‘เมืองเสี่ยงภัย’ กับโรคระบาด จากมุมมองของสังคมวิทยาความตาย

01/04/2020

“เมืองเสี่ยงภัย” กับโรคระบาด จากมุมมองของสังคมวิทยาความตาย บทบาทสำคัญของสังคมวิทยาความตาย คือ การพยายามทำความเข้าใจและศึกษากลไกทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตาย เราสนใจใคร่รู้ว่าสังคมให้ความหมาย จัดการ และประกอบสร้างความตายขึ้นมาอย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และท้ายที่สุดอาจสามารถจุดประกายบางอย่างแก่สังคมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความตายได้ ในสภาวะวิกฤตเช่นการกำเนิดขึ้นของโรคอุบัติใหม่ Covid-19 การพยายามศึกษาความตายจากโรคระบาดย่อมเป็นความท้าทายในตัวมันเองอย่างหนึ่ง และเมื่อโยงเข้ากับ “ความเป็นเมือง” แล้วก็ยิ่งสร้างความท้าทายขึ้นอีกขั้นหนึ่งไม่แพ้กัน ในขั้นแรกของการท้าวความ จึงขอแสดงภาพความข้องเกี่ยวกันของเมือง ความเสี่ยง และโรคระบาดเสียก่อน Living on the volcano of civilization – ใช้ชีวิตอยู่บนภูเขาไฟแห่งความเจริญ หากจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ก็คงเป็นการพลิกประสบการณ์ในสถานการณ์วิกฤตให้กลายเป็นการสร้างองค์ความรู้และกระบวนทัศน์การมอง “เมือง” ที่ต่างออกไปจากเมืองในวิถีปกติ  แม้ว่าเมืองในแบบปกติของมันจะมีปัญหามากพออยู่แล้วก็ตาม แต่ความเป็นเมืองยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ แอบแฝงอยู่เพื่อรอวันปะทุขึ้นราวภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท หนึ่งในนั้นก็คือองค์ประกอบเรื่อง “ความเสี่ยง” ที่นักสังคมวิทยา Ulrick Beck เคยประกาศกร้าวจนสะเทือนวงการสังคมวิทยาไปครั้งหนึ่งแล้วในหนังสือชื่อ Risk society: towards a new modernity ตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาเยอรมันเมื่อปี 1989 Beck กล่าวว่า ความเป็นสมัยใหม่นอกจากจะนำไปสู่การกระจายถ่ายโอนความมั่งคั่ง (distribution of […]