ไม่มีผู้พิการ มีเพียงแต่ “เมืองที่พิการ”

11/06/2023

“มนุษย์” ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่ “เมืองที่พิการ” ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้เลย หรือจะกล่าวได้ว่า “คนไม่ได้พิการ แต่สภาพแวดล้อมต่างหากที่พิการ” เพราะเมืองที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่มักถูกจำกัดอิสระในการใช้ชีวิต เนื่องด้วยสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึง สร้างความไม่เท่าเทียมในการเดินทาง และการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะของคนเมืองทุกกลุ่ม  เมืองที่พิการ (?) เมื่อไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ในขณะเดียวกันเรามี‘ผู้พิการ’มากกว่า 2.15 ล้านคน คิดเป็น 3.26 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุถึง 56.61 % ของจำนวนผู้พิการทั้งหมด (ข้อมูล วันที่ 31 ธ.ค. 65 จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่เมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากมาย กลับไม่มีการออกแบบที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ซึ่งแม้แต่มุมมองของคนเมืองส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีความพิการ ล้วนต่างพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าการเดินทางในกรุงเทพฯ นั้นมีความยากลำบาก ทั้งทางเดินเท้าที่มีบล็อกอิฐชำรุดไม่สม่ำเสมอ เบรลล์บล็อกที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง สิ่งกีดขวาง ฟุตบาทที่สูงกว่ามาตรฐานหรือชันเกินไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามุมมองของผู้พิการ ผู้เป็นคนแรกที่ถูกลืมและเป็นคนสุดท้ายที่ถูกนึกถึง ต่างมองว่าการออกแบบสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเผชิญกับฝันร้าย และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ปัญหามากมายที่จะตามมา เช่น […]