อย่าให้วิกฤตมันเสียเปล่า : ถอดบทเรียนเหตุระเบิดโรงงานพลาสติก กับการจัดการพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตเมือง

05/08/2021

วิกฤตโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย คนกรุงเทพฯ กลับได้เจอวิกฤตซ้อนวิกฤต หลังเกิดเหตุระเบิดขนาดใหญ่ที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 สร้างความเสียหายให้กับโรงงานและอาคารที่พักอาศัยโดยรอบมหาศาล ความรุนแรงของเพลิงไหม้ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์กินเวลายาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง ผู้คนมากมายในย่านต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ต้องลำบากกับการอพยพออกจากที่พัก และมีผู้เสียชีวิต 1 รายระหว่างควบคุมเพลิง กระแสของความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ได้รับผลกระทบเกิดขึ้นควบคู่กับความไม่พึงพอใจในการบริหารสถานการณ์ของภาครัฐ แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันคือข้อกังขาในผังเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับคำถามที่ว่าทำไมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีอันตรายถึงตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนและเขตที่พักอาศัยได้? ความขัดแย้งกันของการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมนี้เกิดจากอะไร? และยังมีความเสี่ยงอะไรจากภาคอุตสาหกรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ของเมืองอีกหรือไม่?  เพื่อไม่ให้วิกฤตสูญเปล่า ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) และ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันจัดเวทีเสวนา มุมมองทางผังเมืองกรณีระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร โดยได้เกียรติจากคณาจารย์ประจำภาคผังเมืองฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและหาทางออกร่วมกัน ประกอบด้วย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย และ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย และ อาจารย์ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ เมื่อค่ำวันที่ […]