แรงงานนอกระบบกับเมืองเป็นของคู่กัน เมืองยิ่งใหญ่แรงงานยิ่งเยอะ

26/06/2023

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่โตเดียวของประเทศไทย และแน่นอนว่าสิ่งที่มีมากตามการเติบโตของเมืองคือ “แรงงาน” ที่เปรียบเสมือนได้กับเหล่ามดงานที่คอยทำงานหล่อเลี้ยงเมือง เพื่อให้เศรษฐกิจ และสังคมภายในเมืองเติบโตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานนอกระบบ จากผลการสำรวจของ WIEGO พบว่าไทยมีการจ้างงานนอกระบบมากกว่าครึ่ง สูงถึงร้อยละ 55 ของการจ้างงานทั้งหมด และกรุงเทพฯ มีการจ้างงานนอกระบบมากถึงร้อยละ 28 ของการจ้างงานภายในเมือง จากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ผันเปลี่ยนไป การที่หลาย ๆ คนเริ่มริเริ่มหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น หรือกล่าวโดยอีกนัยคือมีการทำงานประเภท “ฟรีแลนซ์ (Freelance)” กันมากขึ้น และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแนวโน้มจำนวนแรงงานนอกระบบยังสูงกว่าแรงงานในระบบ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 The Urbanis อยากเสนอถึงเรื่องราวของแรงงานนอกระบบกับโอกาส และความผันผวนภายในเมือง แนวคิด VACU และ BANI มีส่วนสำคัญมากน้อยเพียงใดสำหรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ใครคือแรงงานนอกระบบ สำหรับการให้นิยามแรงงานนอกระบบนั้น ก็มีหลากหลายแล้วแต่จะนิยามหรือการใช้ความจำกัดความ เนื่องจากแต่ละความหมายหรือแต่ละคำจำกัดความย่อมมีความแตกต่างในบริบทของตัวมันเอง สำหรับบทความนี้ใช้การนิยามตามสำงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งกล่าวไว้ว่า “แรงงานนอกระบบ คือผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นผู้ที่ทำงานส่วนตัวโดยจะมีลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ หรือลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคมหรือสวัสดิการพนักงานของรัฐ” (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) ดังนั้นแล้ว หากถามว่าใครคือแรงงานนอกระบบ ถ้าอ้างอิงตามความหมายในข้างต้นคงมีกลุ่มอาชีพไม่น้อยที่ตรงตามความหมายที่ได้กล่าวมา […]