เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

A Walk Along San Pedro of Lake Atitlan กว่า San Pedro และทะเลสาบ Atitlan จะได้กลับมา

19/05/2020

คนพูดถึงทะเลสาบอทิตแลน ในประเทศกัวเตมาลา ด้วยสายตามีประกาย และเป็นสถานที่ที่สวยที่สุดของหลายคนที่ฉันเจอบนถนนการเดินทาง แต่บางทีการได้ยินเรื่องเดียวเดิมๆ ซ้ำๆ มันทำให้ฉันกลัวว่าจะไม่เห็นด้วยเหมือนคนอื่น  แต่ฉันก็เห็นด้วยทันทีที่ได้ลงเรือข้ามทะเลสาบ มุ่งหน้าไปหมู่บ้านเล็กๆ ซาน เปโดร ลา ลากูน่า ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของทะเลสาบ เหมือนจะขีดเส้นตรงไปแล้วเจอกันทันที ก่อนจะถึงซาน เปโดร เรือแวะส่งและรับคนตามหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ขอบด้านหนึ่งของทะเลสาบที่เราเลาะไป จะเรียกให้ใช่ก็คือ น้ำในปากปล่องภูเขาไฟที่ปะทุระเบิดมานานนมแล้ว และฉันก็เห็นภูเขาไฟที่ไม่พยศแล้ว แต่มีเมฆเหนือยอดลอยล้อม เหมือนเป็นมงกุฎเป็นวิวของทะเลสาปแห่งนี้ ถ้าตัดเสียงเครื่องยนต์จากเรือออกไป ฉันคงไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการเลยว่า การเดินทางนี้เป็นการเข้าสู่อีกอาณาจักร ไม่ใช่เมืองไม่ใช่หมู่บ้าน แต่เป็นอีกจักรวาลที่อยู่รอบๆ ทะเลสาบ ผู้หญิงสาวร่างมีเยื้อมีหนังในผ้านุ่ง แบบนุ่งผ้าซิ่น แต่ผ้าเป็นลายทอออกเป็นสัญลักษณ์เรขาคณิต ที่ทับซ้อนเป็นสีหม่นในหลายเฉด รัดเข็มขัดเส้นใหญ่เป็นผ้าทออีกชนิดเช่นกัน แต่เสื้อที่ใส่นั้น คือราชินีของงานปักที่เห็นแล้วกระพริบตาไม่ได้ทีเดียว เสื้อคอเหลี่ยมแขนตุ๊กตาจีบ ปักเป็นป่าทั้งป่า มีทั้งผีเสื้อ นก ดอกไม้ ใบไม้ บนแผ่นหน้าของเสื้อ สวยสดจนเกือบลืมมองภูเขาไฟไปชั่วขณะ คนแล้วคนเล่าก้าวเท้าขึ้นฝั่งจากเรือ จนกระทั่งเหลือฉัน และนักท่องเที่ยวพูดภาษาสเปนอีกสองสามคน ที่มีปลายทางเป็น ซาน เปโดร หนึ่งในสิบสี่หมู่บ้านของเผ่ามายาที่ตั้งอยู่รอบทะเลสาบ ซาน เปโดร เป็นหมู่บ้านที่มีบรรพบุรุษเป็นเผ่าซุตุฮิล […]

Bangkok Landscape ที่ไม่ได้เปลี่ยนขอบฟ้า แต่เปลี่ยนความคิด

03/01/2020

ความลับของกรุงเทพ คือการรู้จักทางลับของเส้นทางเดิน  เพราะมันหายากยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งสิ้น ในขณะที่ความระบาดของการขยายสิ่งก่อสร้างทุกสิ่งเติมพื้นที่ให้เต็ม ไม่ได้เกิดจากการคิดถึงประโยชน์ของการใช้งาน ศึกษาถึงวิถีชีวิตของชุมชน ไม่สนใจหัวใจของการออกแบบที่ต้องมีทั้ง beauty และ function ก็เหมือนกับว่านับวันๆ ยิ่งไม่มีที่จะให้ยืน ไม่มีที่จะให้เดิน ซึ่งแปลว่าไม่มีทางให้เดินได้จริงๆ ขอบฟ้ากรุงเทพเปลี่ยนไปอย่างน่าทึ่งทุกๆหกเดือน ไวกว่าปลูกต้นไม้ก็ไม่ผิดนัก จนความตกใจกับการเปลี่ยนแปลงของแลนสเคปเมือง เกือบเป็นเรื่องที่ไม่ต้องตกใจอีกต่อไป มันแปลกมากที่ความเป็นเด็กฝั่งธนบุรีตั้งแต่เกิดจนถึงอายุประมาณ 10 ขวบเท่านั้นของฉัน หยั่งลึกฝังรากในความทรงจำ อารมณ์​ และหลอมรวมเป็นบุคลิกของตัวเอง ชัดกว่าช่วงอายุอื่นๆ ถึงแม้จะไม่ได้กลับไปฝั่งธนบุรีบ่อยเท่าไหร่ แต่ไม่เคย ไม่เคยลืมทางเดินเดิมที่ใช้ผ่านจากบ้าน ไปโรงเรียน ไปวัดระฆัง ไปลานดูหนังกลางแปลง ไปชุมชนติดกันคือบ้านช่างหล่อที่จะเดินผ่านโรงหล่อพระทะลุไปที่อีกถนนได้ ไปกินน้ำแข็งไสวัดวิเศษนิยม ไปบ้านทำขนมบ้าบิ่นทางทะลุไปตลาดพรานนก ไปโรงพยาบาลศิริราช ไปศาลเจ้าเกลือ ไปฝากเงินที่ธนาคารออมสิน ไปยืนแอบฟังเสียงซอตอนเย็นจากซอยข้างๆ ไปศาลาไอศกรีมโฟร์โมส และไปท่าน้ำเพื่อจะลงเรือข้ามเจ้าพระยาไปสู่ฝั่งกรุงเทพ ตรอกทางเดินเส้นเล็กคดเคี้ยวไปตามชุมชนเหมือนมีใครทิ้งเชือกลงพื้น ทอดตัวทรงไหนทรงนั้น ทำให้ฉันเป็นคนชอบความซอกแซก พิศวงกับการลองเข้าซอยที่พบผ่าน เพราะนั่นอาจแปลว่าฉันกำลังจะได้เจอทางลัดใหม่ หรือทะลุผ่านไปชุมชนที่ไม่เคยรู้จัก  และฉันว่า นี่คือแลนสเคปอีกประเภทหนึ่งของกรุงเทพ ที่ไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ขอบฟ้า แต่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดต่อเมือง ต่อชีวิต และทัศนคติต่อความเป็นการอยู่ในเมืองแบบไม่โดดเดี่ยวเพราะมีความหลากหลายร้อยพ่อพันแม่ของความเป็นชุมชน มีละคอนชีวิตของแต่ละครอบครัวที่ฝึกให้เรารับมือ เรียนรู้ เหลาจิต […]