บ้านสูง เมืองต่ำ : ถอดความหนังเอเชียรางวัลออสการ์ ผ่านงานสร้าง ‘ขั้นบันได’ แบบ ‘ชนชั้นปรสิต’

06/10/2020

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนคงรู้จัก หรือได้ยินชื่อภาพยนตร์ หนังแนวธริลเลอร์/ตลกร้ายสัญชาติเกาหลีใต้อย่าง Parasite (หรือ ‘ชนชั้นปรสิต’ ในบ้านเรา) ของผู้กำกับ บงจุนโฮ (Bong Joon-ho) ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญด้วยการคว้ารางวัลใหญ่สุดในสาขา ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ (Oscars หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Academy Awards) ครั้งที่ 92 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มาครอง นับเป็นหนังจากเอเชียเรื่องแรกที่สามารถทำได้บนเวทีรางวัลชั้นนำด้านภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยถือเป็นการตอกย้ำปรากฏการณ์ความนิยมข้ามทวีปของตัวหนังอย่างสวยสดงดงาม หลังชนะรางวัล ‘ปาล์มทอง’ (Palme d’Or) อันทรงเกียรติจากเทศกาลหนังเมืองคานส์มาเมื่อกลางปี 2019 และจนถึงตอนนี้ Parasite ก็กวาดเงินจากการออกฉายทั่วโลกไปมากกว่า 266 ล้านเหรียญสหรัฐฯ! ความยอดเยี่ยมของหนังทำให้การดูซ้ำ หรือดูช้ากว่ากระแส ไม่ได้เป็นปัญหาเลย แถมยังได้เห็นอะไรใหม่ๆ เสียด้วยซ้ำ   นอกจากความสำเร็จครั้งมโหฬารของหนังร่วมทวีปเรื่องนี้จะเกิดจากฝีไม้ลายมือของทั้งผู้กำกับที่เล่าเรื่อง ‘ครอบครัวคนจนที่แฝงตัวมารับใช้ครอบครัวคนรวยเพื่อหวังปอกลอก’ ได้อย่างแยบคาย และทีมนักแสดงหลากรุ่นที่ถ่ายทอดตัวละครทุกตัวได้อย่างเปี่ยมมิติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมแรงให้ตัวหนังออกมาทรงพลังจนสามารถจับใจผู้ชมได้ในวงกว้างขนาดนี้ ก็คือ ‘งานสร้าง’ สุดปราณีตบรรจง โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ ‘บ้าน’ สำหรับตัวละครต่างครอบครัว และการออกแบบ ‘เมือง’ แวดล้อม ที่ดูจะสอดรับกับ ‘ความหมาย’ ของเรื่องเล่าใน Parasite จนแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน […]

สร้าง ‘เมือง’ เพื่อสร้าง ‘หนัง’ … ศิลปะสุดทะเยอทะยานหรืออีกหนึ่งเผด็จการในโซเวียตรัสเซีย?

22/05/2020

บ่อยครั้งที่ ‘เมือง’ (Urban) หรือแม้แต่ ‘ความเป็นเมือง’ (Urbanization) มักถูกนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ในฐานะของ ‘ฉากหลัง’ ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องเล่าให้ออกมาเปี่ยมเสน่ห์จนสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ทว่าไม่บ่อยนักที่พวกมันจะถูกก่อร่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะในฐานะของอีกหนึ่ง ‘ตัวละคร’ ที่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไม่แพ้บรรดาตัวละครมนุษย์ กรณีศึกษาที่โดดเด่นที่สุดแห่งยุคสมัยคงหนีไม่พ้น DAU โปรเจ็กต์หนังศิลปะสุดทะเยอทะยานที่ผู้กำกับชาวรัสเซียอย่าง อีล์ยา คาร์ซานอฟสกี (Ilya Khrzhanovsky) ลงทุนปลูกสร้างฉาก ‘สถาบัน’ (The Institute) อันเป็นภาพแทนของสังคมเผด็จการสหภาพโซเวียตระหว่างยุค 30-60 บนโลเคชั่นถ่ายทำขนาดใหญ่ในยูเครน รวมถึงใช้เวลาปลุกปั้นผลงานภายใต้กฎกองถ่ายอันแสนเข้มงวดเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ! ที่สำคัญ, ตัวหนังและวิธีการ ‘สร้างเมือง’ ของคนทำหนังอย่างคาร์ซานอฟสกียังนำเราไปสู่ประเด็นถกเถียงทางสังคมอันเผ็ดร้อน ทั้งการตั้งคำถามถึงจริยธรรมการทำงาน และการส่องสังเกตพฤติกรรมเผด็จการของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยลับอันน่าเกรงขามที่มีขนาดเทียบเท่าเมืองจริงๆ รวมถึงความเป็นเมืองที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในกองถ่าย DAU จึงก้าวไปไกลกว่าการเป็น ‘แค่ฉากหลัง’ ดาษดื่นในหนังทั่วไป และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาต่อยอดในหลากหลายมิติอย่างไม่ต้องสงสัย  1 ในแวดวงนักดูหนัง คาร์ซานอฟสกีคือคนทำหนังที่ถูกพะยี่ห้อด้วยคำว่า ‘เฮี้ยน’ มาตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกอย่าง 4 เมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากพล็อตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านอันเกี่ยวพันกับหนุ่มสาวสี่คนในบาร์เหล้า แผนการโคลนนิ่งมนุษย์ และรัฐบาลอันไม่น่าไว้วางใจของ วลาดิเมียร์ ปูติน […]