urban life



เมืองสร้างยูนิคอร์น ยูนิคอร์นสร้างเมือง: เกาหลีใต้ผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรให้สำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลก

11/11/2020

“วงการสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นพื้นทรายแทนพื้นคอนกรีตก็คงจะดี ถ้าเป็นงั้นทุกคนคงทำธุรกิจได้ดีขึ้น” หนึ่งในตัวละครจากซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่กำลังเป็นที่นิยม พูดออกมาเพื่อสะท้อนถึงความลำบากในการเริ่มและเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเปรียบว่าหากต้องล้มลงบนพื้นคอนกรีต ผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลายคงต้องเจ็บตัว และหวาดกลัว ไม่กล้าลงแรงทำธุรกิจเต็มที่ แต่หากเป็นพื้นทรายที่ช่วยซับแรง ผู้ประกอบการคงไม่กลัวล้ม และเต็มที่ไปกับการทำธุรกิจมากขึ้น แม้จะไม่ใช่คำพูดของตัวละครหลักของเรื่อง แต่ก็สะท้อนมุมมองของธุรกิจสตาร์ทอัพได้เป็นอย่างดี ซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์ Start-Up บอกเล่าเรื่องราวของคนหนุ่มสาวที่แข่งขันกันเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง แต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกเหนือจากไอเดียที่แปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และทำเงินได้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นได้คือเงินทุนและทรัพยากรสนับสนุน หลายครั้งที่แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีอาจพอจับสังเกตได้ว่า เรื่องราวในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องพยายามกระตุ้นผู้ชมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น การสร้างภาพผู้ชายที่อบอุ่นเป็นสุภาพบุรุษเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่ดี การสร้างภาพระบบยุติธรรมที่เที่ยงตรงผ่านซีรีส์สืบสวนสอบสวน หรือการกระตุ้นให้ผู้ชมอยากผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการด้วยตัวเอง อย่างเช่นที่ซีรีส์เรื่อง Start-Up กำลังได้รับความนิยม แล้วทำไมเกาหลีใต้ถึงต้องการผลักดันเรื่องสตาร์ทอัพ ในเมื่อมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุง ฮุนได และ แอลจี ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งประเทศอยู่แล้ว? คำตอบก็คือ เกาหลีใต้มองว่าการพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายถือเป็นความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้เติบโตช้าลงทุกที ปี 2017 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีมุนแจอิน เกาหลีใต้ตั้งกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (Startup (Ministry of SMEs and Startups) เพื่อให้การสนับสนุนโดยตรงแก่ผู้ประกอบการรายย่อย […]

Bologna: เมืองเรียนรู้เดินได้ มหาวิทยาลัยมีชีวิต

05/11/2020

ถนนอิฐที่ทอดเป็นแนวยาว อาคารบ้านช่องสีอิฐ พร้อมประตูไม้บานใหญ่ที่เห็นอยู่ตลอดทาง ผสมผสานกับลวดลายกราฟฟิตี และเสียงหัวเราะของเหล่านักเรียนนักศึกษา เป็นภาพที่ชินตาของ Bologna เมืองทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างนครแห่งศิลปะฟลอเรนซ์ และเมืองแห่งแฟชั่นอย่างมิลาน Bologna เป็นเมืองขนาดย่อมๆ ที่ผสมผสานทั้งประวัติศาสตร์ยาวนานและความทันสมัย ประชากรในตัวเมืองจำนวนเกือบ 4 แสนคน และกว่า 1 ล้านคนทั่วทั้งจังหวัด ประกอบด้วยชาวต่างชาติและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้ Bologna กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและความหลากหลาย ชื่อของเมือง Bologna อาจคุ้นหูใครหลายๆคน เพราะเป็นชื่อเดียวกับมหาวิทยาลัย Bologna หรือ Alma Mater Studiorum หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดชองโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1088 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เหมือนกับที่เราคุ้นชินกัน เพราะตึกเรียนของสาขาวิชาต่างๆ กระจัดการจายไปทั่วทั้งเมือง เรียกได้ว่าทั้งเมืองคือมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเดินไปที่ไหนก็จะเจอนักเรียนเข้าออกชั้นเรียนอยู่ทุกซอกมุมเมือง และด้วยความที่ไม่มีรั้วรอบกำหนดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทำให้การเข้าเรียนในแต่ละวันของนักศึกษา คือการเดินไปยังห้องเรียนทั่วเมืองตามแต่วิชาที่ตัวเองเลือก และสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาให้สามารถเข้าเรียนได้ทุกคาบในทุกสภาวะอากาศไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ก็คือทางเดินมีหลังคาที่เรียกว่า Portici ที่เชื่อมต่อทุกอาคารบนถนนสายหลักในเมืองที่เริ่มจากใจกลางเมืองคือบริเวณจตุรัสกลางเมือง Piazza Maggiore และหอเอนคู่สัญลักษณ์ของเมือง กระจายออกไปสู่ประตูเมืองทั้ง 12 ประตู ที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงล้อมเมืองและทางเข้าออกดั้งเดิม ทางเดินเหล่านี้เมื่อรวมทั้งในกำแพงเมืองและบางส่วนที่อยู่นอกเมือง […]

แนวโน้มในการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย

04/11/2020

ในอดีตการศึกษาเป็นการยกระดับชีวิต เลื่อนสถานะทางสังคม ใบปริญญาหลังจบการศึกษาจึงล้ำค่าเพราะแปลว่าโอกาสที่จะก้าวเท้าสู่การทำงานสว่างไสวในพริบตา แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษามากขึ้น และการจบการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้การันตีการมีงานทำอีกต่อไป แถมกรอบการเรียนรู้แบบเดิมก็มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จนหลายคนไม่ได้ค้นหาความถนัดของตนเอง เมื่อวันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น คุณค่าการศึกษาและการเรียนรู้จึงมีการขยับปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ทิศทางการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นจากการปฏิวัติเทคโนโลยีและการสื่อสาร โลกได้เคลื่อนออกจาก “ยุคอุตสาหกรรม” เป็น “ยุคหลังอุตสาหกรรม” ที่เศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่บน “ฐานของความรู้” ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงความต้องการทักษะของทรัพยากรมนุษย์อันพึงประสงค์ที่แตกต่างไปจากเดิม จากการศึกษาเนื้อหาเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักระดับอุดมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ (substance) ด้านวิธีการและเครื่องมือ (methods and tools) และด้านองค์กร (organization) หมายเหตุ เนื้อหาเรียบเรียงจากโครงการจัดทำผังแม่บทฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. หมวดสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันใน 5 ทิศทาง ได้แก่ 1.1 การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เชิงกว้างในอนาคต ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยลง […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]

เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

Globalization of suffering โลกาภิวัตน์ของความทุกข์ทรมาน โรคระบาด และการปลดเปลื้องมายาคติแห่งความตาย

16/07/2020

เรื่อง: ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เป็นเวลานับเดือนที่เรื่องราวและเรื่องเล่าว่าด้วยการตาย ความตาย และการจัดการร่างผู้วายชนม์จากโรคระบาด COVID-19 ทั่วโลก ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบข่าวโทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ และอีกมากมายในสื่อกระแสหลักแนวใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย  เรายังได้ทำความรู้จักโฉมหน้าที่เราไม่ค่อยได้จินตนาการถึงเกี่ยวกับความตาย และการจัดการกับร่างผู้วายชนม์ผ่านภาพนิ่งหรือวีดิโอคลิป ที่มีพลังสื่อสารได้ชัดและแรงพอทำให้เราทุกคนปลดปล่อยพลังแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของคนมากมายในโลกนี่ ผู้กำลังสะเทือนใจจากการได้รับรู้ถึงการตายอย่างโดดเดี่ยว และไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว นอกจากการตายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ในบ้านท่ามกลางผู้คนมากมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้เราได้เห็นศพจำนวนมากถูกลำเลียงออกจากโรงพยาบาลไปพักในตู้เก็บศพเฉพาะกิจที่จอดเรียงรายบนถนนสาธารณะ ศพจำนวนมากถูกนำมาวางซ้อนๆ กันอย่างรีบร้อนและผิดที่ผิดทางอย่างไม่มีทางเลือก เพราะพื้นที่สำหรับความตาย – ห้องเก็บศพในโรงพยาบาล สุสาน วัด และที่เผาศพ มีไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความตายได้อย่างทันท่วงที และในวิถีที่อ่อนโยนกว่าที่เป็น     คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า โรคระบาดอย่าง COVID-19 มีพลังในการเปลี่ยนโลก ตีแผ่สัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่ง ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ผุพังระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติออกมาอย่างคมชัด  นักคิด นักวิชาการชั้นนำของโลกต่างออกมาชี้ชัดว่า COVID-19 ได้ทำลายโลกาภิวัตน์ในฐานะระเบียบโลกลงแล้ว โลกจะแคบลง ยากจนขึ้น ชีวิตจะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ทุกคนต้องปรับตัวเข้ากับวิถีใหม่ หรือ New normal (บ้างเรียกความปกติใหม่ ความปกติที่เคยไม่ปกติ และนววิถี เป็นต้น)  ให้ได้เร็วที่สุด แม้จะมีทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่แตกต่างกันลิบลับก็ตาม แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมและขนบใหม่เช่นนี้ย่อมต้องส่งผลโดยตรงต่อชีวิตเราทุกคน นับตั้งแต่การอยู่อาศัย การดำรงชีวิต […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

1 2 3