Mobility



5 จุดโปรดระวัง!!! ข้างหน้าเกิดอุบัติเหตุบ่อย

26/06/2023

กรุงเทพฯ เมืองที่ครองแชมป์ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในไทย จากบทความกรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที มีการกล่าวถึงการเดินทางที่เพิ่มขึ้น 40 ล้านเที่ยวคนต่อวัน และมีการใช้ยานพาหนะที่สูงขึ้น เนื่องจากแหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะใจกลางเมือง ทำให้คนจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออกเมืองเป็นประจำทุกวัน ซึ่งหากเมืองไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างจริงจัง แน่นอนว่าในอนาคตผู้คนต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความสูญเสียที่มากขึ้นและถี่ขึ้น ที่มา https://share.traffy.in.th/teamchadchart ยิ่งขับขี่เร็ว การมองเห็นแคบลง ความสูญเสียยิ่งเพิ่มขึ้น นอกจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว อุบัติเหตุทางเท้าก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจไม่แพ้กัน ปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนในเมืองมากขึ้น เช่น Traffy Fondue แพลตฟอร์มรับแจ้งปัญหาของเมือง ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นของเมือง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น จากข้อมูลของ Traffy Fondue แสดงให้เห็นว่าประเด็นที่ได้รับแจ้งและได้รับความสนใจจากประชาชนมากเป็นอันดับต้น ๆ คือ “อุบัติเหตุบนทางเท้า” เนื่องจากทางเท้าชำรุด การมีสิ่งกีดขวางบนทางเท้าทำให้คนจำเป็นต้องเดินลงบนถนน การขับรถจักรยานยนต์บนทางเท้า และแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ 5 จุดเสี่ยงเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดจากในกรุงเทพฯ ปี 2563-2565 โดย Thai RSC ที่มา https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters 5 จุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในกรุงเทพฯ 1) ถนนเพชรเกษม […]

จริงหรือ? ถ้าเมืองมีทางเท้าที่ดี เราจะมีเงินเก็บ

26/06/2023

กรุงเทพดุจเทพสร้างของเราในปัจจุบันกินเวลาและเงินเราไปเยอะขนาดไหน? หลายคนในกรุงเทพอาศัยอยู่ในย่านใจกลางเมืองที่ถึงแม้จะมีระบบขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT, รถเมล์ และอื่นๆอีกมากมาย แต่ยังคงเลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัว และเสียเวลาเดินทางเฉลี่ยถึงวันละ 2 ชั่วโมง พร้อมกับจ่ายค่าน้ำมันที่แพงขึ้นทุกวัน แล้วอะไรที่ทำให้คนเหล่านี้เลือกที่จะไม่ใช้การเดินหรือระบบขนส่งสาธารณะ? ที่มาภาพ: TomTom — Mapping and Location Technologytomtom.comhttps://www.tomtom.com เคยคิดเล่นๆไหม ว่าวันนึงเราเสีย “เงินและเวลา” ไปกับการเดินทางเท่าไหร่? นางสาวบีเป็นพนักงานออฟฟิศที่กำลังตัดสินในซื้อรถเป็นของตัวเอง บ้านบีห่างจากที่ทำงาน 5 กิโลเมตร บ้านบีอยู่ฝั่งธน ส่วนที่ทำงานบีอยู่ที่สามย่าน ทุกวันในการเดินทางบีที่อยู่ในซอยลึกจะต้องเรียกวินมอเตอไซค์เพื่อไปหน้าปากซอยเพื่อไปลงที่ BTS ที่มีฝูงชนมหาศาล ซึ่งบีก็ต้องรออีก 10 นาที ถึงจะได้ขึ้นขบวนเพื่อไปลงศาลาแดงแต่ที่ทำงานของบีอยู่ห่างออกไปไกลจากสถานี บีจึงต้องลงมาต่อวินอีกครั้งกว่าจะถึงที่ทำงาน บีที่ตัดสินใจจะซื้อรถจึงได้ทำบัญชีรายจ่ายในการเดินทางต่อเดินเทียบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเริ่มจากการใช้ขนส่งสาธารณะ ผลลัพธ์ที่น่าตกใจคือเมื่อรวมการเดินทางทั้งหมดในระยะเวลา 1 เดือน บีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแค่กับการเดินทางถึงเดือนละ 3,960 บาท ซึ่งถ้าบีเป็นพนักงานเงินเดือนธรรมดาที่มีเงินเดือน 17,000 บาทต่อเดือน แค่ค่าเดินทางนี้จะทำให้เงินเดือนบีหายไปถึง 23% แล้วถ้าบี ตัดสินใจซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคาประมาณ […]

มองเมืองจากทางเดินเท้า: กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ

26/06/2023

หากกล่าวถึงกรุงเทพมหานคร เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกถึงมหานครที่มีกิจกรรมอันหลากหลาย ทว่าคับคั่งไปด้วยความแออัดของผู้คน แม้จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะครอบคลุมในหลายพื้นที่ของเมือง แต่ก็มีปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากการใช้พาหนะส่วนตัว จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเช่นปัจจุบัน ในอีกแง่มุมหนึ่งกรุงเทพมหานครกลับเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเดินเท้าด้วยองค์ประกอบและสาธารณูปโภค-สาธารณูปการต่าง ๆ ภายในเมือง เช่น การกระจุกตัวของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงร้านค้ารายทาง การมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่เข้าถึงได้ การที่มีไฟส่องสว่างที่สร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน หรือการมีต้นไม้คอยให้ร่มเงาตลอดทางเดินในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครไม่นิยมที่จะสัญจรด้วยการเดินเท้า สืบเนื่องจากหลายปัจจัย อาทิสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง เช่น ความปลอดภัยบนทางเท้า สภาพทางเท้าที่ชำรุดทรุดโทรม ทางเท้าที่แคบเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง-หาบเร่แผงลอยที่ไม่เป็นระเบียบ หรือกระทั่งผิวทางที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้พิการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงลักษณะทางเท้าที่เหมาะสมควรมีลักษณะอย่างไร? ทำไมเราจึงให้นิยามทางเท้าของกรุงเทพฯ ว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ” เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาของทางเท้า กรณีศึกษาในต่างประเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเมืองที่ดีได้ในอนาคต กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ หากนิยามทางเดินเท้ากรุงเทพฯ ด้วย 3 คำสั้นๆ คงหนีไม่พ้นคำว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน ไม่สำคัญ” “วุ่นวาย” สภาพปัญหาบนทางเท้าในกรุงเทพมหานครมีความวุ่นวาย จากการที่ กรุงเทพฯ […]