Seoul



เมืองสร้างยูนิคอร์น ยูนิคอร์นสร้างเมือง: เกาหลีใต้ผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรให้สำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลก

11/11/2020

“วงการสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นพื้นทรายแทนพื้นคอนกรีตก็คงจะดี ถ้าเป็นงั้นทุกคนคงทำธุรกิจได้ดีขึ้น” หนึ่งในตัวละครจากซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่กำลังเป็นที่นิยม พูดออกมาเพื่อสะท้อนถึงความลำบากในการเริ่มและเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเปรียบว่าหากต้องล้มลงบนพื้นคอนกรีต ผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลายคงต้องเจ็บตัว และหวาดกลัว ไม่กล้าลงแรงทำธุรกิจเต็มที่ แต่หากเป็นพื้นทรายที่ช่วยซับแรง ผู้ประกอบการคงไม่กลัวล้ม และเต็มที่ไปกับการทำธุรกิจมากขึ้น แม้จะไม่ใช่คำพูดของตัวละครหลักของเรื่อง แต่ก็สะท้อนมุมมองของธุรกิจสตาร์ทอัพได้เป็นอย่างดี ซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์ Start-Up บอกเล่าเรื่องราวของคนหนุ่มสาวที่แข่งขันกันเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง แต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกเหนือจากไอเดียที่แปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และทำเงินได้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นได้คือเงินทุนและทรัพยากรสนับสนุน หลายครั้งที่แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีอาจพอจับสังเกตได้ว่า เรื่องราวในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องพยายามกระตุ้นผู้ชมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น การสร้างภาพผู้ชายที่อบอุ่นเป็นสุภาพบุรุษเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่ดี การสร้างภาพระบบยุติธรรมที่เที่ยงตรงผ่านซีรีส์สืบสวนสอบสวน หรือการกระตุ้นให้ผู้ชมอยากผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการด้วยตัวเอง อย่างเช่นที่ซีรีส์เรื่อง Start-Up กำลังได้รับความนิยม แล้วทำไมเกาหลีใต้ถึงต้องการผลักดันเรื่องสตาร์ทอัพ ในเมื่อมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุง ฮุนได และ แอลจี ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งประเทศอยู่แล้ว? คำตอบก็คือ เกาหลีใต้มองว่าการพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายถือเป็นความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้เติบโตช้าลงทุกที ปี 2017 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีมุนแจอิน เกาหลีใต้ตั้งกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (Startup (Ministry of SMEs and Startups) เพื่อให้การสนับสนุนโดยตรงแก่ผู้ประกอบการรายย่อย […]

เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]