park



รั้วรอบ ขอบชิด ปิดประตู : เพียงกรุงเทพฯ “สลายรั้ว” เราจะเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น

27/05/2021

ภาพปกโดย photo created by mrsiraphol – www.freepik.com บางครั้งการเดินเท้าไปตามถนนใหญ่อาจทำให้เราต้องเจอกับความวุ่นวายและมลพิษมากไปสักหน่อย การได้เดินลัดผ่านสวนหรือพื้นที่สงบ ๆ กว้าง ๆ บ้างก็คงให้บรรยากาศที่ดีกับการเดินในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย ความคิดนี้จะไม่เกินความจริงเลย หากเรากำลังเดินอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี แต่พอเราอยู่ในกรุงเทพฯ มองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกและรั้วทึบ ๆ กับถนนใหญ่มหึมาที่มาพร้อมกับทางเดินเท้าขนาดพอดีตัว 3 เหตุผล ทำไมกรุงเทพฯ เป็น “เมืองแห่งรั้ว” เราคงรู้กันดีว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้นแสนจะห่างไกลเกินเอื้อมถึง ไม่ได้อยู่ให้เราเดินผ่านได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งถึงแม้พื้นที่สาธารณะจะอยู่แค่เอื้อม เราก็อาจจะยังต้องติดอยู่กับถนนกับทางเดินเล็ก ๆ ของเราไปอีกไกล ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะรั้วโลหะเจ้ากรรมที่ยั่วให้เราได้เห็นสวน เห็นสนามหญ้า หรือเห็นลานกว้างอยู่ข้างตัว แต่ก็ขวางเราไว้ไม่ให้ไปถึง  ตั้งแต่สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงที่ทำการหน่วยงานราชการ ทุก ๆ พื้นที่เหล่านี้ล้วนแต่มีรั้วรอบขอบชิด เข้าได้แค่จุดนี้ ออกได้แค่ทางนี้ ถ้าโชคไม่ดีมาวันที่เขาปิดประตูลงกลอน เราก็อาจจะต้องเดินอ้อมไปเป็นกิโลเมตร ความเป็นเมืองแห่งรั้วของกรุงเทพฯ นี้มีเหตุมาจาก 3 เรื่องหลัก ๆ คือสัณฐานของเมือง การกระจายความเป็นเจ้าของที่ดิน และมุมมองต่อพื้นที่สาธารณะ […]

สถาปนิกกัวลาลัมเปอร์ เปลี่ยนพื้นที่ทิ้งร้างของเมือง เป็นพื้นที่สีเขียวกินได้และสร้างมั่นคงให้ชุมชน

21/08/2020

คุณครูพาเด็กนักเรียนมาปลูกข้าว พ่อแม่จูงลูกน้อยมาเรียนปลูกต้นกล้า อาสาสมัครจับกลุ่มรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช เด็กในชุมชนละแวกสวนชวนกันเตะฟุตบอล หรือผู้สูงอายุอุ้มเป็ดตัวอ้วน คือ ภาพชีวิตเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ณ พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ชื่อว่า “เคอบุน เคอบุน บังซาร์” (Kebun-Kebun Bangsar) พื้นที่สีเขียวของเมืองที่เป็นมากกว่า “สวนกินได้” (edible garden) ในเมืองหลวงที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวมากกว่า 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน  เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ได้รู้จักเคอบุน เคอบุน บังซาร์ สวนชุมชนขนาด 20 ไร่ จากการฟื้นฟูพื้นที่ทิ้งร้างใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงใจกลางเมือง ดำเนินการโดย Ng Sek San สถาปนิกวัยใกล้ 60 ปี ผู้หันหลังให้กับงานคอมเมอร์เชียลทั้งในและต่างประเทศเมื่อ 6 ปีก่อน และหันหน้าสู่งานชุมชน เมือง และวัฒนธรรมอย่างเต็มตัว   “สำหรับผม นี่เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดเท่าที่ทำงานมาทั้งชีวิต” Ng Sek San พูดถึง เคอร์บุน-เคอร์บุน  กว่าจะประสบความสำเร็จเป็นพื้นที่สาธารณะของคนเมืองในปี […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]