เมือง เด็ก และพื้นที่นอกบ้าน
30/06/2023
ในยุคสมัยที่ทุกคนตื่นตัวเรื่องสิทธิ และความเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างหลากหลาย โอกาสของการเรียนรู้จึงมีอยู่ในทุกที่และแทบจะตลอดเวลาอย่างที่ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แต่เพียงในกล่องสี่เหลี่ยมที่ไม่ได้เพิ่มทักษะในทุกๆด้านของเด็กเพราะในโรงเรียนไม่สามารถสอนเด็กอย่างครอบคลุมได้ ดังนั้นการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน จะช่วยส่งเสริมต่อยอดทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ ที่รองรับคนทุกวัย และทำให้การเรียนรู้เข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียม เพราะ “ความรู้” มาคู่ “ประสบการณ์” การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเกิดจากกิจกรรมทางวิชาการ แต่อาจเกิดจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน การสัมผัสสิ่งรอบตัว การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง การวิ่งเล่นในสนามเด็กเล่นหรือสนามกีฬา หรือการไปแหล่งเรียนรู้ต่างๆนอกบ้าน เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาไม่ควรจะเป็นเสื้อไซส์เดียวที่ใส่ได้สำหรับทุกคน”(Long, 2012) ฉะนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนจึงเป็นการผลักดันให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการลงมือทำ (active) มากกว่าการเป็นผู้รอรับ (passive) สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กเกิดทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันได้จริง เช่น ทักษะการเข้าสังคม การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การได้ค้นพบตัวเอง ฉะนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเติมเต็มให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจหรือสงสัย เปิดโลกและเปิดมุมมองต่างๆที่ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ผ่านสัมผัสทั้ง 6 ของตัวเอง ความเหลื่อมล้ำของสาธารณูปการด้านการเรียนรู้ในแนวราบ จากบทความ กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ (โดยนิรมล เสรีสกุล อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และ พรรณปพร บุญแปง) ที่ว่าด้วย กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ที่อุดมไปด้วยสถานศึกษาที่หนาแน่น เต็มไปด้วยพื้นที่เรียนรู้หลากหลายรูปแบบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยพื้นที่เรียนรู้นอกระบบและสาธารณูปการศักยภาพเพื่อการเรียนรู้อย่าง […]