09/06/2023
Environment

พื้นที่สุขภาวะกินได้: โจทย์ และโอกาสในเมืองกรุงเทพมหานคร

อภิชยา ชัยชิตามร
 


รายงานของ UN ภายในปี 2025 โลกเราจะมีประชากรถึง 10 หมื่นล้านคน และโลกอาจจะประสบปัญหาวิกฤตทางอาหาร วาเลนติน เทิร์น ผู้เขียนหนังสือขายดี นักกิจกรรมด้านอาหาร ชาวเยอรมัน เจ้าของสารคดีเรื่อง 10 BILLION: WHAT’S ON YOUR PLATE? ตั้งคำถามว่า เราจะมีอาหารที่เพียงพอสำหรับ หมื่นล้านคนไหม ? การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ เป็นหนึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน ความยุติธรรมทางอาหาร

ประเด็นด้านอาหารในระดับเมือง จึงมีความท้าทายอย่างมากในการทำให้เป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารได้ นอกจาก “บ้าน” พื้นที่ใกล้ตัวที่จะทำให้เกิด “พื้นที่สาธารณะ” เป็นหนึ่งในประเภทพื้นที่สภาพแวดล้อมของเมืองที่จะส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ใจ และสังคม คือ “พื้นที่สาธารณะ”

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากร พบว่าอยู่ที่ 7.6 ตารางเมตร/ คน

แล้วถ้าหากคนกรุงเทพฯ อยากไปสวนสาธารณะ ?

จะต้องเดินทางด้วยระยะ 4.5 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดิน 50-60 นาที ซึ่งหากย้อนมาดูนโยบายของผู้ว่าราชการ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับนโยบายสวน 15 นาที โจทย์สำคัญของกรุงเทพฯ คือ พื้นที่ใดที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวได้ จะพัฒนาอย่างไรจึงจะเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้นจะบริหารจัดการอย่างไรให้มีความยั่งยืนในอนาคต ตลอดจนที่มาของงบประมาณในการดำเนินการ

จากการวิเคราะห์ความขาดแคลนพื้นที่สีเขียวของเมือง ตามระดับความเร่งด่วน พบว่ามีพื้นที่สีเขียว 15 นาทีครอบคลุมพื้นที่เพียง 17% ซึ่งต้องการการดำเนินการอีก 83% ทั้งหมด 10 เขตเร่งด่วน ได้แก่ บางซื่อ บางคอแหลม ธนบุรี ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระโขนง วังทองหลาง สวนหลวง บางนา หลักสี่ และบางกอกใหญ่ ตามลำดับ จากภาพการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า การให้บริการพื้นที่สีเขียวในปัจจุบันกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง และมีข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ

ด้วยความท้าทายด้านพื้นที่สีเขียวที่ต้องเข้าถึงได้ กับ แหล่งอาหารในเมืองที่ควรเข้าถึงได้ เพื่อสุขภาวะของผู้คน ประกอบกับ เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม (environmental justice) ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนควรได้รับการปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้าถึงบริการพื้นที่สีเขียวของเมืองอย่างเท่าเทียมกัน

เป็นโอกาส และโจทย์ในการผสานเรื่องพื้นที่รอรับการพัฒนา และพื้นที่ผลิตอาหารได้ใน 15 นาที ความท้าทายถัดมา คือ เพื่อที่จะทำให้เกิดการขยายผล และเกิดโอกาสในการตอบโจทย์กรุงเทพมหานคร การผสานแนวคิดระบบอาหารเมืองเข้ากับนโยบายพื้นที่สีเขียวจึงเป็นโอกาส และความท้าทายของเมือง อันความยุติธรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม และอาหารที่เป็นธรรม ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นที่ฐานของมนุษย์

การปรับใช้ในพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ มีการขับเคลื่อนประเด็นแหล่งอาหารของเมืองด้วยการจัดการพื้นที่บ้างแล้ว มีสวนต่าง ๆ มากมายในกรุงเทพ ฯ ที่นำแนวคิดมาทดลองใช้ กำลังขับเคลื่อนประเด็นเกษตรในเมือง อาทิ สวนผักคนเมือง พยายามขยายผลแนวคิดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเมือง หรือ ประเภทสวนบนดาดฟ้า ฟาร์ม Wastegetable Bangkok Rooftop center point อนุเสาวรีย์ชัย ฯ สวนดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่ สวนจากที่ดินเอกชน สวนพระราม 9 G-garden สวนครูองุ่น สวนจากการขับเคลื่อนของภาครัฐท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้เกษตรคนเมือง สวนรถไฟ เขตจตุจัก สวนชุมชน ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย 

เมื่อมองลงมาในระดับย่าน มีการปรับใช้แนวคิดนี้ในย่านกะดีจีน-คลองสาน ทั้งพื้นที่อาหารเพื่อชุมชน และพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาวะ อาทิ แปลงผักในชุมชนชุมชนวัดกัลยาณ์

ย่านกะดีจีน โดย เฮียล้าน คุณวรชัย ประธานกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นย่าน กะดีจีน เล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นปลูกจากสถานการณ์โควิด – 19 ในตอนนั้นเป็นช่วงมาตรการกักตัว ทำให้เฮีย และชาวชุมชน อยู่ได้แต่ในชุมชน และแถวนั้นเองก็มีพื้นที่ว่างเลยลุกขึ้นมาปลูกผักสวนครัวทั่วไป เพื่อแจกจ่ายคนในชุมชน ผ่านไปเพื่อนบ้านก็มาช่วยกันดูแล ถึงเวลาผลออกก็แบ่งคนในชุมชน แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด เวลาผลออกปลูกใหม่ ก็ต้องรออย่างน้อง1-2 เดือนเพื่อที่ผลจะออก แต่ก็ยังเน้นการปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

แปลงผักเฮียล้าน กะดีจีน

ในอีกฝั่งหนึ่งของย่าน ‘สวนสานธารณะ’ พื้นที่ขนาด 2 ไร่ ที่ดินเอกชนที่มอบให้กรุงเทพมหานคร ในโครงการ Green Bangkok 2030 เพื่อใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ ส่วนหนึ่งของสวนทดลองจัดสรรเป็นแปลงพืชผักสวนครัวตามความต้องการของชุมชน ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ จากกลุ่ม Bangkok rooftop farming ที่มีความเชี่ยวชาญสาธิตการแปลงเศษใบไม้ เศษอาหารครัวเรือนเป็นปุ๋ยเพื่อดูแลให้อาหารพืชผักอย่างแบบอินทรีย์และหมุนเวียนให้ชุมชนรู้จักการใช้เศษอาหารในการทำเป็นปุ๋ย

สวนสานธารณะ

นอกจาก จะเป็นเรื่องของความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องขั้นสิทธิขั้นพื้นฐาน สุขภาวะของผู้คนทั้งทางกาย ใจ สอดรับกับการขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านสุขภาวะของผู้คนของ สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นโยบาย 3+1 Active people Active Environment Active Society Active System/Policy จะเกิดขึ้นได้ต้องเพื่อกิจกรรมทางกาย 3 นโยบาย ตามเวทีประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 (TPAC 2022)

รวมไปถึงการส่งเสริมเรืองความมั่นคงทางอาหารระดับเมือง เป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มความปลอดภัยในอาหาร การลดระยะทางในการกระจายผลิตผลสู่ผู้บริโภค การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การส่งเสริมสุขภาวะและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นโอกาสในการนำไปสู่ข้อเสนอแนะให้กับผู้อำนาจตัดสินใจและกำหนดในเชิงนโยบายให้เกิดการปรับใช้อย่างทั่วถึงและเกิดการขยายผล เในระดับเมืองได้ต่อไป

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทย: การใช้สื่อและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย ในการสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และโครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะด้วยแนวคิดเกษตรในเมือง: กลไกบูรณาการเชิงนโยบายเพื่อสร้างพื้นที่สุขภาวะและพื้นที่ส่งเสริมความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหารของกรุงเทพมหานคร สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


Contributor