history



สังคมเมืองกับวัฒนธรรมการเดินเตร็ดเตร่ของผู้คน

07/06/2021

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้หลายคนต้องอยู่บ้าน และทำให้ชีวิตของคนเมืองต้องเปลี่ยนไป จากเดิมที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความเร่งรีบ นำไปสู่สังคมในแบบใหม่ที่ผู้คนใส่หน้ากากอนามัยเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กัน ความเร่งรีบที่หายไปจากการทำงานที่บ้าน ความวุ่นวายที่หายไปจากการทำงานที่บ้าน และความกลัวต่อเชื้อไวรัสของผู้คน สังคมเมืองแบบที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและความเร่งรีบ ก่อตัวชัดเจนในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพเข้ามาในเมืองเพื่อหางานหาโอกาส ทำให้ในเมืองเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก และผู้คนเหล่านั้นก็มีความหลากหลาย สิ่งที่น่าสนใจคือ ในปัจจุบันมีผู้คนบางกลุ่มที่ชอบการออกไปเจอผู้คน การเข้าไปในฝูงชนเพื่อลิ้มรสความวุ่นวายอันเป็นเสน่ห์ของสังคมเมือง ซึ่งอันที่จริงแล้วคนกลุ่มนี้ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมเมืองที่ก่อตัวขึ้นในช่วงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในสมัยนั้นคนกลุ่มนี้ก็คือ ผู้คนที่ชื่นชอบลิ้มรสสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และความเร่งรีบ ผ่านการแฝงตัวเข้าไปในฝูงชนอันวุ่นวายนี้ พวกเขามีชื่อเรียกว่า “flaneur” (ฟลาเนอร์) ซึ่งบทความชิ้นนี้เราจะกล่าวถึงที่มาของพวกเขาอย่างคร่าว ๆ  สังคมเมืองยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อนจะกล่าวถึง the flaneur เราต้องรู้ถึงเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสังคมเมืองในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อน สังคมเมืองเริ่มเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำให้เกิดการอพยพของผู้คนในชนบทจำนวนมากเข้ามาในเมือง เพื่อเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกระบวนการขยายตัวของเมืองไปยังพื้นที่ชนบท (urban growth) ดังเช่นในภาพด้านล่างที่แสดงถึงการขยายตัวของมหานครลอนดอน และเมื่อประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ทำอาชีพเป็นแรงงานอุตสาหกรรมที่มีรายได้ที่มั่นคงและแน่นอนมากขึ้น จึงทำให้ความสามารถที่จะซื้อสินค้าได้เพิ่มขึ้นไปด้วย รวมถึงเวลาอยู่ในเมืองเราไม่ได้มีอาหารรองรับเหมือนตอนทำเกษตรกรรม เราต้องไปหาซื้ออาหารมากิน ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตพยายามผลิตสินค้าและบริการออกมามากขึ้น เพื่อตอบรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การเกิดขึ้นของสังคมเมือง จุดเด่นของสังคมเมืองคือความเป็นสังคมบริโภคนิยม และความเป็นสังคมแบบไร้ชื่อ ผู้คนในสังคมไม่รู้จักกัน แต่อยู่ร่วมกันในลักษณะของฝูงชนในเมือง […]

มอง COVID-19 จากอวกาศ มิติที่หลากหลายและ ร่องรอยของประวัติศาสตร์

18/05/2020

ในปี 1990 ยานอวกาศ “กาลิเลโอ” ระหว่างการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัส มันได้ ได้สร้างการค้นพบ “สัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่ทรงปัญญา” เป็นครั้งแรกหลังจากการสำรวจอวกาศที่เริ่มต้นในช่วงประมาณ 1950 ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีความไม่สมมาตรของแก๊สในชั้นบรรยากาศ บ่งบอกว่ามีการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานั้นอยู่ในลักษณะของเมือง อุปกรณ์บนยานตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อันเป็นเอกลักษณ์ปล่อยออกมาจากดาวดวงนี้ และข้อมูลอีกมากมายที่ยืนยันว่าดาวดวงนี้มีสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมอาศัยอยู่ … ดาวที่ว่านั่นก็คือโลกของเราเอง .. นี่ไม่ใช่เรื่องตลกที่เราพยายามค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่เราก็รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว เหมือนถามว่าบ้านเรามีกี่ห้องนอนซึ่งเราเองก็คงรู้คำตอบดี แต่ไอเดียของ Carl Sagan นักคิดและหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนั้นเสนอไอเดียนี้ให้แก่ NASA ด้วยแนวคิดที่ว่า “ถ้ามนุษย์ต่างดาวมาเจอโลก พวกเราจะรู้ได้ไหมว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่” อะไรคือรอยเท้าของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากอวกาศ พวกเขาใช้ประโยชน์จากยานกาลิเลโอที่ถูกปล่อยออกจากโลกในปี 1989 ให้เดินทางไปยังดาวพฤหัส ซึ่งมีกำหนดเดินทางถึงดาวพฤหัสในปี 1995 ในการเดินทางนาน 5 ปีนั้นกาลิเลโอจะมีโอกาสบินโฉบโลกทั้งสิ้น 3 ครั้ง ซึ่งเราสามารถจำลองสถานการณ์ว่ายานกาลิเลโอเป็นเทคโนโลยีจากต่างดาวที่มาสำรวจว่าโลกมีสิ่งมีชีวิตไหมจากอวกาศ การทดลองดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อเราใช้อุปกรณ์จากยานอวกาศ เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์ความยาวคลื่น, อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณวิทยุ พบว่าในการบินผ่านโลกนั้นทำให้เราเห็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการดูร่องรอยของความไม่สมดุลกันของแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งความไม่สมดุลและอัตราการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วนี้ ไม่อาจอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางเคมีอย่างเดียว ทำให้เราพอเดาได้ว่าสิ่งนี้เกิดจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ทิ้งร่อยรอยไว้ให้เห็นได้จากอวกาศนั่นเอง ในขณะเดียวกันสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนอีกก็ได้แก่แสงจากหลอดไฟในยามค่ำคืน และการเปล่งคลื่นวิทยุต่างๆ ที่เป็นฝีมือมนุษย์ประดิษฐ์ออกมา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บันทึกเรื่องราวของสังคมมนุษย์ไว้แม้จะมองจากอวกาศ […]