มองเมืองจากทางเดินเท้า: กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ

26/06/2023

หากกล่าวถึงกรุงเทพมหานคร เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกถึงมหานครที่มีกิจกรรมอันหลากหลาย ทว่าคับคั่งไปด้วยความแออัดของผู้คน แม้จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะครอบคลุมในหลายพื้นที่ของเมือง แต่ก็มีปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากการใช้พาหนะส่วนตัว จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเช่นปัจจุบัน ในอีกแง่มุมหนึ่งกรุงเทพมหานครกลับเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเดินเท้าด้วยองค์ประกอบและสาธารณูปโภค-สาธารณูปการต่าง ๆ ภายในเมือง เช่น การกระจุกตัวของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงร้านค้ารายทาง การมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่เข้าถึงได้ การที่มีไฟส่องสว่างที่สร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน หรือการมีต้นไม้คอยให้ร่มเงาตลอดทางเดินในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครไม่นิยมที่จะสัญจรด้วยการเดินเท้า สืบเนื่องจากหลายปัจจัย อาทิสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง เช่น ความปลอดภัยบนทางเท้า สภาพทางเท้าที่ชำรุดทรุดโทรม ทางเท้าที่แคบเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง-หาบเร่แผงลอยที่ไม่เป็นระเบียบ หรือกระทั่งผิวทางที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้พิการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงลักษณะทางเท้าที่เหมาะสมควรมีลักษณะอย่างไร? ทำไมเราจึงให้นิยามทางเท้าของกรุงเทพฯ ว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ” เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาของทางเท้า กรณีศึกษาในต่างประเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเมืองที่ดีได้ในอนาคต กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ หากนิยามทางเดินเท้ากรุงเทพฯ ด้วย 3 คำสั้นๆ คงหนีไม่พ้นคำว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน ไม่สำคัญ” “วุ่นวาย” สภาพปัญหาบนทางเท้าในกรุงเทพมหานครมีความวุ่นวาย จากการที่ กรุงเทพฯ […]

พื้นที่สุขภาวะ: กับการเติมเต็มชีวิตผู้สูงอายุ

19/06/2023

ทุกคนเคยสังเกตกันไหมว่าทำไมละแวกบ้าน และชุมชนของเราถึงไม่มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าหากเรามีพื้นที่เหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยปัจจัยที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น ไม่มีเวลา สวนสาธารณะอยู่ไกลจากที่พักอาศัย หรือถ้าจะออกกำลังกายที่บ้านก็มีพื้นที่ที่จำกัด โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุ การที่จะให้ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะยิ่งเป็นเรื่องที่ยาก ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่ได้พร้อมและปัจจัยอื่น ๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลบริการสถิติข้อมูล กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย พบว่า ในปี 2565 จำนวนผู้สูง มีจำนวน 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อยู่ 0.5% แสดงให้เห็นว่าในอนาคตสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น เมืองควรมีพื้นที่กลางสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร ? ที่จะสามารถเชื่อมโยงหรือรองรับกับกลุ่มคนสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่เหงาหงอย บทความนี้จะพาทุกท่านส่อง 3 เมือง ทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่มีพื้นที่สุขภาวะที่ดี ที่ส่งเสริมการสร้างและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม ที่นอกจากจะส่งเสริมผู้สูงอายุสุขภาพกายแข็งแรงแล้วนั้น ยังส่งเสริมมิติด้านจิตใจ สติปัญญา และทางสังคม […]