ชุมชนเคลื่อน เมืองขยับด้วยโยบายเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ: จาก Bangkok Brand ถึง Made in Bangkok

15/08/2022

กลายเป็นปัญหาโลกแตกทุกครั้งเมื่อมีคนถามชาวกรุงเทพมหานครว่า “อะไรคือของดีประจำกรุงเทพฯ” หรือเวลาชาวกรุงเทพฯ ไปเยี่ยมญาติพี่น้องหรือเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็จะคิดไม่ตกว่า “จะซื้ออะไรเป็นของฝาก” หลายครั้งปัญหาเหล่านี้จบด้วยการหิ้วขนมจากร้านดังในห้างสรรพสินค้าไปฝาก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจไม่แสดงถึงอัตลักษณ์ของกรุงเทพฯ เลยแม้แต่น้อย ต่างกับหลายจังหวัดในประเทศไทยที่มีผลิตภัณฑ์ประจำตำบลหรือ OTOP อันโดดเด่นที่ไม่ว่าเราไปเที่ยวทีไรเป็นอันต้องแวะอุดหนุนติดไม้ติดมือมาด้วยทุกที ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชมผู้ผลิตที่เด่นชัด เห็นเมื่อใดก็พอจะเดาได้ว่าผลิตภัณฑ์นี้มาจากไหน แล้วทำอย่างไรล่ะ? ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกรุงเทพฯ โดดเด่นเป็นที่รู้จักเหมือนกับ OTOP ของหลายตำบลในไทย หรือหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ของประเทศญี่ปุ่น วันนี้ The Urbanis จะพาทุกท่านไปสำรวจ 2 นโยบายด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดัน พัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของกรุงเทพฯ ให้มีมาตรฐาน เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เป็นที่รู้จัก ตลอดจนเกิดการยอมรับของประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ยกระดับแบรนด์สินค้าของกรุงเทพสู่ตลาดโลกด้วย Bangkok Brand Bangkok Brand หรือตราผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี 2553 โดยสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร โครงการนี้เป็นหนึ่งในนโยบายด้านเศรษฐกิจที่มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชน ผู้ประกอบการท้องถิ่น ไปจนถึง SMEs นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตก่อนจะช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพภายใต้ตราเครื่องหมาย Bangkok Brand ซึ่งโครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 มหานครสำหรับทุกคนตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคระยะ […]

ยุทธศาสตร์และความร่วมมือคือส่วนผสมเสกย่านน่าอยู่สำหรับทุกคน

09/08/2022

จากบทความ พระโขนง-บางนา ย่านโอกาสแห่งใหม่ใกล้ศูนย์กลางเมือง เราคงได้รู้จักย่านพระโขนง-บางนามากขึ้น และคงมองเห็นถึงโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาย่านนี้ผ่านภาพอนาคต “Downtown Cha Cha Cha” ที่สะท้อนความเป็นย่านเป็นดาวทาวน์แห่งใหม่ที่น่าอยู่ น่าทำงาน และน่าใช้ชีวิตสำหรับผู้อยู่เดิมและผู้อยู่ใหม่ เป็นภาพที่ใครๆ ก็หวังให้เกิดขึ้นในย่านของตนเอง   แต่การจะสร้างภาพอนาคตที่พึงประสงค์ให้เป็นความจริงคงไม่ใช่เรื่องง่ายหากขาดการวางแผน ขาดยุทธศาสตร์ ขาดนโยบาย และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยคือ แนวทางความร่วมมือในการพัฒนาย่านร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเขต ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่จะทำให้ย่านแห่งนี้หรือย่านไหนๆ สามารถวิวัฒน์ไปด้วยกันได้ ยุทธศาสตร์พัฒนาย่านพระโขนง-บางนา ย่านพระโขนง-บางนาเป็นย่านที่มีศักยภาพสูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีโจทย์สำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างการไม่เชื่อมโยงกันของศักยภาพในย่าน ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาย่านพระโขนง-บางนา จึงให้น้ำหนักกับการสร้างการเชื่อมโยงศักยภาพระหว่างพื้นที่ภายในย่านผ่านการพัฒนา 3 แกนจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะสั้น คือแกนแรกที่ต้องพัฒนาในก่อนเลยคือแกนถนนสุขุมวิท ที่จะเน้นปรับปรุงโครงข่ายทางกายภาพอย่าง ทางเท้า พื้นที่สาธารณะ อาคารบ้านเรือนให้ส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจรายย่อย และเศรษฐกิจนวัตกรรม  ระยะกลาง คือแกนถนนศรีนครินทร์ ที่เน้นสร้างการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่กำลังจะเปิดใช้ในอนาด้วยการเดินเท้าที่สะดวก สบาย และปลอดภัย  ระยะยาว คือพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยาเพื่อยกระดับย่านพระโขนง-บางนาให้กลายเป็นย่านที่น่าอยู่และย่านนวัตกรรมในระดับโลก การพัฒนาในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตกมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจะเชื่อมต่อการขนส่งสาธารณระบบรางหรือรถไฟฟ้าเข้าไปสู่พื้นที่ด้านใน ตลอดจนเชื่อมพื้นที่ริมน้ำเข้ากับแกนสุขุมวิท เพื่อดึงเอาศักยภาพและทรัพยากรของย่านพระโขนง-บางนาเข้ามามีส่วนในการพัฒนาเมือง สามารถแบ่งพื้นที่การพัฒนาได้ดังนี้  เส้นทางสีเขียวเชื่อมระหว่างบึงบางกระเจ้ากับบึงหนองบอนซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในระยะกลางและยาว   เส้นทางคลองบางนา ปรับปรุงคลองและเปิดเส้นทางจากวัดบางนาเข้าสู่พื้นที่ด้านในสำหรับผู้ที่ต้องการสัญจรภายในพื้นที่และไม่ต้องการออกสู่ถนนใหญ่  […]

พระโขนง-บางนา ย่านโอกาสแห่งใหม่ใกล้ศูนย์กลางเมือง

20/07/2022

​จบกันไปแล้วกว่า 1 เดือนกับงานนำเสนอสาธารณะพระโขนง-บางนา 2040: อนาคต ความฝัน ย่านของเรา ที่ทางศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (UddC-CEUS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอถึงยุทธศาสตร์ โครงการพัฒนา และแนวทางความร่วมมือสำหรับการพัฒนาขับเคลื่อนย่านพระโขนง-บางนา วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่านมาเก็บตกเนื้อหาการนำเสนอที่ผ่านมาเสียหน่อย โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนอเนื้อหาการบรรยายช่วงต้น ในประเด็นชิงพื้นที่ และภาพอนาคตของย่านพระโขนง-บางนา โดยผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะทำให้ทุกท่านรู้จักย่านพระโขนง-บางนามากขึ้น กรุงเทพมหานคร ย่านศักยภาพ และการพัฒนา ​ขณะนี้กรุงเทพมหานครของเราได้เดินทางมาถึงครึ่งหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมืองที่มีประชากรตามทะเบียนกว่า 5.5 ล้านคน และ 15 ล้านคนหากนับถือรวมประชาการแฝงในพื้นที่ปริมณฑลร่วมด้วย มหานครแห่งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้สามารถรองรับการขยายตัวของเมือง ตลอดจนกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกสู่พื้นที่โดยรอบเพื่อลดความแออัดของเมือง นี่จึงเป็นสาเหตุที่พื้นที่ย่านทั่วทั้งกรุงเทพฯ จะต้องถูกศึกษา และวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอย่างจริงจัง “ย่านพระโขนง-บางนาในอดีตเรียกได้ว่าเป็นย่านชายขอบ ย่านที่อยู่อาศัย และย่านอุตสาหกรรมที่ห่างไกล แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไปเพราะย่านชายขอบแห่งนี้กำลังที่จะพลิกบทบาทของตนเองเป็นเกตเวย์ของกรุงเทพ” ประโยคนี้คือใจความสำคัญซึ่งผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล […]