เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]

ที่อยู่อาศัยและวัยของเมือง ข้อคิดจากการประชุมว่าด้วยการเคหะในกรุงโซล

23/12/2019

ภาพยนตร์เรื่อง Parasite ที่กำลังเข้าชิงออสการ์อยู่นี้ อาจทำให้หลายคนรู้สึกขยะแขยงบ้านกึ่งใต้ดินที่ตัวละครครอบครัวคิมอาศัยอยู่  ที่อยู่ที่เลือกได้เท่าที่ความจนและความเหลื่อมล้ำจะอนุญาต พื้นที่อยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งชั้น พอทำให้มองเห็นโอกาสผ่านหน้าต่างแคบๆ เพื่อขึ้นไปอยู่ชั้นต่อไป แต่เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ท่อน้ำชักโครกของคนเหล่านี้คือความพินาศที่ส่งกลิ่นความจนอบอวลติดตัวไปอีกขั้น  ปัญหาที่อยู่อาศัยจำกัดคือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในโซล (แต่จะเลวร้ายเท่าที่ปรากฏในภาพยนตร์หรือไม่นั้นคงแล้วแต่ครัวเรือน) มุมกลับของเมืองที่ร่ำรวยรวดเร็ว คือคนบางกลุ่มกลับกลายเป็นคนรายได้น้อยเกินกว่าจะอยู่อาศัยในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากราคาบ้านและมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น  “แล้วทำไมไม่ไปอยู่ที่อื่น” คำถามแบบนี้อาจจะฟังดูตรงประเด็น แต่กลับมองข้ามปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น การกระจุกตัวของงานในเมือง และการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อการพัฒนาชีวิตที่เมืองเท่านั้นที่ให้ได้ มองข้ามไปถึงขั้นว่าหน้าตาของเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างไรหากคนเหล่านี้ตัดสินใจเดินทางออกไปจริงๆ  เมื่อเป็นอย่างนี้ ภาครัฐก็ต้องเข้ามามีบทบาทสร้างนโยบายหรือผสานความร่วมมือเพื่อแก้ไจ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมแห่งเกาหลี จึงจัดงานการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเคหะและการเงินในเขตเมือง ครั้งที่ 7 (The 7th International Forum on Housing and Urban Finance) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศมานำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง เช่น เดนมาร์ก มาเลเซีย ไต้หวัน อเมริกา ฯลฯ รวมทั้งข้อควรระวังจากบทเรียนที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่คำว่า inclusiveness และ mutual prosperity แกรี่ เพนเทอร์ […]

ห้องสามมิติของทางเท้า ความผูกพันกับเมืองและเศรษฐกิจ

03/12/2019

ถ้ามีใครสักคนกล่าวโทษว่า สาเหตุของฝุ่นน่าสะพรึงต่างๆ มาจากคนใช้รถยนต์กันเยอะเกินไป ดังนั้นจึงควรโทษตัวเองแล้วกลับมาใช้ขนส่งสาธารณะ หลายคนอาจรู้สึกตะหงิดๆ และเชื่อว่าคนที่พูดแบบนี้ อาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกับคนที่เลือกใช้ขนส่งสาธารณะเป็นอันดับแรกก็ได้ ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะนอกจากคำถามที่ว่า – ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้านั้นเพียงพอ ทั่วถึง และมีปัญหาเรื่องราคาหรือเปล่า ยังมีอีกคำถามหนึ่งก็คือ – ก็แล้วทางเท้าของเรา พร้อมไหมที่จะรองรับฝ่าเท้าของคนจำนวนมากอย่างมีคุณภาพ ที่ต้องคิดให้ครอบไปถึงทางเท้า เพราะการเดินเท้าคือการเชื่อมต่อโหมดของการเดินทางทุกแบบ การเดินทางหนึ่งเที่ยวประกอบไปด้วยการเปลี่ยนยานพาหนะ หรืออย่างน้อยก็เดินเท้าต่อไปถึงปลายทางอีกที ทางเท้าจึงเป็นสิ่งที่สามัญและพื้นฐานที่สุด และอาจดูเป็นของง่ายจนถูกมองข้ามก็ได เหตุผลที่ทำให้คนไม่เดิน หรือเดินไม่ได้ ข้อมูลจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ระบุว่า ตัวชี้วัดคุณภาพเมืองอย่างหนึ่งคือสัดส่วนของพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมือง ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 20-25% พื้นที่ถนนที่ว่านี้ ไม่ใช่แค่ถนนที่ให้รถวิ่ง (พื้นผิวจราจร) แต่รวมถึงพื้นผิวทางเท้าที่มีไว้ให้คนเดินถนนด้วย เมื่อกลับมามองความเป็นจริงของกรุงเทพฯ จะพบว่า พื้นที่ถนนคิดเป็น 7.2% ของพื้นที่ทั้งหมด (หรือ 113.06 ตร.กม. ต่อ 1,569 ตร.กม.) ต่ำกว่าค่ามาตรฐานถึงสามเท่า ซึ่งนั่นทำให้รถติด แถมเมื่อระบุแบบแยกย่อยออกมาดูพื้นที่ทางเท้าอย่างเดียว ในเมืองอันหนาแน่นคับคั่งนี้ เราจะเหลือทางไว้ให้คนเดินแค่ 22.55 ตร.กม. หรือคิดเป็นเพียง 1.44% ของพื้นที่กรุงเทพฯ […]

Seoul Transit : แก้พฤติกรรมคนเมืองด้วยการออกแบบ

18/11/2019

หลายครั้งเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเมือง นิ้วชี้ทั้งหลายมักรีบระบุความผิดไปที่นิสัยของคน เช่น เพราะคนไม่ยอมใช้รถสาธารณะ เพราะคนมักง่ายไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่ เพราะคนชอบจอดรถในช่องรถเมล์ เพราะคนชอบขายของบนทางเท้า ฯลฯ โซลไม่ใช่เมืองที่สะอาดเนี้ยบ และคนในกรุงโซลก็ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย ทั้งนิสัย เชื้อชาติ​ และช่วงอายุ คงเป็นไปไม่ได้ (และไม่ควรเลย) ที่จะเหมารวมว่าคนโซลนิสัยแบบไหน แต่อะไรที่ทำให้การเดินทางในเมืองดูเป็นระเบียบและคล่องตัว แม้มีความระเกะระกะของกองขยะให้เห็นบ้าง ผู้มาเยือนโซลไม่ว่าจะรักหรือชังก็ยังต้องยอมรับว่าภาพรวมของเมืองกลับดูดีและน่าเดิน เราไปสำรวจท้องถนนของโซล ว่าในการเดินทางด้วยเท้านั้น หนึ่งในคีย์เวิร์ดสำคัญคือการเชื่อมต่อ เขาใส่ ‘ความคิด’ อะไรลงไปในการออกแบบเพื่อสู้กับนิสัยคนบ้าง โซลเป็นเมืองหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางเดินเท้ากว้างขวาง เกาะกลางถนนที่ทำหน้าที่เป็นทั้งจุดพักคนข้ามและที่ตั้งป้ายรถเมล์ ออกแบบมาสนับสนุนการเคลื่อนที่อย่างไหลลื่น มีจุดสะดุดน้อยที่สุด และมีสัญญาณหยุดรอ-ข้ามได้ชัดเจน ไม่ต้องรอลุ้นว่าชั่วโมงนี้จะได้ข้ามถนนกันหรือเปล่า ทางข้ามบางแห่งในย่านผู้คนพลุกพล่านจะมีเลนแยกสำหรับจักรยาน และมีร่มคันใหญ่เอาไว้สำหรับคนหลบแดดหรือฝนระหว่างรอสัญญาณไฟ หน้าทางเข้าสถานที่สำคัญๆ มักมีทางข้ามกว้างมากเป็นพิเศษ มองไปบางครั้งจะรู้สึกเหมือนเป็นท่อยักษ์ที่ช่วยพาให้ผู้คนเคลื่อนที่ไหลตามกันไปอย่างไม่ติดขัด ในย่านช็อปปิ้งอย่างฮงแด เราอาจเห็นทางข้ามลักษณะนี้ตามสี่แยก เพราะทิศทางสัญจรของคนเดินเท้านั้นหลากหลายกว่าเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ช่วยลดระยะเวลาและความวุ่นวายในการเดินข้ามถนน จักรยานสำหรับเช่ามีแท่นจอดอยู่ประจำตามสถานที่ที่คนสัญจรผ่านบ่อยๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ สถานที่ราชการ โรงเรียน ธนาคาร ฯลฯ เป็นทางเลือกการเดินทางในระยะสั้นเกินกว่าจะลงทุนนั่งรถเมล์หรือรถไฟใต้ดิน การมีจุดจอดที่แน่นอนช่วยลดปัญหาการจอดจักรยานผิดที่ผิดทาง กีดขวางทางเดินเท้า พื้นที่ทางเดินเท้าที่กว้าง ทำให้การเดินทางหลากรูปแบบและความเร็วนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กันได้ […]