึ่งมีทั้งจ่ายและไม่จ่ายเงินเดือน) ให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home กันบ้างแล้ว และสถาบันการศึกษาหลายแห่งก็เริ่มประกาศหยุดชั่วคราว แต่กระนั้นก็ยังมาบางอาชีพที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านหรือหยุดงานได้ และเมื่อยังไม่มีประกาศที่ชัดเจนถึงเรื่องพื้นที่เสี่ยง ทุกๆ ที่จึงสามารถเป็น ‘พื้นที่เสี่ยง’ ได้ทั้งหมด The Urbanis จึงลงไปพูดคุยกับชาวเมืองที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองทั้งหลาย ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในตอนนี้ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตและการทำงานของพวกเขาบ้าง รวมถึงมาตรการการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ต้องการจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับในตอนนี้ เจ้าของร้านค้าบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพญาไท […]

เบนซ์-ธนชาติ ศิริภัทราชัย : เพราะเมืองไม่ดี จึงมีอะไรให้เล่า

26/02/2020

บ่ายวันนั้นเรานัดกันที่ออฟฟิศในซอยเล็ก ๆ อย่าง ‘รัชดาซอย 3’ ศูนย์รวมของความจอแจและไม่น่าอภิรมณ์เอาไว้ เราทักทายกันด้วยความคุ้นเคย ธนชาติออกตัวก่อนว่าเสียงเขาแปลก ๆ ไปหน่อย ไม่ค่อยสบายเพราะฝุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ทำให้บทสนทนาในวันนี้จืดลงไป กว่าเราจะเข้าเรื่องกันจริง ๆ ก็หัวเราะกับเรื่องสัพเพเหระกันไปหลายตลบ ธนชาติ ศิริภัทราชัย หรือ เบนซ์  เป็นผู้กำกับ / ช่างภาพ / นักเขียน ประจำ Salmon House ไม่ว่าจะผลิตผลงานชิ้นไหน ๆ ก็มักจะเรียกเสียงหัวเราะได้เพราะความตลกร้ายของเขาอยู่เสมอ  สำหรับคนที่ทำงานสายสร้างสรรค์กับเมือง เขาไม่ได้มองเมืองเหมือนกับคนทั่วไป ไม่ว่าใครจะทุกข์กับความไม่สมบูรณ์ของเมืองนี้ขนาดไหน แต่เขากลับรู้สึกสนุกที่ได้หยิบจับสิ่งเหล่านั้นมาเล่าให้พวกเราฟัง  ชีวิตประจำวันของธนชาติ “เราเป็นมนุษย์เดิน ชอบเดินในเมือง ชอบใช้ขนส่งสาธารณะ ขับรถไม่เป็น ไม่เคยจับพวงมาลัย เพื่งมาจับตอนอายุ 31 เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างใกล้ชิดกับความเป็นเมือง ผู้คน การเดินถนน” “ทุกวันนี้เราขับรถแล้วแต่ก็ยังขับในจำนวนที่น้อยกว่านั่งรถไฟฟ้าหรือขนส่งมวลชน  วันไหนอยากสบาย หรือต้องไปพบลูกค้าก็ขับรถ ถ้าดูไลฟ์สไตล์เราจริง ๆ เราเหมาะกับการขับรถมากกว่า เพราะที่ทำงานเราเริ่มงาน 11 โมง เลิก […]

Wonderfruit Festival ดนตรี ศิลปะ ความยั่งยืน และเมืองในอุดมคติของพีท-ประณิธาน และ เจ-มณฑล

30/12/2019

‘วันเดอร์ฟรุตไม่ใช่แค่เทศกาลดนตรี แต่เป็นเทศกาลศิลปะ’ พีท-ประณิธาน พรประภา และ เจ-มณฑล จิรา ผู้ก่อตั้งทั้งสองของงานวันเดอร์ฟรุตได้กล่าวไว้ เมื่อเราค้นหาคำว่า “Wonderfruit Festival” ภาพผู้คนแต่งตัวจัดๆ สีสันฉูดฉาด หลากหลายสไตล์โผล่ขึ้นมาในหน้าอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่ไม่ใช่แค่ดนตรี ศิลปะ การแต่งตัวเท่านั้น จากที่ผ่านๆ มา Wonderfruit Festival เป็นงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตลอด และปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ pop-up city ซึ่งจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ใช้เวลาขับรถประมาณครึ่งชั่วโมงจากพัทยากลาง ถนนคดเคี้ยวก็พาเรามาถึงสถานที่จัดงานวันเดอร์ฟรุต พื้นดินลูกรังฝุ่นตลบจนต้องมีรถคอยฉีดน้ำลงพื้น เป็นสัญญาณบอกว่าเราอยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ยิ่งเข้าไปใกล้กับบริเวณงาน ยิ่งเหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่ใน ‘อีกเมืองหนึ่ง’ เมื่อเดินผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสัน มีตัวอักษรเขียนว่า ‘WONDERFRUIT’ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของงาน บรรยากาศโดยรอบก็ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เคล้าคลอเสียงเพลงหลากหลายแนวจากหลายเวที ซุ้มอาหารที่มีอยู่รายรอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะท้องร้อง มีซุ้มเวิร์คช็อปศิลปะที่น่าสนใจมากมาย มีจุดให้นั่งพักผ่อน มีโต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงเปลที่ผูกอยู่กับต้นไม้ใหญ่ หรือกระทั่งศาลาพักผ่อนกลางน้ำ นอกจากส่วนหลักๆ เหล่านั้นแล้ว เราแอบสังเกตถึงเรื่อง Sustainability ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของงาน รอบงานมีถังขยะที่แยกเป็นส่วนๆ ทั้งขยะรีไซเคิล […]