สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

ก่อนคลื่นความร้อน (heat wave) ถึงจุดพีคและเป็นสาเหตุการตายของอันดับ 1 ของคนเมือง

10/07/2021

หลังสถานการณ์โควิด-19 ของ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา บรรเทาความรุนแรงได้ไม่นาน ทว่า เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา กลับมีเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วกว่า 700 ราย ในช่วงเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากคลื่นความร้อน (heat wave) ที่ส่งผลให้อุณหภูมิของเมืองพุ่งทะลุกว่า 49.5 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเดิมเมื่อ 84 ปีก่อน ที่ 46.6 องศาเซลเซียสไปอย่างขาดลอย หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อรัฐบริติชโคลัมเบีย รายงานว่า ตัวเลขการตายจากคลื่นความร้อนสูงกว่าการตายจากไวรัสโควิด-19 หลายเท่า เมื่อคลื่นความร้อนเป็นผู้คร่าชีวิตเมืองถัดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกได้ทะลุหลัก 4 ล้านคนไปแล้วเมื่อสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2564 แต่เหตุการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่เมืองบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ที่คร่าชีวิตผู้คนนับน้อยในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยเฉพาะคนสูงอายุและผู้อยู่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวในบ้าน กระทั่งปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก ทำให้สำนักข่าวท้องถิ่นและสำนักข่าวต่างประเทศ ยกให้คลื่นความร้อนเป็น “นักคร่าชีวิต” รายถัดไปต่อจากโควิด-19 คณะนักวิจัยนำทีมโดย Antonio Gasparrini จาก the London School […]

ปรากฏการณ์ Bike Boom ทั่วยุโรป จากการเคลื่อนที่ในเมืองที่เปลี่ยนไปเพราะวิกฤตโควิด-19

22/06/2021

โรคระบาดสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติในหลายช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เช่นกันกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อปลายปี 2019 ที่ทำให้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ เช่น การเดินทางและการเคลื่อนในเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป จากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส เพิ่งนำเสนอสารคดีเชิงข่าวความยาวประมาณ 30 นาที พาสำรวจปรากฏการณ์ Bike Boom ในหลายเมืองทั่วยุโรป ที่พบว่าวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา เปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางและรูปแบบการเคลื่อนที่ในเมืองอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะค่านิยมการใช้งานจักรยาน แทนการใช้บริการขนส่งสาธารณะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส ปรากฏการณ์ Bike Boom ไม่เพียงสะท้อนผ่านจำนวนคนใช้จักรยานที่เพิ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว กระทั่งจักรยานขาดตลาดและต้องอาศัยการสั่งจองล่วงหน้านานนับเดือน มลพิษในอากาศน้อยลงกว่า 50% เมืองเปลี่ยนผิวจราจรของรถยนต์เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งของผู้คน ฯลฯ หากยังสะท้อนผ่านการกำหนดนโยบายของเมืองที่รองรับค่านิยมดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกะทันหัน ตลอดจนการป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว อัมสเตอร์ดัม – จักรยานคาร์โก อีกก้าวของเมืองหลวงจักรยานของโลก หลายเมืองในยุโรปรับมือกับปัญหาการเดินทางในช่วงโควิด-19 ด้วยจักรยาน แทนการใช้บริการขนส่งสาธารณะที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ พูดถึงจักรยานเชื่อว่าหลายคนคิดถึงเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะเมืองหลวงจักรยานของโลก ต้องย้อนไปในอดีตเมื่อเนเธอร์แลนด์เคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีถนนอันตรายที่สุดสำหรับเด็ก กระทั่ง Maartje van Putten เริ่มต้นแคมเปญ หยุดการฆาตกรรมเด็ก เมื่อปี 1973 […]