กรุงเทพฯ ในมุมที่ช้าลง ของคนวิ่ง City Run ส่งกาแฟ กรีฑา รัตนโพธิ

20/07/2020

ถ้าเข้าไปดูในเฟซบุ๊คส่วนตัวของ กรีฑา รัตนโพธิ จะเจอข้อความที่คล้ายเป็นม็อตโต้ของเขาอย่าง “เดินให้ช้าลง ชีวิตมีสุขมากขึ้น” แนวคิดของข้อความนี้หลายคนคงเห็นด้วยว่ามันฟังดูดี แต่คำถามคือ มีใครบ้างที่ลงมือปฏิบัติ ทำชีวิตตัวเองให้ช้าลง และได้รับความสุขที่เพิ่มขึ้นจริงๆ กรีฑาไม่ได้แปะข้อความไว้เท่ๆ อย่างเดียว แต่เขาลงมือทำให้ชีวิตช้าลง ด้วยการลาออกจากงานประจำที่ทำมายี่สิบกว่าปี เพราะความอิ่มตัวและชีวิตที่คร่ำเครียดจนเกือบส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และออกมาเป็นคนคั่วเมล็ดกาแฟด้วยมือขายภายใต้แบรนด์ “กม กาแฟ” กรีฑาไม่มีชื่อเล่น เขามีชื่อที่เข้ากับกีฬาวิ่งนี้มาตั้งแต่เกิด ก่อนที่จะเริ่มวิ่งเมื่อประมาณ 6 ปีก่อน และขยับมาวิ่งซิตี้รันครั้นเมื่อเห็นว่าไหนก็ต้องไปส่งกาแฟให้ลูกค้าอยู่แล้ว ก็เลยวิ่งซิตี้รันไปส่งกาแฟให้ลูกค้าเสียเลย จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็นกิจวัตร ที่เหมือนเป็นทั้งการทำงานและการพักผ่อนไปในตัว การวิ่งซิตี้รันก็คือการทำชีวิตให้ช้าลงอีกอย่างหนึ่งของกรีฑา เพราะมันทำให้เขาได้เห็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ ในอีกมุมหนึ่ง ที่วิถีของการเดินทางปกติไม่อาจเห็น และยังนำความรื่นรมย์มาให้ชีวิต เรามาทำความรู้จักเมืองในอีกมุมมอง ผ่านชีวิตที่เคลื่อนไปช้าๆ ของผู้ชายคนนี้กัน ประสบการณ์การวิ่งซิตี้รันครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง ผมเริ่มวิ่งมาประมาณ 6 ปี เริ่มจากวิ่งในสวน ขยับมาวิ่งงานซึ่งปีแรกก็เบื่อแล้ว ขี้เกียจตื่นเช้าเกินไปเลยวิ่งบนถนนเสียเลย ผมวิ่งซิตี้รันมาน่าจะประมาณ 5 ปีแล้ว วิ่งซิตี้รันครั้งแรกไม่ประทับใจเลย อย่างแรกคือควัน ฝุ่น สภาพฟุตบาท ผมวิ่งจากบ้านแถวจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานซังฮี้ไปวชิระ เลี้ยววนกลับ ได้ประมาณ 5 […]

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ โลกการทำงานหลังยุคโควิด-19 เมื่อ ‘งาน’ ไม่ได้ติดอยู่กับ ‘เมือง’ อีกต่อไป

05/05/2020

โลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ หนึ่งในเรื่องที่หลายคนอยากรู้ก็คือ โฉมหน้าของการทำงานในเมืองนับจากนี้ ซึ่งหนึ่งใน New Normal ยุคโควิด-19 ก็คือการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home  เราอยากรู้ว่าหลังจากนี้ บริษัทต่างๆ จะมีทิศทางในการทำงานอย่างไร ความจำเป็นของการมีออฟฟิศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะไหน เพราะทำงานที่ไหนก็ได้ หรือวิถีเช่นนี้จะไปกระตุ้น Gig Economy ซึ่งก่อนหน้านี้กำลังมีบทบาทอย่างมากอย่างไร นี่เป็นเรื่องของคนทำงานในเมืองจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกคนจะย้ายตัวเองไปทำมาหากินบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ดังที่เราเห็นว่า คนที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกจำนวนมากต้องตกงานและระเห็จกลับภูมิลำเนา สิ่งนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับเมืองบ้าง และในเมื่อเมืองไม่มีงานไม่มีเงินอีกต่อไป คนเหล่านี้ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองอีกหรือไม่   เราชวน อ.ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ หนึ่งในนักวิจัยจากโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ พูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานในเมืองในยุคโควิด-19 และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งน่าจะกลายเป็น New Normal ของการสัมภาษณ์เช่นกัน หลังจากเกิดโควิด-19 ผลกระทบกับตัวคุณเองในแง่การทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และมีประสบการณ์ต่อการ Work from home อย่างไร ส่วนตัวไม่ได้ประสบปัญหามาก […]

ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เหตุผลที่เราควรมีบทสนทนาเรื่อง ‘ความตาย’ กันมากขึ้น

25/02/2020

นี่ไม่ได้พูดถึงการถกกันเรื่องความตายในเชิงปรัชญา ความหมายของการมีชีิวิต หรือตายแล้วไปไหนอะไรแบบนั้น แต่หมายถึงว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยคุยกับคนในครอบครัวเลยว่า ถ้าเราตายต้องทำอย่างไร ถ้าป่วยระยะสุดท้ายสื่อสารอะไรไม่ได้ให้ญาติตัดสินใจอย่างไร เราอยากตายที่ไหน บ้านหรือโรงพยาบาล คุยแบบบอกกล่าวกันไว้จริงๆ จังๆ  สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามักพบว่ามีคนจำนวนมากถูกเจาะคอถูกปั๊มหัวใจยื้ออยู่ชีวิตในโรงพยาบาล ซึ่งท้ายที่สุดก็ตายไปแบบน่าหดหู่ที่โรงพยาบาลนั่นเอง ซึ่งถ้าถามทุกคนว่าอยากตายที่ไหน แทบทุกคนคงตอบว่าที่บ้าน  ในอีกมุมหนึ่ง สังคมไทยกำลังเดินหน้าสู่สังคมผูู้สูงอายุ เราพูดถึงการออกแบบอะไรต่างๆ ของเมืองที่จะรองรับผู้สูงอายุ แล้วหลังจากผู้สูงอายุเหล่านั้นตายไปแล้วล่ะ ยังไม่มีเรื่องความตายเข้าไปอยู่ในสมการ ขณะเดียวกันวิถีชีิวิตของเมืองก็ทำให้มีคนอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น ทำให้เกิดการที่มีคนตายอยู่เพียงลำพังกว่าจะมีคนมาพบ มีศพไร้ญาติอยู่ตามมูลนิธิต่างๆ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่เป็นเรื่องที่เมืองควรมีอยู่ในแผนของการจัดการ เหล่านี้คือบางส่วนของเหตุผลที่เราควรมีบทสนทนาเรื่อง ‘ความตาย’ กันมากขึ้น สืบเนื่องจากการที่เราได้สนทนาเรื่องความตายกับ ผศ. ดร. ภาวิกา ศรีรีตนบัลล์ เจ้าของหัวข้อวิจัย ‘การตายและความตายในเมือง’ งานวิจัยในโครงการ ‘คนเมือง 4.0’ อนาคตชีวิตคนเมืองของไทย ซึ่ง ผศ. ดร. ภาวิกา (และวรากร วิมุตติไชย ผู้ช่วยวิจัย) ศึกษาเรื่องความตายผ่านสองประเด็นหลัก ได้แก่ การมีชีวิตช่วงสุดท้าย และการจัดการร่างหลังเสียชีวิต อาจารย์ภาวิกาชี้ให้เราเห็น มากกว่าเพื่อจะจัดการกับความตายและการตายแล้ว การเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องความตายยังให้อะไรเรามากกว่านั้น Q: ตอนที่ได้รับโจทย์หัวข้องานวิจัยนี้มา […]