urbanization



การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

สร้าง ‘เมือง’ เพื่อสร้าง ‘หนัง’ … ศิลปะสุดทะเยอทะยานหรืออีกหนึ่งเผด็จการในโซเวียตรัสเซีย?

22/05/2020

บ่อยครั้งที่ ‘เมือง’ (Urban) หรือแม้แต่ ‘ความเป็นเมือง’ (Urbanization) มักถูกนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ในฐานะของ ‘ฉากหลัง’ ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องเล่าให้ออกมาเปี่ยมเสน่ห์จนสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ทว่าไม่บ่อยนักที่พวกมันจะถูกก่อร่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะในฐานะของอีกหนึ่ง ‘ตัวละคร’ ที่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไม่แพ้บรรดาตัวละครมนุษย์ กรณีศึกษาที่โดดเด่นที่สุดแห่งยุคสมัยคงหนีไม่พ้น DAU โปรเจ็กต์หนังศิลปะสุดทะเยอทะยานที่ผู้กำกับชาวรัสเซียอย่าง อีล์ยา คาร์ซานอฟสกี (Ilya Khrzhanovsky) ลงทุนปลูกสร้างฉาก ‘สถาบัน’ (The Institute) อันเป็นภาพแทนของสังคมเผด็จการสหภาพโซเวียตระหว่างยุค 30-60 บนโลเคชั่นถ่ายทำขนาดใหญ่ในยูเครน รวมถึงใช้เวลาปลุกปั้นผลงานภายใต้กฎกองถ่ายอันแสนเข้มงวดเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ! ที่สำคัญ, ตัวหนังและวิธีการ ‘สร้างเมือง’ ของคนทำหนังอย่างคาร์ซานอฟสกียังนำเราไปสู่ประเด็นถกเถียงทางสังคมอันเผ็ดร้อน ทั้งการตั้งคำถามถึงจริยธรรมการทำงาน และการส่องสังเกตพฤติกรรมเผด็จการของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยลับอันน่าเกรงขามที่มีขนาดเทียบเท่าเมืองจริงๆ รวมถึงความเป็นเมืองที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในกองถ่าย DAU จึงก้าวไปไกลกว่าการเป็น ‘แค่ฉากหลัง’ ดาษดื่นในหนังทั่วไป และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาต่อยอดในหลากหลายมิติอย่างไม่ต้องสงสัย  1 ในแวดวงนักดูหนัง คาร์ซานอฟสกีคือคนทำหนังที่ถูกพะยี่ห้อด้วยคำว่า ‘เฮี้ยน’ มาตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกอย่าง 4 เมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากพล็อตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านอันเกี่ยวพันกับหนุ่มสาวสี่คนในบาร์เหล้า แผนการโคลนนิ่งมนุษย์ และรัฐบาลอันไม่น่าไว้วางใจของ วลาดิเมียร์ ปูติน […]