Shannon: การสร้างเมืองด้วย Airport Duty-Free แห่งแรกของโลก

11/05/2020

การเดินทางไปต่างประเทศของหลายๆ คน มักแวะซื้อของที่ Duty-Free Shops หรือ ร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน จนทำให้ผู้รับสัมปทานร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินกลายเป็นมหาเศรษฐีในระดับโลก และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ให้สิทธิการงดเว้นภาษีบางอย่าง เพื่อจูงใจนักลงทุนกลายเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจยอดฮิต เราขอพาย้อนกลับไปสู่การเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีร้านค้าปลอดภาษีและพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมในเขตสนามบินแห่งแรกของโลก  สภาพเศรษฐกิจการเมืองไอร์แลนด์หลังประกาศอิสรภาพ หลังจากที่ไอร์แลนด์ได้ประกาศอิสรภาพแยกตัวจากสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 เศรษฐกิจการเมืองโลกก็เข้าสู่การถดถอย สายพานการผลิตหยุดชะงัก แรงงานถูกเลิกจ้าง สินค้าที่ผลิตก็ขายไม่ได้   การว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกกระทบถึงไอร์แลนด์อย่างมาก รัฐบาลพยายามหารายได้เพื่อนำงบประมาณมากระตุ้นการจ้างงานอย่างเร่งด่วน เพราะเกรงว่าชาวไอร์แลนด์จะอพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาจนเป็นกระแสทิ้งประเทศ  แต่ก็ดูเหมือนนโยบายการกระตุ้นการจ้างงานของรัฐบาลไม่ได้ผล จึงเป็นโอกาสให้กลุ่มทุนเข้ามามีบทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรงมากขึ้น ในการผลักดันโครงการที่หลุดไปจากกรอบคิดเดิมๆ จาก Seaplane สู่ Airport  ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การเดินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมักใช้ Seaplanes หรือ เครื่องบินแบบสะเทินน้ำสะเทินบก บินจากฝั่งอเมริกาลงแวะจอดเติมน้ำมันที่ชายฝั่งตะวันตกของไอร์แลนด์ จึงจะเดินทางต่อไปยังเกาะอังกฤษหรือยุโรปภาคพื้นทวีปได้  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการบินที่ต้องการสร้างเครื่องบินขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสิ่งของได้มากกว่าเดิม ทำให้ต้องการ Runway ที่รองรับน้ำหนักเครื่องบินขนาดใหญ่และได้มาตรฐานองค์กรการบินพลเรือน (ICAO)  รัฐบาลไอร์แลนด์ได้อนุมัติงบก่อสร้าง Shannon Airport จนแล้วเสร็จในปี 1942 แน่นอนว่าสนามบินไม่ได้เป็นเพียงที่แวะจอดเครื่องบินอีกต่อไป เพราะตระกูล O’Regan ได้รับเหมาจัดทำห้องอาหารสำหรับรับรองผู้โดยสารและลูกเรือจนเป็นที่กล่าวขานถึงการบริการชั้นเยี่ยม อาหารรสเลิศ จนทำให้สนามบินชันเนนเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินทาง Brendan O’Regan เจ้าพ่อร้านค้าปลอดภาษี […]

เมืองใหม่ยุค Baby Boomer และ การชุมนุมในปี 1968

18/02/2020

ปี 2019 ที่ผ่านมามีการชุมนุมประท้วงในหลากหลายเมืองทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมในฮ่องกงที่มีสาเหตุจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การประท้วงการขึ้นค่าระบบขนส่งในซานติอาโกของชิลี การชุมนุมต่อต้านการเปลี่ยนระบบสวัสดิการในปารีสฝรั่งเศส เมื่อขมวดปมของหลายเหตุการณ์  คำถามก็คือ การวางแผนรูปแบบเมืองนำไปสู่การชุมนุมประท้วงได้อย่างไร? เพื่อตอบคำถามนี้ จึงอยากจะพาย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงในปี 1968 ซึ่งเกิดจากการวางแผนเมืองรูปแบบใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การวางผังเมืองหลังสงครามและ Baby Boomers  เมื่อย้อนกลับไปยังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเมืองและผู้คนเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นช่วงที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าและซ่อมแซมเมืองให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงได้เกิดการวางแผนเมืองรูปแบบใหม่ ที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ทางการทหารกับการจัดการพื้นที่ที่ใหญ่กว่าเมืองแบบเดิม สหรัฐอเมริกาที่ไม่ได้เสียหายจากสงครามมากนักต้องการกระจายเมืองไปยังพื้นที่ใหม่ๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘New Towns Movement’ เพื่อลดความแออัดในเมืองอุตสาหกรรม มีการย้ายโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้งการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เพื่อรองรับประชากรที่จะเป็นกำลังทางทหาร เพราะแม้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น สหรัฐได้ส่งทหารหลายแสนนายไปประจำการในประเทศพันธมิตร ฉะนั้นจึงเกิดลักษณะการขยายเมืองไปพร้อมกับการขยายอุตสาหกรรมทางทหาร เช่น Willow Run ในมิชิแกนที่กลายเป็นเมืองผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 Los Alamos ในนิวเม็กซิโกกลายเป็นเมืองพัฒนาระเบิดปรมาณู รวมไปถึงการเปลี่ยนเมืองตอนกลางฝั่งตะวันตกให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องบิน เมื่อสภาคองเกรสได้เห็นชอบ G.I.Bill. หรือกฎหมายที่สนับสนุนให้ทหารเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวส. หรือ อุดมศึกษา จึงได้เกิดแนวคิดการปรับเมืองทหารสู่เมืองการศึกษา (College Town) ถือเป็นยุคทองของสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกา มีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหลายร้อยแห่ง โดยมุ่งหวังว่าการเรียนและการทำวิจัยจะช่วยให้สหรัฐฯเข้าใจสถานการณ์ในช่วงสงครามเย็นมากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายแคมปัสของมหาวิทยาลัยไปพื้นที่ต่างๆที่อยู่ไม่ไกลจากฐานทัพ เช่น […]