สะพานเขียว



8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ

06/04/2021

“สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง”  เป็นแท็กไลน์ของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวกรุงเทพฯ (Bangkok Green Bridge) ที่ศูนย์แบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ใช้สื่อสารกับสาธารณะตั้งแต่ปี 2562 แท็กไลน์ 8 พยางค์สะท้อนหัวใจของแนวคิดการฟื้นฟูโครงสร้างลอยฟ้าอายุกว่า 20 ปีแห่งนี้ได้พอสังเขป เช่น การเพิ่ม “ความเขียว” และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองสวน ชุมชน และเมือง   จุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวมาจากการที่ กทม. เห็นปัญหาของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพาน และสภาพเน่าเสียของคลองไผ่สิงห์โต การเป็นพื้นที่ “เกือบอโคจร” ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่าน เนื่องจากจุดขึ้นลงมีน้อยและอยู่ไกลกัน ส่งผลให้สะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพฯ  เบื้องต้น ความเขียว ความปลอดภัย การเชื่อมต่อ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภารกิจเพื่อเมืองในครั้งนี้ ทว่า การเจรจาหารือระหว่าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ตลอดจนการปฏิบัติการออกแบบร่วมกับชาวชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี ภาคีวิชาชีพสถาปนิก และ UddC-CEUS ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โจทย์การออกแบบและฟื้นฟูเพิ่มแง่มุมที่หลากหลาย และทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล […]

ชุมชนเก่ากับการฟื้นฟูเมือง ย้อน Day 1 ของเส้นทางการมีส่วนร่วมฟื้นฟู “สะพานเขียว”

19/03/2021

เรื่อง/ภาพ โดย ชยากรณ์ กำโชค ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียว เชื่อมต่อสองสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ขนาบด้วยรั้วสแตนเลส มีต้นไม้ใหญ่แซมอยู่บ้างข้างทาง มีป้ายและสัญลักษณ์จราจรทางเดินทางจักรยาน พร้อมฉากหลังเป็นกลุ่มอาคารสูงรอบด้าน 360 องศา ทอดสายได้ไกลถึงย่านเพลินจิต-ชิดลม อโศก-สุขุมวิท สามย่าน พระรามสี่ ฯลฯ  ลงตัวด้วยองค์ประกอบทั้งหมด จึงไม่แปลกใจเลยที่ “สะพานเขียว” จะเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมือง ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้คนจำนวนไม่น้อย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวถ่ายรูป หากยังมีองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้สะพานเขียวแตกต่างจากทางเดินลอยฟ้าทั่วไปในเมืองใหญ่แห่งนี้ นั่นคือ ชุมชน อาคารบ้านเรือนโดยรอบโครงการสะพานเขียว คือ ชุมชนโปโลและชุมชนร่วมฤดี ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง ก่อนโครงการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าแห่งนี้จะเริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 2540 เรียกได้ว่า ทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนเก่าในพื้นที่ใจกลางเมืองที่ยังปรากฏอยู่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพฯ ก็ว่าได้  ในอดีต การมีอยู่ของทางเดินลอยฟ้าในฐานะ “เพื่อนบ้าน” อาจก่อประโยชน์อยู่บ้างในฐานะพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทางและออกกำลังกายในช่วงเช้าและเย็น ทว่า เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากชุมชนในด้านหนึ่ง ก็ยากจะปฏิเสธว่า สะพานเขียวยังเป็นพื้นที่อันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เป็นพื้นที่มั่วสุม ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งบนและใต้โครงสร้างสะพาน ที่สำคัญคือตัดแทนชุมชนกับพื้นที่เมืองเสียด้วยซ้ำ  หากมีคำกล่าวที่ว่า “เมืองเป็นปัญหาและทางออกในตัวเอง” สะพานเขียวก็คงไม่ต่างกัน  นี่จึงเป็นที่มาของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว โดย สำนักการโยธา […]

สะพานเขียวเหนี่ยวทรัพย์: เมื่อการฟื้นฟูเมืองคือโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของเมือง

17/03/2021

ทอดยาวลอยฟ้าทาพื้นสีเขียวจากสี่แยกสารสิน ถ.วิทยุ ถึงปากซอยโรงงานยาสูบ คือ “สะพานเขียว” เชื่อมสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ ตลอดระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ขนาบด้วยบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนของชาวชุมชนร่วมฤดีและชุมชนโปโล ชุมชนเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง โครงสร้างลอยฟ้าแห่่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สัญจรด้วยการเดินเท้า เป็นสถานที่ออกกำลังกายและทางปั่นจักรยาน ล่าสุดยังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศช่วงยามเย็น แสงอาทิตย์ กลุ่มอาคารสูงใจกลางเมือง ฯลฯ หลายคนบอกว่าสะพานเขียวมี “ฟิลเตอร์ญี่ปุ่น” อย่างที่เคยเห็นในสื่อภาพยนตร์และการ์ตูน ปรากฏการณ์ “สะพานเขียวฟีเวอร์” เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 นี่เอง ย้อนไปเมื่อกลางปี 2562 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีวิชาชีพสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และจัดกระบวนการร่วมหารือกับชาวชุมชนเพื่อเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว ให้แข็งแรง ปลอดภัย ร่มรื่น เชื่อมกับชุมชนอย่างไร้รอยต่อ และทำให้สะพานเขียวสร้างโอกาสให้กับเมืองยิ่งขึ้นไปอีก หากความเปลี่ยนแปลงใดๆ นำมาซึ่ง “การปรับตัว” คงพอจะกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว จะไม่มีผลต่อชาวชุมชนเลย คงเป็นไปไม่ได้ คำถามของเราคือชาวชุมชนมีแผนการปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากอดีตในความเงียบเหงา สู่ ปัจจุบันแห่งการเปลี่ยนแปลง […]

สะพานเขียว : สะพานไทยฟิลเตอร์ญี่ปุ่น

09/03/2021

มากกว่าสะพานเชื่อมสวน แต่เป็นสิ่งที่หลอมรวมองค์ประกอบของ ‘พื้นที่’ ‘จังหวะ’ และ ‘ประสบการณ์’ เข้าด้วยกันอย่างมีสีสัน สิ่งแรกที่หากเราค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ สะพานเขียว คงเป็นเรื่องของโลเคชั่นดี ๆ สำหรับการถ่ายรูป ถ้าจะให้เจาะจงลงลึกไปกว่านั้นคงต้องบอกว่า “โลเคชั่นถ่ายรูปแนวญี่ปุ่น” เนื่องจากพื้นที่ 1.3 กิโลเมตรของสะพานแห่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบเห็นได้ตามสื่อภาพยนตร์หรือมิวสิกวิดีโอญี่ปุ่นอยู่บ่อย ๆ จนพอที่จะกล่าวได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็น “องค์ประกอบที่ดี” สำหรับผู้ที่ต้องการได้บรรยากาศของญี่ปุ่นให้หายคิดถึง ในความเป็น ‘พื้นที่’ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกิจกรรมต่าง ๆ แน่นอนว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่ที่รวมความหลากหลายของผู้คนและกิจกรรมเอาไว้ในรูปแบบของเส้นทาง มุมมองของเด็กวัยรุ่นที่เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่แห่งนี้ คงไม่พ้นกับการเป็น “โลเคชั่นถ่ายรูปแนวญี่ปุ่น” เพราะเส้นทางนี้เปิดมุมมองให้เห็นถึงท้องฟ้าที่ยาวจนสุดขอบ สอดแทรกด้วยเงาของต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และรายล้อมด้วยอาคารบ้านเรือนหลังเล็กน่ารักที่ทำให้เรารู้สึกถึง Filter ของความเป็นญี่ปุ่น เป็นเส้นทางสาธารณะที่เรียบง่ายแต่กลับเพิ่มเรื่องราวให้กับบทสนทนาของผู้คนได้เป็นอย่างดี  ไม่น่าแปลกใจที่ต่างคนต่างแปลกหน้าแต่กลับรู้สึกได้มาเป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนี้และทำกิจกรรมร่วมกันท่ามกลางการมองเห็นของคนอื่นได้อย่างเป็นตัวเองแบบไม่ต้องเขินอาย แต่สิ่งที่เป็นเสน่ห์สำคัญของสะพานเขียว คือการเชื่อมต่อ ’จังหวะ’ ของชุมชนและวัยรุ่นได้อย่างลงตัว กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่น การค้าขาย การพักผ่อน การออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของคนในชุมชน และกิจกรรมที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น การถ่ายรูป การเต้น การเล่นสเก็ตบอร์ด ตามความสนใจของกลุ่มวัยรุ่นในแต่ละช่วงเวลา    ทั้ง 2 อย่างเป็นกิจกรรมที่แตกต่างแต่กลับเกิดขึ้นด้วยกันไปเป็นตามจังหวะ จะเห็นได้จากการที่ผู้คนรอบข้างแถวนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทำกิจกรรมต่าง […]