17/06/2023
Public Realm

เมืองสูงวัย: แนวทางการออกแบบเมืองสำหรับผู้สูงอายุ

คณิน นิ่มพิศุทธิ์
 


เมืองสำหรับผู้สูงอายุ

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุภายในปี 2565 ข้อมูลจาก คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย กล่าว ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) โดยประเทศไทยนั้นมีประชากรผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี กว่า 12.9ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าภายใน 15 ปีนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ super aged society ที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

สภาพแวดล้อมเหมาะสมนั้น เป็นการจัดการให้มีความพร้อมตามการใช้งานของผู้สูงวัย ทั้งในเรื่องของการทำกิจวัตรประจำวันในพื้นที่เดิมซ้ำ ๆ อาทิ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น หน้าบ้าน หรือห้องน้ำ จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยที่เหมาะสม ที่ต้องทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานของผู้สูงวัย ทั้งนี้จากที่ประเทศไทยนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นที่เรียบร้อย และในอนาคตข้างหน้าที่มีโอกาสเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการสาธารณะ ในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เมือง

การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก

การนำข้อแนะนำไปออกแบบอาคารหรือสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ โดยนำการออกแบบสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร หรือ Exterior Environments ที่มีความสำคัญต่อพูดใช้งานเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้สูงวัย ที่จะให้ผู้สูงวัยนั้นได้ใช้ชีวิตได้แบบปกติ และปลอดภัย โดยสภาพแวดล้อมที่ควรจะเป็นนั้นมีดังนี้ 1. ทางเดิน 2. ทางข้ามถนน 3. ทางลาดตัดคันหิน 4. อุปกรณ์ประกอบถนน 5. ที่จอดรถ และ 6. ทางเข้า-ออก อาคาร

ทางเดิน

ทางเดินภายนอกอาคารใช้กับทางเดินซึ่งสูงจากผิวจราจรไม่เกิน 0.20 เมตร ในส่วนของผิวทางเดินนั้น ต้องลาดชันตามแนวทางเดินไม่เกิน 1:12 และความลาดชันด้านขวาต้องไม่เกิน 1:48 ต้องมีการปูพื้นผิวสัมผัสในการเตือนและการบอกทิศทาง และต้องมีทางลาดตัดคันหินเพื่อนขึ้นลงระหว่างทางเดิน กรณีมีสิ่งกีดขวาง ทั้งหมดควรจัดให้อยู่ในแนวเดียวกันกับทางเดินโดยต้องปูพื้นผิวต่างสัมผัส (ชนิดปุ่มนูน) หรือมีการกั้นก่อนถึงสิ่งกีดขวาง โดยต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ต้องจัดให้กีดขวางทางเดินน้อยที่สุด

ทางข้ามถนน (ทางม้าลาย)

สำหรับถนนที่น้อยกว่า 6 ช่องจราจร ทางข้ามถนนนั้นควรกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำหรับถนน 6 ช่องจราจรขึ้นไป ทางข้ามถนนควรกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีพื้นผิวต่างสัมผัสในการเตือนและบอกทิศทาง ก่อนถึงทางข้าม

ทางลาดตัดคันหิน (Curb ramp)

ทางลาดจะต้องชันไม่เกิน 1:12 และควรมีความกว้างเท่ากับความยาวของทางลาดที่วัดในแนวราบต้องไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร โดยไม่รวมส่วนผายของทางลาดทั้งสองข้าง ในส่วนของทางลาดตัดคันหินและส่วนผายของทางลาด จะต้องไม่ยื่นไปในทางวิ่งรถ ที่จอดรถ หรือทางเดินไปที่จอด โดยทางลาดตัดคันหินแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1) ทางลาดตัดคันหินแบบปกติ ต้องมีส่วนผายทางลาดทั้งสองข้าง โดยความชันของส่วนผาย ตามแนวขอบคันหินต้องไม่เกิน 1:10 ทางลาดชันกลับทิศทางตรงผิวจราจรหรือรางระบายน้ำ ที่เชื่อมต่อกับทางลาดตัดคันหิน ต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:20 ทางเดินบนทางเท้าที่เหลือจากการทำทางลาดตัดคันหิน ควรจะมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร

2) ทางลาดตัดคันหินในแนวเดียวกับทิศทางของทางเท้า (Parallel curb ramp) ทางลาดต้องมีความกว้างเท่ากับความกว้างทางเท้า เว้นแต่จะมีทางเดินบนทางเท้าที่เหลือ กว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และจัดให้มีราวกั้นระหว่างทางเดินบนทางเท้า

3) ทางลาดตัดคันหินแบบทแยง (Diagonal burb ramp) ขอบของส่วยผายด้านชิดกับทางข้ามถนนทั้งสองด้านต้องมีความลาดชันตามแนวขอบคันหินไม่เกิน 1:10 และยาวไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และส่วนผายของทางลาดตัดคันหินแบบทแยงต้องอยู่ในพื้นที่ทางข้ามถนน ในส่วนของทางลาดคันหินแบบทแยง ต้องทำให้แนวขอบทางลาดชันขนานกับทิศทางคนเดิน ด้านล่างของทางลาดตัดคันหินต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร โดยวัดตามแนวความลาดชัน ที่ว่างด้านล่างต้องอยู่ภายในพื้นที่ทางข้ามถนนนั้น

4) ทางลาดตัดคันหินเกาะกลางถนน ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร โดยด้านล่างนั้นต้องอยู่ในพื้นที่ทางข้างถนน ส่วนที่เหลือต้องยาวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร

อุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) เสาไฟ ที่อยู่ในบริเวณทางสัญจร ให้ทำแถบสีตัดกับสีของตัวเสา กว้างไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร แถบสีอยู่สูงวัดจากกึ่งกลางของแถบสีถึงระดับพื้นระหว่าง 140-160 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางการมองเห็น สังเกตได้ และต้องปูพื้นผิวต่างสัมผัสในการเตือนรอบเสาไฟ ให้ขอบห่างจากศูนย์กลางเสา 30 เซนติเมตร

ถังขยะ ในกรณีมีถังขยะหลายถัง ควรตั้งให้อยู่ในแนวเดียวกัน ความสูงของช่องทิ้งขยะควรอยู่จากระดับพื้นระหว่าง 70-90 เซนติเมตร และควรมีอักษรเบรลล์เพื่อบอกประเภทของถังขยะ สำหรับผู้พิการทางสายตา

ที่ตั้งจักรยาน ต้องใช้วัสดุที่แข็งแรง ติดตั้งแน่นหนา และควรมีป้ายบอกตำแหน่งที่ตั้งจักรยานให้ชัดเจน และต้องปูพื้นผิวต่างสัมผัสในการเตือนโดยรอบที่ตั้งจักรยาน

ที่จอดรถ พื้นที่จอดสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีช่องทางเข้าถึงเป็นที่ว่าง กว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร อยู่ด้านข้างตลอดแนวยาวของพื้นที่ และช่องทางเข้าถึงต้องเป็นระดับเดียวกัน มีความลาดชันไม่เกิน 1:48 ต้องมีสัญลักษณ์ผู้ใช้เก้าอี้ล้อขนาด 90 x 90 เซนติเมตร และต้องมีป้ายบอกตำแหน่ง ขนาดไม่น้อยกว่า 30 x 30 เซนติเมตร ซึ่งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นที่จอดถึงจุดล่างสุดของป้าย

บริเวณขึ้นลงของผู้โดยสาร ต้องมีที่ว่างสำหรับเป็นช่องทางเข้าถึงอยู่ติดและขนาดกับพื้นที่จอด เพื่อรับส่งผู้โดยสาร กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และยาวเพียงพอสำหรับขนาดรถแต่ไม่น้องกว่า 6 เมตร โดยผิวพื้นของบริเวณขึ้นลงของผู้โดยสาร ต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:48 และต้องทำเครื่องหมายให้เข้าใจว่าไม่ใช่พื้นที่จอดรถ

ทางเข้า-ออก อาคาร

ควรมีการปูพื้นผิวต่างสัมผัสเพื่อบอกทิศทาง (เส้นนูน) จากภายนอกอาคารไปยังหน้าประตูทางเข้า โดยปูให้ตั้งฉากกับแนวประตูทางเข้า-ออก อาคาร กว้าง 3 เมตร และยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของประตู โดยปูให้ห่างจากประตูเข้า-ออก เป็นระยะ 3 เมตร ช่องทางเข้าหลักควรกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 9 เมตร บริเวณทางเข้า-ออกอาคาร ควรเรียบเสมอกับทางเดิน บริเวณทางเข้า-ออกควรมีแผนผังต่างสัมผัส เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้อาคาร และประตูทางเข้า-ออก หากต้องเปิดด้วยมือควรสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 120 เซนติเมตร และมือจับควรเป็นก้านบิดหรือ ก้านหมุน โดยมีที่ว่างด้านข้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร จากขอบประตูทางด้านมือจับ

ทั้งนี้จากข้อเสนอแนะในการออกแบบและก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับกำลังทางทรัพย์สิน กำลังทางกายและความเห็นส่วนบุคคลของท่านพูดอ่านทุกท่าน ทาง The Urbanis ได้ให้ข้อเสนอแนะและข้อมูลที่หวังว่าจะจำเป็นต่อหลายท่านที่กำลังจะเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ทุกท่าน และขอให้ท่านพูดท่านทุกท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทย: การใช้สื่อและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในการสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ที่มาข้อมูล

อนาคตของผู้สูงอายุไทย

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ ผู้สูงอายุ

ข้อแนะนำการออกแบบ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน


Contributor