FOOD DELIVERY : รัก Food เท่าฟ้า

16/06/2020

ธุรกิจ Delivery ในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2532 โดยบริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป และหลังจากนั้นก็มีการเปิดตัวการให้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์และเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2540 และ 2550 ตามลำดับ โดยภาพจำในอดีตของการส่งสินค้าเดลิเวอรี่นั้นก็มักจะเป็นอาหารประเภทพิซซ่าหรือไก่ทอดเจ้าดังที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งทางโฆษณาโทรทัศน์ แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมากขึ้น ทำให้ธุรกิจประเภท Delivery นี้สามารถเข้าถึงร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจำกัดด้านขนาดของร้านค้าอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะมีร้านขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือแม้แต่ไม่มีหน้าร้านสำหรับนั่งทานอาหาร คุณก็ยังคงสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้คนส่วนใหญ่จำต้องทำงานแบบ work from home ร้านอาหารก็งดการนั่งรับประทานที่ร้าน และท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวของเดือนเมษายนทำให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Food Delivery กลายมาเป็นทางเลือกที่สำคัญและอาจจะจำเป็นอย่างมากสำหรับใครหลาย ๆ คน  วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับ คุณธนกฤต, คุณวีระ, คุณอมรพล และคุณพิยดา กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถรับส่งอาหารในกรุงเทพมหานครกันว่า ในแต่ละวันที่ต้อง Work from everywhere นั้นการทำงานและวิถีชีวิตของแต่ละคนเป็นเปลี่ยนไปแค่ไหนและเป็นอย่างไรกันบ้าง (ในบทสัมภาษณ์นี้ทางผู้สัมภาษณ์ขออนุญาตใช้นามสมมติเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์) ทำ Food  Delivery มานานหรือยัง ? ธนกฤต : “เพิ่งเริ่มทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ ปกติทำตัดต่อกับโปรดิวเซอร์ที่โปรดักชั่น เฮ้าส์ […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

Where we belong ในช่องว่างของความไม่รัก

20/04/2020

6 ปีของคุณยาวนานแค่ไหน ? เท่าที่มองเห็น 6 ปีที่ผ่านมานี้ได้เปลี่ยนแปลงหลายสิ่งเกี่ยวกับใครต่อใครไปมากทีเดียว จากนักเรียนสู่นักศึกษา จากนักศึกษาสู่พนักงาน จากต่างจังหวัดสู่เมืองหลวง และอาจยาวนานมากพอที่จะเปลี่ยนให้เด็กหลายคนเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่โกรธเกรี้ยว เศร้าโศก สิ้นหวัง และกำลังจะเฉยชาอย่างมากได้ในเวลาเดียวกัน และท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กลับมีหลายสิ่งเช่นเดียวกันที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย ‘กรุงเทพมหาคร’ เมืองใหญ่ที่ใหญ่กว่าปทุมธานีแค่สี่สิบกว่าตารางกิโลเมตร แต่กลับมีประชากรมากเกือบ 6 ล้านคน แม้คนจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเติบโตของเมืองกลับไม่ได้ช่วยใครเข้าถึง ‘ชีวิตดีๆที่ลงตัว’ ได้มากขึ้นเท่าไหร่นัก ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำไม่เคยลดน้อยลง ความเจริญผูกเป็นปมหนาอยู่กลางเมือง และคนส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อชดเชยในส่วนที่สวัสดิการจากรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวมันเองได้ดีพอ การเดินทางในกรุงเทพฯไม่เคยเป็นเรื่องง่ายสำหรับใครก็ตาม  การเดินออกไปสำรวจเมืองในวันนี้ ฉันเลือกที่จะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ อย่างรถตู้ รถเมล์ รวมถึงรถไฟฟ้า  แม้จะมีเงินไม่มากนัก แต่บางครั้งการจ่ายค่ารถเมล์ในราคาหลักสิบก็อาจเป็นเรื่องที่ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะเงินจำนวนน้อยเท่านี้อาจไม่คุ้มค่าเลยเมื่อเทียบกับสิ่งที่คุณจะได้รับจากการบริการของขนส่งมวลชน รวมถึงเวลามากพอสมควรที่ต้องสูญเสียไปบนท้องถนน  และหากจะเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าคุณก็อาจต้องจ่ายราว 30 – 120 บาท ต่อการโดยสารไปและกลับในหนึ่งรอบจากรายได้เฉลี่ย 620 บาท (อ้างอิงโดยประมาณจากเว็บไซต์ลงทุนศาสตร์ 2018) จริงอยู่ที่ในปัจจุบันรถไฟฟ้านั้นสามารถเข้าถึงพื้นที่ส่วนอื่นๆได้มากขึ้น แต่ราคาของมันก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน นี่จึงทำให้ความไม่ปกติอย่างการต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อการคมนาคมที่ดีตามมาตรฐานนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย พื้นที่ในอีกฟากของเมืองนำเราไปรู้จักกับเมืองอีกแบบที่เราอาจไม่คุ้นเคย  ราคาของที่อยู่อาศัยที่แพงเกินกว่าค่าครองชีพไปหลายเท่านั้นทำให้หลายคนเลือกที่จะเช่าบ้าน รวมถึงพึ่งพาสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยจากภาครัฐที่ดูเหมือนจะไม่ดีเท่าไหร่นัก ฝุ่นควันจากการคมนาคมบนทางด่วนตกลงสู่หลังคาเบื้องล่าง คนในชุมชนยังคงใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติแม้ว่าฝุ่นที่ว่าอาจกระจายอยู่แทบทุกอณูในอากาศ และระยะถนนระหว่างสองบ้านที่ห่างกันเพียงหนึ่งก้าวเล็ก […]