big data



สุขภาพหรือเสรีภาพ? เมื่อ Covid-19 ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันต้องแลกมาด้วยข้อมูลส่วนตัว

10/07/2020

“ไทยชนะ” ชื่อนี้นำมาซึ่งความรู้สึกที่ป่วนหัวใจ ไม่ใช่เพราะชื่อที่กำกวม เต็มไปด้วยคำถาม เราชนะใคร? ชนะอะไร? เรากำลังแข่งอะไรเหรอ? แต่เป็นความรู้สึกที่ไม่ว่าเดินไปที่ไหนในตอนนี้ก็ต้องเห็น QR Code ที่ต้องสแกนก่อนเข้าไปใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านตัดผม ร้านขนม ร้านกาแฟ ร้านขายยา ร้านข้าวแกง ถ้าอีกหน่อยมีติดหน้าหมู่บ้านให้สแกนก่อนเข้าก็คงไม่แปลกใจสักเท่าไหร่ ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องของความวุ่นวาย ควานหาสมาร์ตโฟนในกระเป๋าสะพายออกมาตลอดเวลา แต่มันเป็นการตั้งคำถามต่อเรื่องของข้อมูลความเป็นส่วนตัวซะมากกว่า เพราะหลายครั้งที่เข้าไปสถานที่เหล่านี้ถ้าไม่อยากยุ่งยากสแกน QR ก็ต้องเขียนชื่อและเบอร์ติดต่อ ซึ่งในมุมมองของความปลอดภัยแล้วข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น แต่ในมุมมองของธุรกิจแล้วมันเป็นขุมทองมีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว แถมยังมีเรื่องของความเป็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ข่าวที่ออกไปเมื่อไม่นานมานี้ที่พนักงานร้านสะดวกซื้อถือวิสาสะนำเบอร์ส่วนตัวของลูกค้าที่เขียนตอนเข้าร้านมาเพิ่มเพื่อนแล้วทักไปจีบเชิงชู้สาวนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของเรื่องนี้ มันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานที่ไม่ควรเกิดขึ้น หลายคนอาจจะบอกว่านี่มันเป็นการกระทำส่วนบุคคลและไม่ได้บ่งบอกถึงภาพใหญ่ทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญที่อยากสื่อก็คือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยง่าย ขนาดพนักงานสะดวกซื้อก็ยังเอาไปได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้มีอำนาจทั้งภาครัฐและเอกชนถ้าพวกเขาต้องการข้อมูลเหล่านี้?  แล้วเราจะเชื่อได้ยังไงว่ามันจะปลอดภัยในอนาคต? สิ่งหนึ่งที่เราไม่มีทางรู้เลยก็คือตอนจบของ Covid-19 ว่าจะมาเมื่อไหร่และจะมาในรูปแบบไหน คงเป็นไปได้อย่างที่ทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมโดยไร้วัคซีน (ซึ่งก็ไม่รู้อีกนั่นแหละว่าเมื่อไหร่จะมา) แต่จากที่เห็นในตอนนี้วิธีการที่ดีที่สุดในการต่อกรกับไวรัสร้ายก็คือการติดตามว่ามันมีโอกาสแพร่กระจายไปไหนบ้างและในบางกรณีก็ต้องบังคับให้ประชาชนบางส่วนกักตัวลำพังในพื้นที่ที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ ช่วงที่ผ่านมาเราได้ยินคำว่า “Contact Tracing” บ่อยขึ้นตามบทความและเนื้อข่าวต่างๆ ซึ่งไอเดียของมันก็คือการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยว่าไปเจอใครมาบ้าง ที่ผ่านมาเดินทางไปที่ไหน ฯลฯ แต่ว่ามันก็เป็นเรื่องยากเพราะขึ้นอยู่กับความจำของคนคนนั้นว่าจดจำรายละเอียดได้มากขนาดไหนและความเชี่ยวชาญของผู้สอบถามอีกด้วย เพราะฉะนั้นด้วยขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และงานที่หนัก การทำ Contact Tracing โดยมนุษย์นั้นจึงเป็นเรื่องยาก จึงนำมาซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อตรวจสอบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขนาดไหน ไปเจอใครที่มีความเสี่ยงมาบ้างรึเปล่า ซึ่งไอเดียนี้ก็เริ่มถูกนำไปใช้ในหลายๆ ที่และก็มีประสิทธิภาพในระดับที่เป็นเรื่องน่าพอใจ ตัวอย่างของบ้านเราที่เพิ่งเกิดขึ้นก็คือแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เป็นแอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย Covid-19 หรือไม่ โดยเก็บข้อมูลจาก GPS และ Bluetooth โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือหนึ่งส่วนประเมินความเสี่ยงของตัวเองและสองคือแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้งานนั้นเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 หลังจากโหลดแอปฯ แล้วก็สามารถทำแบบสอบถาม แอปฯ ก็จะจัดหมวดหมู่ให้ผู้ใช้งาน (เขียว, เหลือง, ส้ม, แดง ตามความเสี่ยงและคำตอบที่ให้) โดยการประมวลผลส่งไปยังระบบ ผู้ใช้คนอื่นๆ จะมองไม่เห็นว่าแต่ละคนอยู่ที่ไหนบ้าง แต่จะมีการแจ้งเตือนหากเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพียงเท่านั้น การใช้งานเบื้องต้นคือถ่ายรูปของตัวเองแล้วก็เปิดให้แอปฯ เข้าใช้โลเคชั่นของโทรศัพท์ พร้อมกับเปิด Bluetooth เพียงแค่นี้ […]

เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]