ชาวเมือง



บางประทุน(นิยม) ในวันที่ชีวิตริมคลองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

24/07/2020

ภาพ : พูลสวัสดิ์ สุตตะมา จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เสียงคำรามของเครื่องยนต์ดังลั่นลอยมาให้ได้ยิน ไม่กี่อึดใจเรือหางยาวก็แล่นฝ่าน้ำเข้ามาเทียบท่า  เท้าเหยียบซีเมนต์ก่อนจะก้าวข้ามไปบนพื้นเรือ  “บางประทุนเปลี่ยนไปมาก” คำทักทายแรกที่ได้ยิน “ทางที่ดีใช่ไหมพี่” ผมเอ่ยถาม  …! รับรู้ความหมายได้จากรอยยิ้มอ่อนพร้อมอาการส่ายหน้าน้อยๆ ของเขา เรือแล่นไปข้างหน้า ผมเหลือบมองสายน้ำทั้งสองฝั่ง สีของน้ำที่เปลี่ยนไป ขยะเกลื่อนลอยปะปน ผิดกับเมื่อครั้งที่ผมเคยมาเยือนคลองนี้เพื่อสำรวจความอุดมสมบูรณ์ ระยะเวลาแค่ปีเดียวเหมือนจะไม่นานแต่นั่นมากพอจะทำให้บางประทุนเปลี่ยนไปมากตามคำเขาว่า เขาในวันนี้ไม่ต่างจากวันที่เจอกันครั้งแรก รูปร่างกำยำท้วมสูง ทะมัดทะแมง มองดูก็รู้ว่าเป็นลูกชาวสวนที่ใช้แรงเป็นกิจวัตรประจำวัน เขาที่ว่าผู้ใหญ่ในชุมชนเรียก ไอ้ ส่วนเด็กๆ เรียก ครู เป็นคนในชุมชนบางประทุนที่คอยเป็นกระบอกเสียงของคนริมคลอง บอกเล่าความสำคัญของชีวิตริมสายน้ำ เก็บรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ปลูกฝังรากฐานให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิต พยายามรักษาบางประทุนให้คงอยู่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาของความศิวิไลซ์ เคลื่อนเรือไปไม่ถึงนาที เสียงเครื่องยนต์สงบลง จอดเทียบท่าให้ก้าวขึ้นฝั่งอีกครั้ง เขาเปิดประตูนำเข้าไปในบ้านไม้สองชั้นอายุมาก ที่ก่อนหน้านี้เคยตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บวัตถุมีคุณทางจิตใจของชาวชุมชน จำพวกภาพถ่ายในครั้งอดีต อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เมื่อวันใดวันหนึ่งที่ความเจริญจะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มากกว่าที่เคยเป็น แต่ความตั้งใจนั้นต้องถูกพับเก็บ เเพราะที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของโฉนดเป็นคนนอกชุมชน เมื่อไหร่เจ้าของที่ดินเรียกคืน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะสูญเปล่า บ้านหลังนี้ไร้สมบัติประเภท เงิน ทอง แต่มรดกอย่างหนึ่งซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ พื้นที่สวน ว่ากันว่านี่คือ สวนซึ่งดูจะสมบูรณ์มากที่สุดในย่านบางประทุน แต่อย่างที่บอกไป สวนแห่งนี้เจ้าของโฉนดไม่ใช่คนในชุมชนบางประทุนอีกแล้ว  “สวัสดีลุง” ผู้นำทางเอ่ยทักทายเจ้าของสวนที่กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการพรวนดิน  […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]