จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

Coronavirus : เทคโนโลยีดิสรัปชั่นแบบทวีคูณ ที่อาจส่งผลต่อเมือง

17/04/2020

ขอเริ่มต้นด้วยข้อสังเกตที่ปัจจุบันพบว่ามีความเป็นไปได้สูง ผนวกกับสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ  “การเกิดโคโรนาไวรัส (Coronavirus) อาจมีนัยสำคัญถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ในมุมมองการวิเคราะห์ถึงการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี” เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น? แล้วทำไมนักออกแบบเมืองถึงให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโรคระบาด (Pandemic) ของโคโรนาไวรัส (Coronavirus) และการเข้ามาดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี (Technology disruption) ทั้ง ๆ ที่ผู้คนกลุ่มนี้ทำอยู่ก็เพียงแค่ออกแบบเชิงกายภาพเท่านั้น รูปแบบทางกายภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ รวมถึงวิธีการทำงานของเมืองยังมีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถเอาปัจจัยการเข้ามาดิสรัปชั่นของเทคโนโลยีออกจากกระบวนการคิดในการออกแบบเมืองได้เลย การเข้ามาของเทคโนโลยีอาจทำให้การออกแบบเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และได้ส่งผลอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะอาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่ชัดเจน แต่รูปแบบเชิงธุรกิจหรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้ปิดตัวหรือทำยอดขายได้น้อยลง เนื่องจากมีการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น กับความสะดวกรวดเร็วของการขนส่ง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะส่งผลต่อวิถีชีวิตประจำวัน แล้ว Coronavirus เกี่ยวอะไรกับ Technology Disruption? การเข้ามาของเทคโนโลยีดิสรัปชั่นในปัจจุบัน (ก่อนเกิดโรคระบาดโคโรนาไวรัส) สามารถมองเห็นได้ประหนึ่งว่าสังคมเมืองในปัจจุบันกำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคสมัยของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ 5G บล็อกเชน (Block chain) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) […]

Lunchbox เรื่องของอาหารและการ ‘อ่านเมือง’

20/02/2020

ดุษฎี บุญฤกษ์ ถ้ายังจำกันได้ ภาพยนตร์อินเดียเรื่อง Lunchbox (2013) เป็นภาพยนตร์จากแดนภารตะที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยเมื่อหลายปีก่อน เพราะมันฉายภาพชีวิตในเมืองใหญ่ให้เราเห็นในแบบที่ไม่ค่อยเห็นบ่อยนักจากหนังอินเดีย คำถามก็คือ Lunchbox บอกเล่าถึงเรื่องของ ‘อาหาร’ และ ‘การอ่านเมือง’ ได้อย่างไร? The Lunchbox บอกเล่าเรื่องราวของชายหญิงในมหานครมุมไบที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ทั้งสองรู้จักและเริ่มต้นบทสนทนาผ่านระบบขนส่งอาหารที่เรียกว่า ดับบาวาลา (Dabbawala) ซึ่งเป็นระบบขนส่งอาหารผ่านปิ่นโตที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลก  นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักของเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังฉายภาพให้เห็นวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร รวมทั้งระบบโครงข่ายการขนส่งที่ทำให้เกิดระบบขนส่งอาหารที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่  คำถามที่ลึกลงไปอีกระดับก็คือ แล้วระบบขนส่งอาหาร (Food delivery) สามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการอ่านเมืองได้อย่างไร ปัจจุบัน เราคุ้นเคยกับระบบขนส่งอาหารอย่าง Grab และ Lineman (รวมถึงเจ้าอื่นๆ อีกมาก) กันเป็นอย่างดี การบริการส่งอาหารได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากปริมาณของผู้ใช้งานบริการขนส่งอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการบริการส่งอาหารในประเทศหรือเมืองต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการบริการที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้านด้วยตนเอง จึงลดต้นทุนในการเดินทางและเวลา  แต่นอกจากสองเรื่องนี้แล้ว ระบบขนส่งอาหารยังมีจุดเด่น คือ คนที่สั่งอาหารผ่านบริการส่งอาหาร มักต้องการอาหารที่สดใหม่หรือยังร้อนอยู่ ดังนั้น การขนส่งอาหารจึงต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระบบจักรยานหรือรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะตามบริบทพื้นที่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่เนื่องจากมีอุปสงค์ (demand) […]

สถาปัตยกรรมกับการมอง : สะพานเขียว โบสถ์คริสต์ และมัสยิดอินโดนีเซีย

13/01/2020

ในปี 2020 นี้ คุณผู้อ่านอาจยังไม่ทราบว่า กำลังจะเกิดโครงการใหญ่ที่มีชื่อล้อกับปี ค.ศ. ว่า “สองศูนย์สองสวน” ขึ้นมา สองศูนย์สองสวนก็คือการปรับปรุง ‘ทางเชื่อม’ ของสวนสองแห่งภายในปี 2020 โดยสวนที่ว่าก็คือสวนลุมพินีและสวนเบญกิตติ แน่นอน ทางเชื่อมที่ว่าจะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจาก ‘สะพานเขียว’ นั่นเอง ความน่าสนใจของการเชื่อมสองสวน ก็คือสะพานเขียวไม่ได้เชื่อมแค่สวน แต่ยังเชื่อมสองชุมชน (คือ ชุมชนร่วมฤดี และชุมชนโปโล) และเชื่อมสองศาสนา ผ่านสองศาสนสถาน คือ โบสถ์พระมหาไถ่ของชาวคริสต์  และมัสยิดอินโดนีเซียของชาวมุสลิม ซึ่งทั้งสองแห่งมีความสำคัญในแง่ของสถาปัตยกรรมกับบริบทวิถีชุมชนอย่างยิ่ง รูป 1 ตัวอย่างภาพโครงการ “สองศูนย์สองสวน” ในทางสถาปัตยกรรมผังเมือง ประวัติศาสตร์หรืออัตลักษณ์พื้นถิ่นจะแสดงผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมและพื้นที่ว่างเสมอ คุณลักษณะที่ปรากฎขึ้นเปรียบเสมือนสื่อกลางที่ช่วยนำทางให้เข้าใจถึงเรื่องราวและรายละเอียดของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำไปใช้สื่อสารความหมายต่อบริบทพื้นที่ หรืออาจเกิดเป็นอัตลักษณ์ของย่านหนึ่งในที่สุด  นักทฤษฎีเมืองอย่าง Lynch ให้ความหมายของคำว่า “ย่าน” เอาไว้ว่าคือ บริเวณพื้นที่ชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีลักษณะเฉพาะตามบริบทการใช้งานของพื้นที่ มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับกายภาพหรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น โดยสาระสำคัญของ Lynch กล่าวถึงจินตภาพเมืองที่มี 5 […]